“ดีป้า” เผยผลสำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ปี 2564 พบแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลโตแรง คาดปี 2565 ตลาดบริการดิจิทัลใหญ่แซงฮาร์ดแวร์ - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

“ดีป้า” เผยผลสำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ปี 2564 พบแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลโตแรง คาดปี 2565 ตลาดบริการดิจิทัลใหญ่แซงฮาร์ดแวร์



 26 กันยายน 2565กรุงเทพมหานคร  ดีป้า ร่วมกับ สถาบันไอเอ็มซี เผยผลสำรวจข้อมูลสถานภาพอุตสหากรรมดิจิทัลไทย ประจำปี 2564 ใน 3 อุตสาหกรรม ประกอบด้วย อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรมบริการดิจิทัล มีมูลค่ารวม 8.98 แสนล้านบาท ขยายตัว 25% จากปี 2563 ชี้อุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัลมีอัตราการขยายตัวสูงที่สุด พร้อมคาดการณ์ว่า การเติบโตของแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัลมีสัดส่วนมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกพื้นที่ในอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย โดยมูลค่าจะขึ้นไปถึง 6.9 แสนล้านบาทในปี 2567

 

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทั หรือ ดีป้า ร่วมกับ สถาบันไอเอ็มซี เผยผลสำรวจข้อมูลสถานภาพอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ประจำปี 2564 โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 อุตสาหกรรมหลัก ประกอบด้วย อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Software) อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ (Hardware and Smart Devices) และอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล (Digital Services) ทั้งในส่วนของข้อมูลรายได้และการจ้างงาน โดยนำฐานข้อมูลขนาดใหญ่
(
Big Data) มาใช้คำนวณร่วมกัน ซึ่งพบว่า ภาพรวมอุตสาหกรรม
ขยายตัวเฉลี่ย 25% จากปี 2563 มีมูลค่ารวมที่ 8.9แสนล้านบาท[1] และหากนับรวมอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ ที่สำรวจโดย ดีป้า และอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม ปี 2564 จากการสำรวจโดย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) จะมีมูลค่ารวมที่ 1.58 ล้านล้านบาท ขยายตัว 14.33% สะท้อนให้เห็นถึงอัตราการเติบโตอย่างมากในทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูงที่สุดคือ อุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล

 

ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง ดีป้า เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัลมีอัตราการเติบโตกว่า 37% คิดเป็นอัตราเติบโตสูงสุดด้วยมูลค่า 3.46 แสนล้านบาท ขณะที่อุตสาหกรรมสื่อออนไลน์ (Online Media) ซึ่งรวมทั้งยูทูบ (YouTube) และเฟซบุ๊ก (Facebook) พบว่ามีการขยายตัว โดยเฉพาะในส่วนของรายได้จากการโฆษณา

 

สังคมไทยกำลังเข้าสู่บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้คนใช้งานแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ (e-Retail) รับชมสื่อออนไลน์ และใช้บริการขนส่ง (e-Logistics) มากขึ้น ซึ่งตลาดที่เติบโตชัดเจนคือ e-Logistics เช่น บริการสั่งอาหาร ถือเป็นตลาดที่มีการขยายตัวมากกว่า 57% เช่นเดียวกับ e-Retail ที่เติบโต 44% โดยมูลค่าบริการดิจิทัลเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกับจำนวนบุคลากร ซึ่งไม่ใช่เพียงคนไอที แต่เกิดการจ้างงานที่ทำให้ผู้คนเข้ามาในอุตสาหกรรมดิจิทัลมากขึ้น ดร.กษิติธร กล่าว

 

การสำรวจพบว่า จำนวนบุคลากรในอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัลปี 2564 เติบโตเฉลี่ย 26.55% เพิ่มเป็น 84,683 ราย จาก 66,917 รายในปี 2563

 

ล็อกดาวน์พาตลาดฮาร์ดแวร์โต

การสำรวจและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมดิจิทัล ประจำปี 2564 ยังพบว่า มูลค่าอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะเติบโตขึ้น 20% คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 3.86 แสนล้านบาท เนื่องจากมีการนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์มาจำหน่ายในประเทศไทยมากขึ้นกว่า 53% มีจำนวนเครื่องเพิ่มขึ้นเป็น 5.8 ล้านเครื่อง โดยมูลค่าการซื้อขายเครื่องสูง ส่งผลให้ตลาดคอมพิวเตอร์เติบโตเกินระดับ แสนล้านบาท สถิตินี้ทำให้เห็นการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าสู่สังคมดิจิทัลของประเทศไทย รวมถึงการล็อกดาวน์ และการทำงานจากระยะไกล (Work from home) ที่มีผลให้ตัวเลขรายได้ของบริษัทในอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะเติบโตขึ้นรวม 12%

 

อีกหนึ่งส่วนที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์คือ ตลาดหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robot & Automation) โดยการสำรวจพบว่ามีการนำเข้ามากกว่า 5.53 หมื่นล้านบาท คิดเป็นการเติบโตกว่า 27% ซึ่งถือเป็นส่วนที่เติบโตอย่างมากในฝั่งฮาร์ดแวร์

 

นอกจากนี้ การสำรวจพบว่า จำนวนบุคลากรในอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะปรับตัวลดลงราว 0.45% ในปี 2564 โดยบันทึกได้ 311,051 ราย ขณะที่ปี 2563 มีจำนวนบุคลากรในอุตสาหกรรมดังกล่าว 312,460 ราย

 

ซอฟต์แวร์คลาวด์ - บิ๊กดาต้า โตต่อเนื่อง

ภาพรวมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการด้านซอฟต์แวร์ยังคงเห็นการเติบโตต่อเนื่องทุกปี โดยในปี 2564 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.63 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% จาก 1.44 แสนล้านบาทในปีก่อนหน้า โดยบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่ใช้ในประเทศไทยมีมูลค่าราว 1.21 แสนล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตกว่า 14% สิ่งที่พบจากการสำรวจคือ ส่วนใหญ่ยังเป็นบริษัทขนาดเล็กที่มีการจ้างงานเฉลี่ยต่ำกว่า 10 คน และกว่า 90% เป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อยกว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่า มูลค่าของซอฟต์แวร์แบบคลาวด์ (Cloud) ที่สามารถใช้งานผ่านระบบเซิร์ฟเวอร์ออนไลน์ได้ยืดหยุ่นเติบโตมากกว่าแบบออนพริมิส (On-Premise) ที่ยังอิงกับระบบเซิร์ฟเวอร์ดั้งเดิม

 

จำนวนบุคลากรในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ปี 2564 มีจำนวน 129,544 ราย เพิ่มขึ้น 4.64% จากจำนวนบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมปี 2563 ที่มีจำนวน 123,805 ราย

 

การสำรวจยังพบว่า อุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าปี 2564 มีมูลค่ารวม 1.59 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้น 14.25% โดยการสำรวจแบ่งเป็น ส่วนคือ 1. ส่วนฮาร์ดแวร์ มีมูลค่า 1.92 ล้านล้านบาท เติบโต 19.07% 2. ส่วนซอฟต์แวร์ มีมูลค่า 4.76 พันล้านบาท เติบโต 13.91% 3. ส่วนบริการดิจิทัล มีมูลค่า 9.31 พันล้านบาท เติบโต 17.53% ขณะที่บุคลากรมีจำนวน 19,392 คน เพิ่มขึ้น 18%

 

บริการด้านดิจิทัลแรงแซงทุกกลุ่

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบันไอเอ็มซี กล่าวถึงผลคาดการณ์ ปีข้างหน้า
(ปี 2565-2567) โดยวิธีประมาณการณ์จากมูลค่าอุตสาหกรรมปีที่ผ่านมาว่า อุตสาหกรรมที่จะเติบโตมากที่สุดในช่วง ปีจากนี้คือ บริการดิจิทัลและบิ๊กดาต้า ตามมาด้วยอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์

 

หากพูดถึง อุตสาหกรรมดิจิทัล ฮาร์ดแวร์ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดในการสำรวจในอดีต แต่เชื่อว่า ใน
ปีข้างหน้า ด้วยอัตราการเติบโตของแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลจะทำให้อุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัลมีสัดส่วนมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกพื้นที่ในอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย โดยมูลค่าอุตสาหกรรมจะขึ้นไปถึง 6.9 แสนล้านบาทในปี 2567
 รศ.ดร.ธนชาติ กล่าว

 

นอกจากนี้ ในงานแถลงผลสำรวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ และบริการดิจิทัล ประจำปี 2564 และคาดการณ์แนวโน้ม ปี ยังมีช่วงของการเสวนา ในหัวข้อ ทิศทางอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ก้าวไปพร้อมกันกับ depa” โดย คุณกษมา กองสมัคร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง ดีป้า คุณศุภชัย สัจไพบูลย์กิจ นักวิจัย สถาบันไอเอ็มซี คุณปฐม อินทโรดม กรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และ คุณกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (THECA) ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นโอกาสทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งจะเป็นอีกแรงหนุนในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

ทั้งนี้ ดีป้า เชื่อมั่นว่า การสำรวจในครั้งนี้จะนำไปสู่มุมมองที่เป็นประโยชน์ สอดรับกับนโยบายเรื่องการมุ่งเน้นสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา เพื่อสร้างโอกาสและความได้เปรียบทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยในระยะยาว ซึ่งผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงผลการศึกษาข้อมูลสถานภาพอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล ประจำปี 2564 รวมถึงผลสำรวจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิทัลในมิติต่าง ๆ ที่ ดีป้า ดำเนินการได้ทางเว็บไซต์ www.depa.or.th/th/depakm/digital-indicators, LINE OA: depaThailand และ Facebook Page: depa Thailand

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad