ซีพีเอฟคว้ารางวัลระดับสูงสุดด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ควบคู่ความโปร่งใสด้านห่วงโซ่อุปทานในรายงานความยั่งยืนจากเวทีโลก - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ซีพีเอฟคว้ารางวัลระดับสูงสุดด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ควบคู่ความโปร่งใสด้านห่วงโซ่อุปทานในรายงานความยั่งยืนจากเวทีโลก

 


บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ คว้า  2 รางวัลรายงานความยั่งยืนระดับภูมิภาคเอเชีย จาก Asia Sustainability Reporting Awards (ASRA)  ได้แก่ รางวัลระดับ Gold Class ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ประเภท Asia's Best Workplace Reporting แบบอย่างองค์กรด้านดูแลและสร้างความผูกพันกับพนักงาน เคารพสิทธิมนุษยชน และดูแลความปลอดภัยพนักงานตามมาตรฐานสากล และ รางวัลระดับ Bronze Class ประเภท Asia's Best Supply Chain Reporting รายงานและสื่อสารด้านห่วงโซ่อุปทานอย่างโปร่งใส จัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ สร้างการเติบโตร่วมกับคู่ค้าธุรกิจอย่างยั่งยืน


นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลจาก ASRA ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ในการรายงานและสื่อสารการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทอย่างเป็นรูปธรรม สะท้อนถึงแนวปฏิบัติที่ดีขององค์กร ที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติต่อแรงงานด้วยความเป็นธรรม ทั้งยังปฏิบัติตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในระดับสูงสุด ดังเช่นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในระดับสูงสุด เพื่อให้พนักงานมีความปลอดภัย สามารถปฏิบัติหน้าที่ผลิตอาหารเพื่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการทำงานร่วมกับคู่ค้าบนเส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่สอดคล้องตามหลักสากล และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีการรายงานข้อมูลทุกอย่างอย่างโปร่งใส ผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตลอดจนได้รับการตรวจสอบโดยหน่วยงานภายนอกที่น่าเชื่อถือ (3rd Party)  

"การได้รับรางวัลครั้งนี้ บ่งบอกความโปร่งใสในการรายงานข้อมูลผ่าน SD report  และสะท้อนถึงความเป็นผู้นำของบริษัทที่มีแนวปฏิบัติการจัดการธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน และตรวจสอบได้ ตอกย้ำความเชื่อมั่นและความไว้ใจของนักลงทุน ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสีย ด้วยความที่ซีพีเอฟเป็นองค์กรที่พร้อมปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย จึงสามารถสร้างพลังบวกในการดำเนินงาน ส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล" นายประสิทธิ์ กล่าว
 
ภายใต้เป้าหมายการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน ซีพีเอฟ ได้กำหนดกลยุทธ์ 3 เสาหลัก ประกอบด้วย อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ ขณะเดียวกัน ในทศวรรษใหม่นี้ ได้กำหนดเป้าหมายความยั่งยืนปี 2573 (ปี ค.ศ. 2030) สร้างความมั่นคงทางอาหารรองรับความต้องการของผู้บริโภคทั้งในภาวะปกติและวิกฤต  เน้นผลิตอาหารปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง  และนำหลักการไปต่อยอดพัฒนาศักยภาพพนักงานภายในองค์กร คู่ค้า ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน  
 
นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังให้ความสำคัญกับพันธมิตรคู่ค้าธุรกิจ  สนับสนุนการพัฒนาคู่ค้าให้เติบโตไปด้วยกัน ดูแลชุมชนรอบสถานประกอบการ การจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ และบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ได้แก่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ลดการสูญเสียและขยะอาหาร (Food Loss Food Waste) ซึ่งเป็นภารกิจที่สอดรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ  (Sustainable Development Goals: SDGs) ปัจจุบัน ซีพีเอฟดำเนินงานตามเป้าหมาย SDGs  17 ประการ เพื่อก้าวสู่วิสัยทัศน์ “ครัวของโลก”

ทั้งนี้  ASRA เป็นรางวัลด้านการรายงานและสื่อสารการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคเอเชีย จัดขึ้นโดยองค์กร CSRWorks International Pte Ltd ในประเทศสิงคโปร์ และเป็นองค์กรที่ได้รับรองให้เป็นตัวแทนในการอบรม เป็นที่ปรึกษา และรับรองการรายงานด้านความยั่งยืนของ Global Reporting Initiative หรือ GRI ซึ่งในปีนี้มีบริษัทที่ยื่นใบสมัครเข้ามาเกือบ 500 บริษัท จาก 17 ประเทศ ใน 19 ประเภทรางวัล โดยมีบริษัทที่ผ่านการพิจารณาเข้าสู่รอบสุดท้าย 102 บริษัท จาก 14 ประเทศ./

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad