CPF ชวนคู่ค้า SMEs สร้างแนวร่วมองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นในห่วงโซ่อุปทานอาหาร - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

CPF ชวนคู่ค้า SMEs สร้างแนวร่วมองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นในห่วงโซ่อุปทานอาหาร

 


บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าพัฒนาศักยภาพคู่ค้าผู้ประกอบการ SMEs แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชั่นของภาคเอกชนไทย  หรือ CAC สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)  จัดการอบรม " CAC Training for CPF's  SMEs Suppliers 2021 ผ่านระบบออนไลน์ ให้กับคู่ค้า SMEs จำนวน  120  บริษัท ถ่ายทอดความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ เรื่องการป้องกันความเสี่ยงการทุจริตและคอร์รัปชันในการดำเนินการ ส่งเสริมความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs  รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประกาศเจตนารมณ์ และยกระดับการดำเนินเป็นองค์กรที่ได้รับรองเป็นแนวร่วมการต่อต้านคอร์รัปชั่นต่อไป



นายพนา รัตนบรรณางกูร ผู้อำนวยการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชั่นของภาคเอกชนไทย  หรือ CAC สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) กล่าวว่า ปัจจุบัน  ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG (Environment  Social Governance) ยึดหลักธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ซีพีเอฟยึดถือมาโดยตลอด การจัดอบรมในครั้งนี้ เพื่อถ่ายทอดแนวทางให้แก่คู่ค้า SMEs ในห่วงโซ่อุปทานของซีพีเอฟ มีความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาและแนวทางการป้องกันความเสี่ยงและปัญหาคอร์รัปชันต่างๆ อย่างยั่งยืน การดำเนินธุรกิจมีธรรมาภิบาล และโปร่งใส ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร


CAC  ในฐานะองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งโดยความร่วมมือกับกลุ่มและภาคเอกชนของไทย เพื่อสร้างแนวร่วมภาคธุรกิจ สร้างการเปลี่ยนแปลงเรื่องคอร์รัปชันให้ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องตาม นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติคู่ค้าธุรกิจของซีพีเอฟ ซึ่งคู่ค้าจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริต และกำหนดนโยบายและกลไกในการจัดการ การควบคุม และหาวิธีป้องกันการดำเนินธุรกิจปราศจากการคอร์รัปชัน


นายพนา  ให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ SMEs ว่าหัวใจในการป้องกันความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่น จะต้องมีการประเมินความเสี่ยง มีระบบควบคุมภายในเพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด มีการกำหนดนโยบายและข้อปฏิบัติให้พนักงาน และการอบรมทำความเข้าใจกับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีการสื่อสารให้กับคู่ค้าและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียได้เข้าใจและปฏิบัติตาม รวมทั้งมีระบบการแจ้งเตือน เพื่อให้บริษัทสามารถควบคุมและป้องกันการเกิดทุจริตได้อย่างเป็นระบบ ตลอดจนสามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้ทันสถานการณ์


ด้านนางสาวธิดารัตน์ เดชายนต์บัญชา  รองกรรมการผู้จัดการด้านจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ ซีพีเอฟ ได้กล่าวว่า  ในฐานะที่ซีพีเอฟ เป็นองค์กรแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชั่น CAC Change Agent ซึ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนการ  สร้างเครือข่ายธุรกิจที่ยึดหลักธรรมาภิบาล และมีความโปร่งใสไปยังบริษัทคู่ค้า รวมทั้งส่งเสริม คู่ค้า SMEs เข้าร่วมโครงการ CAC SME เพื่อสร้างความโปร่งใสให้กับห่วงโซ่อุปทานอาหาร ทั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาขีดศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นคู่ค้าธุรกิจของซีพีเอฟ ภายใต้แนวคิด ร่วมคิด ร่วมสร้างสู่การเติบโตร่วมกัน เพื่อช่วยให้ธุรกิจ SMEs มีระบบการทำงานที่โปร่งใส มีเครื่องมือในการต่อต้านและป้องกันการให้สินบน หรือคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างความน่าเชื่อถือขององค์กร ตลอดจนช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs เติบโตได้อย่างมั่นคง  ต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ส่งออกร่วมกันในอนาคต      


ทั้งนี้ ซีพีเอฟ มีแนวทางส่งเสริมให้ ผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ CAC SME Certification เพื่อรับรองเป็นองค์กรแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย โดยซีพีเอฟ ช่วยจัดอบรมให้ความรู้ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตรวจประเมินต่อไป และช่วยสร้างแต้มต่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ในการดำเนินธุรกิจกับซีพีเอฟและบริษัทรายอื่นๆ ที่ให้ความสำคัญกับคู่ค้าที่ดำเนินงานมีธรรมาภิบาล และโปร่งใส โดยมีเป้าหมายที่สร้างห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารที่ปราศจากคอร์รัปชัน./

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad