“อลงกรณ์”ชี้การเข้าร่วมรัฐบาลผสมข้ามขั้วของพรรคประชาธิปัตย์คือการยุติ2ทศวรรษแห่งความขัดแย้งแตกแยกของประเทศ - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567

“อลงกรณ์”ชี้การเข้าร่วมรัฐบาลผสมข้ามขั้วของพรรคประชาธิปัตย์คือการยุติ2ทศวรรษแห่งความขัดแย้งแตกแยกของประเทศ




นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์และอดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศโพสต์ข้อความที่น่าสนใจเป็นมุมมองใหม่ทางการเมืองในเฟสบุ๊คส่วนตัววันนี้เกี่ยวกับประเด็นการเข้าร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์มีข้อความดังต่อไปนี้


“…มติการเข้าร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์คือกุญแจดอกสุดท้ายที่เปิดอนาคตใหม่ให้กับประเทศ

    เพราะเป็นการยุติการต่อสู้ทางการเมืองที่ร้ายแรงที่สุดรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่กินเวลายาวนานถึง 20ปี

   เป็น  2 ทศวรรษแห่งความขัดแย้งที่ต่อสู้กันทั้งในและนอกสภาฯ.แบ่งแยกประชาชนเป็นฝักฝ่ายนำไปสู่การสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐระหว่างเดือนตุลาคมปี 2551-พฤษภาคม 2553 ล้มตายกว่า 100 คนและบาดเจ็บเกือบ 3 พันคนมีการรัฐประหารสูญเสียประชาธิปไตยถึง 2 ครั้งในปี 2549 และปี 2557 

    นับเป็นบาดแผลความขัดแย้งที่กว้างและลึกที่แม้แต่รัฐบาลในอดีตไม่ว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์-ยิ่งลักษณ์-พล.อ.ประยุทธ์จะพยายามสร้างความสมานฉันท์ปรองดองก็ไม่ประสบความสำเร็จและไม่มีใครตอบได้ว่าความขัดแย้งแตกแยกดังกล่าวจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

   จนกระทั่งเมื่อมีการร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรครวมไทยสร้างชาติ(พล.อ.ประยุทธ์)และพรรคพลังประชารัฐ(พล.อ.ประวิตร)ภายหลังการเลือกตั้งปี 2566 ซึ่งถือเป็นกุญแจดอกแรกที่เปิดประตูความร่วมมือข้ามขั้วระหว่าง2ฝ่ายเพื่อยุติความขัดแย้ง

  ก่อนที่กุญแจดอกสุดท้ายจะเกิดขึ้นเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาลผสมข้ามขั้วเมื่อวานนี้

  เป็นการสิ้นสุดอดีตที่ขมขื่นและเริ่มต้นวันใหม่ของประเทศ

   ผมได้แต่หวังว่า ทุกฝ่ายจะเรียนรู้ความผิดพลาดทางการเมืองในอดีตอย่าให้ประวัติศาสตร์กลับมาซ้ำรอยเดิม

   การยึดมั่นระบบรัฐสภาภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขการยึดถือหลักนิติรัฐนิติธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและการยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้งคือแนวทางที่ประเทศและการเมืองไทยจะก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและมีอนาคต.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad