จากเหตุการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมี
คำวินิจฉัยว่า ความเป็นนายกรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ส่งผลให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยทันที และส่งผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้น จากตำแหน่ง นำไปสู่คำถามต่อว่านโยบายของรัฐบาลเศรษฐาจะสะดุดหรือไม่ โดยเฉพาะโครงการเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท รวมถึงภาพรวมสินทรัพย์ดิจิทัลจะเป็นอย่างไรต่อไป?? รัฐบาลชุดใหม่จะผลักดันหรือไม่??
นายศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ไทย บิทแคสต์ จํากัด ได้ให้ความคิดเห็น ดังนี้
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่ารัฐบาลใหม่นำโดยพรรคเพื่อไทย โดยมี คุณแพรทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 31 แต่ก็ดูเหมือนว่าลึก ๆ แล้วการดำเนินนโยบายโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต ดูจะตอบได้ไม่เต็มปากว่าจะ ไปต่อหรือพอแค่นี้ มีแต่เพียงคำตอบว่าให้รอรัฐบาลใหม่ ซึ่งรัฐบาลใหม่จริง ๆ แล้วก็เป็นรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย เดิมซึ่งเป็นเจ้าของนโยบาย ทำให้ใคร ๆ หลาย ๆ คนก็งงว่าคำตอบไม่ได้
ส่วนตัวแล้วมองว่านโยบายนี้เป็นนโยบายหลักของพรรคเพื่อไทยซึ่งมีเดิมพันที่สูงมากและมีอุปสรรคที่สูงมากเช่นกัน ยังไงพรรคเพื่อไทยคงผลักดันนโยบายนี้แต่ รูปแบบอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ เพื่อลด ความเสี่ยงและคดีอาจเกิดขึ้นได้กับนายกรัฐมนตรีในอนาคต
ดิจิทัลวอลเล็ต เป็นนโยบายที่มีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะนำมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จริง ๆ ต้องนับได้ว่าเป็นความฉลาดของคนที่คิดนโยบายนี้ ที่ตั้งใจจะเสกคูปองในอากาศมากระตุ้นเศรษฐกิจ ของประเทศ โดยที่ใช้ต้นทุนทางการเงินที่น้อย แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ปัญหา เรื่องการขัดกับนโยบายทางการเงินการคลัง และส่วนสำคัญคิดว่าติดในเรื่องของความรู้ความเข้าใจ ของประชาชนผู้ใช้งานดิจิทัลวอลเล็ต ทำให้อาจได้ไม่คุ้มกับเสีย ส่งผลต่องบประมาณการเงินของ ประเทศ ที่อยู่ในสภาวะขาดดุลสูงอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อการคลังของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งอาจต้องมีการหารือกันใหม่อีกครั้ง จึงมองว่าดิจิทัลวอลเล็ตมีแนวโน้มที่จะไม่ได้ไปต่อ หรือถ้าจะยัง ไปต่อคงต้องหาแนวทางใหม่
สำหรับการเปลี่ยนถ่ายรัฐบาลชุดใหม่นี้ จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลหรือไม่?? มองว่าภาพรวมอุตสาหกรรมในวันนี้แข็งแรงมากขึ้น จากการยอมรับในวงที่กว้างขึ้น ที่ผ่านมารัฐบาลไทยออก กฎหมายและระเบียบข้อบังคับเพื่อกำกับดูแลตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้ กับนักลงทุนและผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีนโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนาสินทรัพย์ดิจิทัลเป็น ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโต เชื่อว่ารัฐบาลชุดใหม่ก็จะสานต่อนโยบายดังกล่าว เพื่อผลักดันให้ สินทรัพย์ดิจิทัลเข้าสู่การใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทย (Mass Adoption) แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า นายกเศรษฐา ทวีสินนั้นไม่ได้มองสินทรัพย์ดิจิทัลในทางลบ แต่มองในทางบวกหรือไม่นั้น ยังบอกไม่ได้ สำหรับ การพัฒนาอุตสาหกรรมนี้แค่ภาครัฐไม่มองแต่ทางลบก็สามารถเติบโตได้แล้ว หวังว่านายกคนใหม่จะมี มุมมองที่ทันยุค ทันสมัยไม่มองเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไกลตัวและเป็นเรื่องที่ต้องกีดกัน
ทั้งนี้ เชื่อว่าในอนาคตสินทรัพย์ดิจิทัลจะมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศไทย แต่การจะบรรลุเป้าหมายในการใช้งานอย่างแพร่หลายนั้น จำเป็นต้องอาศัย ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และยกระดับมาตรฐานของการพัฒนาอุตสหกรรมนี้ให้อยู่ในแนวหน้า ของโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น