ทาทา สตีล (ประเทศไทย) เปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 2 ปีการเงิน 2568 (กรกฎาคม – กันยายน 2567) - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ทาทา สตีล (ประเทศไทย) เปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 2 ปีการเงิน 2568 (กรกฎาคม – กันยายน 2567)

 


กรุงเทพฯ – 30 ตุลาคม 2567 – บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 บริษัทได้รายงานผลขาดทุนก่อนหักภาษีเงินได้ 160 ล้านบาท ในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2567 เทียบกับกำไร 93 ล้านบาทในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2567 และขาดทุน 59 ล้านบาทในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2566 สะท้อนถึงสภาวะของตลาดส่งผลให้มีอัตรากำไรต่ำ

 


  มร ตารุน ดากา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ปริมาณการขายในไตรมาสที่กำลังกล่าวถึง อยู่ที่ 280,000 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วยอดขายอยู่ที่ระดับเท่าเดิม อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ยอดขายลดลงประมาณร้อยละ 9 เนื่องมาจากความต้องการเหล็กลวดในตลาดภายในประเทศยังซบเซาจากราคาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง”

 


  “รายได้จากการขายในไตรมาสปัจจุบันอยู่ที่ 5,933 ล้านบาท น้อยกว่าไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนถึงความต้องการเหล็กในประเทศที่ลดลงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อความสามารถในการแข่งขันในการส่งออก เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รายได้จากการขายลดลงประมาณร้อยละ 2 จากราคาขายที่ลดลง

                                                                               


  ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

  ไตรมาส 2

ปีการเงิน 2567 ไตรมาส 1

ปีการเงิน 2568 ไตรมาส 2

ปีการเงิน 2568

280,000 309,000 ปริมาณการขายรวม ตัน 280,000

6,080 6,835 ยอดขายสุทธิ ล้านบาท 5,933

(59) 93 กำไร(ขาดทุน)ก่อนภาษี ล้านบาท (160)

(58) 90 กำไร(ขาดทุน)หลังภาษี ล้านบาท (159)


ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลกระทบต่อการรับรู้รายได้จากตลาดต่างประเทศ รวมถึงผลกระทบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงิน นอกจากนี้ การก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐานยังได้รับผลกระทบจากการเบิกจ่ายงบประมาณที่ต่ำและตามมาด้วยปัญหาการขาดสภาพคล่องของผู้รับเหมา นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นต่อการก่อสร้างภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำเช่นกัน ในช่วงไตรมาสนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยยังได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดและอุปสงค์ในประเทศ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad