สภาผู้ส่งออก มั่นใจโค้งสุดท้ายส่งออกเติบโต 12% - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

สภาผู้ส่งออก มั่นใจโค้งสุดท้ายส่งออกเติบโต 12%

 


วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.30-12.00 น. ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข่าวร่วมกับ นายสุภาพ สุวรรณพิมลกุล รองประธาน สรท. และนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สรท. ระบุ ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนกันยายน 2564 กับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 23,036 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 17.1% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 760,556 ล้านบาท ขยายตัว 12.83% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนกันยายนขยายตัว 14.8%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 22,426.2 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 30.3% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 750,267 ล้านบาท ขยายตัว 38.4% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนกันยายน 2564 เกินดุลเท่ากับ 609.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 10,289.3 ล้านบาท

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม กันยายนของปี 2564 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 199,997.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 15.5% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 6,202,170 ล้านบาท ขยายตัว 15% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วง 9 เดือนนี้ขยายตัว 20.4%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 197,980.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 30.9% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 6,226,790.7 ล้านบาท ขยายตัว 30.5% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม - กันยายน 2564 เกินดุล 2,016.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ขาดดุล 24,620.7 ล้านบาท

สรท. คงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2564 เติบโต 12% และคาดการณ์ปี 2565 เติบโต 5% (ณ เดือนพฤศจิกายน 2564) โดยมีปัจจัยปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564 ได้แก่ 1) ค่าระวางเรือยังคงทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ รวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม อาทิ Peak Season Surcharge (PSS) ส่งผลต่อภาระต้นทุนการขนส่งสินค้าที่ผู้ส่งออกต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และปัญหา Space and Container allocation ไม่เพียงพอส่งผลให้เกิดตู้สินค้าตกค้างไม่สามารถส่งสินค้าได้ทันตามกำหนด 2) ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ ชิป, เหล็ก, น้ำมัน ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง และอาจส่งผลรุนแรงขึ้นในไตรมาสที่ 4 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้การส่งออกไม่สามารถเติบโตได้ตามที่คาดการณ์ 3) สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในประเทศยังคงมีตัวเลขผู้ติดเชื้อในระดับสูง ขณะที่หลายประเทศเริ่มกลับมาล็อคดาวน์จากการกลับมาระบาดของกลุ่มคลัสเตอร์ เช่น จีน สิงคโปร์ อังกฤษ รัสเชีย เป็นต้น ซึ่งแม้จำนวนผู้ติดเชื้อโดยรวมภายในประเทศไทยจะลดลงแต่ยังคงทรงตัวในระดับสูง ภาคโรงงานอุตสาหกรรมต้องปรับเปลี่ยนเวลาในการทำงานเพื่อลดจำนวนพนักงานเข้าทำงานส่งผลกระทบต่อไลน์การผลิตเนื่องคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นสวนทางกับจำนวนพนักงานที่เข้าไลน์ผลิตได้บางส่วนภาครัฐต้องเร่งกระจายวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายวัคซีนสองเข็ม 50 ล้านคน ภายในสิ้นปี รวมถึงแรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการจ้างงานปรับตัวสูงขึ้น กระทบการผลิตเพื่อส่งออกที่กำลังฟื้นตัวจากโควิด 4) กระบวนการทำงานภาครัฐยังไม่สอดคล้องกับ New Normal อาทิ ความล่าช้าในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ส่งออก (Vat Refund) ซึ่งส่งผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนของผู้ประกอบการ 

ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญประกอบด้วย 1) ด้านการตลาด อาทิ จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้แก่โครงการ SMEs Pro-active เพื่อเพิ่มจำนวนครั้งการจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ (Virtual / Onsite exhibition 2022) ให้มากขึ้น 2) ด้านต้นทุนการประกอบธุรกิจ 2.1) ขยายระยะเวลาเงินช่วยเหลือลูกจ้างให้กับสถานประกอบการระดับ SMEs เช่น เงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อคน เพื่อคงสถานะการจ้างงาน 2.2) ลดต้นทุนพลังงานในประเทศ 2.3) ลดต้นทุนโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ 2.4) เร่งปรับปรุงขั้นตอนการทำงานภาครัฐให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์และใช้ได้จริง 3) ด้านแรงงาน 3.1) ยกระดับประสิทธิภาพแรงงาน อาทิ สนับสนุนด้านภาษีและงบประมาณฝึกอบรมให้กับแรงงานและสถานประกอบการเพื่อ Re-skill และ Up-skill ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมภายใต้ New Normal 3.2) เร่งฉีดวัคซีนให้พนักงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตให้ครอบคลุมโดยเร็ว 4) ด้านสิ่งแวดล้อม 4.1) สร้างความตระหนักรู้แก่ภาคธุรกิจ (Carbon Emission Awareness) 4.2) เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ เพิ่มมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad