มจธ. นำผลงานลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โชว์ในงาน ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2022 (ASEW) - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2565

มจธ. นำผลงานลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โชว์ในงาน ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2022 (ASEW)


 


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำผลงานเด่นในด้านการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในอาคารและการเดินทาง เพื่อช่วยลดผลกระทบของสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตามประกาศเจตนารมณ์การปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของ มจธ. ภายในปี ค.ศ. 2040 พร้อมจัดแสดง ถ่ายทอดองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าชมงาน ภายในงาน ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2022 (ASEW) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC)

มจธ. โดยบัณฑิตวิทยาร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) และ สำนักบริหารอาคารและสถานที่ มีผลงานด้านพลังงานที่หลากหลายมาจัดแสดงในงานดังกล่าว อาทิ เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงถ่านอัดแท่งคุณภาพสูงสำหรับชุมชนและอุตสาหกรรมขนาดเล็กและกลางจากแกลบและเปลือกมะพร้าวอ่อนซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เมื่อเผาจะปราศจากควันและกลิ่น การผลิตชีวมวลอัดเม็ด (Pellet) จากของเหลือทิ้งอุตสาหกรรมมะพร้าวและสับปะรดสำหรับเพื่อเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานสำหรับชุมชนและอุตสาหกรรม การผลิตชีวมวลทอรีไฟด์สำหรับทดแทนการใช้ถ่านหินลดการปล่อยคาร์บอน การผลิตน้ำมันชีวภาพจากกระบวนการไพโรไลซิสร่วมกับการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นต้น

จากแนวโน้มการเกิดเกาะความร้อน (Heat Island) ที่มีความรุนแรงและครอบคลุมในหลายพื้นที่ทั่วโลก  ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบหลายมิติทั้งด้านการใช้พลังงานมากขึ้น ความรุนแรงของมลพิษทางอากาศและก๊าซเรือนกระจก ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนและสภาวะอยู่สบาย (Thermal Comfort) มจธ. ได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าวต่อประชาคม มจธ. ชุมชนรอบข้างและโลกของเรา จึงได้ทำโครงการวิจัย So Cool KMUTT เพื่อลดปรากฏการณ์เกาะความร้อนและเพิ่มสภาวะอยู่สบาย โดยใช้มาตรการและนวัตกรรมของทีมนักวิจัยของ มจธ. อาทิ กำแพงต้นไปอัจฉริยะ เป็นต้น

การประเมินองค์ประกอบของขยะที่สามารถนำไปใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะหรือ RDF ด้วยวิธีการตรวจวัดทางธรณีฟิสิกส์ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจเหมืองบ่อขยะได้ทราบถึงความคุ้มค่าในการลงทุนเบื้องต้นรวมถึงทราบตำแหน่งในการขุดรื้อร่อนขยะ

พบกับผลงานด้านยานยนต์ไฟฟ้า โดยคณะวิจัยจากศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center และการจัดแสดงข้อมูลอาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (Learning Exchange: LX) อาคารภายใน มจธ. อาคารแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต ที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน 3 ด้าน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา Sustainable University ประกอบด้วยด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านความปลอดภัย โดยได้รับรางวัลการันตีโดยสถาบันอาคารเขียวไทย (TREEs) ในระดับ Platinum ปี 2020 และยังเป็น 1 ใน 3 อาคารสูงของประเทศไทยที่ได้รับการประกาศให้เป็นอาคารดีเด่น ด้านความปลอดภัยระดับอาเซียน ASEAN Building Fire Safety Awards 2021 โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกลุ่มสมาพันธ์วิศวกรอาเซียน ///.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad