มูลนิธิรามาธิบดี ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มอบโอกาสทางการศึกษาให้แก่คนพิการเพื่อผลิตบัณฑิตกลุ่มวิชาชีพครู หวังเพิ่มจำนวนบุคลากรครูที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการสอนคนพิการไปยังสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ส่งเสริมศักยภาพให้คนพิการมีอาชีพที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ผ่านการระดมทุนในโครงการทุนสถาบันราชสุดา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนพิการในสังคมไทย
คนพิการคือกลุ่มคนที่ต้องเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ โดยเฉพาะด้านการศึกษา แม้ว่าในทางกฎหมาย ภาครัฐจะให้ความสำคัญต่อการศึกษาโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่า การศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องได้รับและสามารถเข้าถึงได้ แต่ในทางปฏิบัติ การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มคนพิการนั้นยังคงเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากและอาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากปัญหาทั้งด้านหลักสูตร โครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับคนพิการ และความสามารถในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
อาจารย์นายแพทย์สมเกียรติ ลีละศิธร ผู้อำนวยการสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า
“การขาดโอกาสทางการศึกษาส่
งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิ
ตและความเป็นอยู่ที่ดี จนนำมาสู่ปั
ญหาการขาดโอกาสในการประกอบอาชี
พของกลุ่มคนพิการ จากข้อมูลของกรมส่งเสริมและพั
ฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเมื่อวั
นที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 พบว่า มีจำนวนคนพิการทางการได้ยิ
นและสื่อความหมายในประเทศไทยทั้
งสิ้น 423,936 คน คิดเป็น 19.19% ของคนพิการทั้งหมด โดยในจำนวนคนพิการทางการได้ยิ
นหรือสื่อความหมายทั้ง 423,936 คนเหล่านี้ มีผู้ได้รับการศึกษาในระดั
บประถมศึกษาสูงที่สุด 282,410 คน รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาที่ 35,899 คน ในขณะที่ผู้ที่ได้รับการศึ
กษาในระดับปริญญาตรีหรือเที
ยบเท่ามีเพียง 9,227 คนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิ
บดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมุ่งมั่นเป็นสถาบันที่เปิดพื้
นที่ทางการศึกษาสำหรับนักศึ
กษาทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ตั้งแต่ระดับชั้นปริญญาตรี โท และเอก เพื่อผลิตบุคลากรครูสำหรับคนพิ
การทางการได้ยินโดยเฉพาะ รวมทั้งเป็นที่พึ่งพิงให้กั
บคนพิการที่ต้องการความช่วยเหลื
อด้านสุขภาพกายและจิตใจผ่
านงานบริการและพัฒนาคุณภาพชีวิ
ตคนพิการเพื่อให้สามารถใช้ชีวิ
ตร่วมกับทุกคนในสังคมได้อย่างมี
ความสุข”
อาจารย์ ดร.ปรเมศวร์ บุญยืน ประธานหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาของคนหูหนวก กล่าวว่า “ประเทศไทยกำลังเผชิญกั
บสถานการณ์การขาดแคลนล่ามภาษามื
อ จากสถิติกระทรวงการพัฒนาสั
งคมและความมั่นคงของมนุษย์เดื
อนเมษายน ปี พ.ศ. 2567 พบว่า ล่ามภาษามือที่จดแจ้งมีจำนวนทั้
งหมด 178 คน โดยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในพื้
นที่กรุงเทพและปริมณฑลมากที่สุด และ 36 จังหวัดในประเทศไทยไม่พบล่
ามภาษามือที่จดแจ้ง สถาบันราชสุดา ในฐานะสถาบันการศึกษาแห่งเดี
ยวที่ผลิตล่ามภาษามือในระดับปริ
ญญาตรี จึงให้มุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิ
ตเพื่อส่งต่อความรู้ให้แก่คนพิ
การทางการได้ยินให้มีทั
กษะในการประกอบอาชีพ ตลอดจนสามารถหาเลี้ยงดู
ตนเองและครอบครัว นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิ
ตความเป็นอยู่ของคนพิการในสั
งคมไทย”
คุณพรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิริ ผู้จัดการมูลนิธิรามาธิบดีฯ กล่าวเสริมว่า “มูลนิธิรามาธิบดีฯ มุ่งมั่นในการสร้างให้เกิ
ดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ผ่านการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่
ความเท่าเทียมและไม่แบ่งแยก โดยเฉพาะความเท่าเทียมในการเข้
าถึงการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานสำคั
ญของการพัฒนาตนเอง โครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิ
บดี จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนสนั
บสนุนการศึกษาให้แก่นักศึ
กษาในระดับอุดมศึกษาที่
ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้มีโอกาสศึ
กษาเล่าเรียนอย่างเต็มศักยภาพ พร้อมจัดสรรเงินทุนเพื่อพัฒนาด้
านการเรียนการสอนในสถาบันราชสุ
ดา รวมถึงส่งเสริมด้านงานวิจัยนวั
ตกรรมด้านคนพิการและการให้บริ
การฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศั
กยภาพของคนพิการ เพื่อให้คนพิการในสังคมไทยมี
อาชีพที่มั่นคงในระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มวิชาชีพครูที่สร้
างรายได้ให้แก่
ตนเองและสามารถเลี้ยงดูครอบครั
วได้ในอนาคต นำไปสู่ความสามารถในการพึ่
งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนของคนพิ
การในประเทศไทย”
สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้คนพิการสามารถเรียนรวมกับคนทั่วไปได้อย่างเท่าเทียม โดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในห้องเรียนเพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ระหว่างคนพิการและบุคคลทั่วไป พร้อมจัดบริการสนับสนุนการศึกษาอย่างเหมาะสมเพื่อลดอุปสรรคการเรียนรู้ที่เกิดจากข้อจำกัดด้านความพิการ สถาบันราชสุดา เปิดสอนทั้งหมด 5 หลักสูตร ดังนี้ ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษา วิชาเอกการออกแบบเชิงพาณิชย์ และวิชาเอกล่ามภาษามือไทย และ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาของคนหูหนวก ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ และ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
โครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของมูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อสร้างพื้นที่แห่งโอกาสทางการศึกษาให้คนพิการ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้คนพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างคนพิการและคนทั่วไป พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมที่ปราศจากการแบ่งแยก ขอเชิญชวนประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินสมทบทุนให้กับโครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ที่ มูลนิธิรามาธิบดีฯ www.ramafoundation.or.th
#คำว่าให้ไม่สิ้นสุด
#ความสุขจากการให้ไม่สิ้นสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น