บอร์ด FPI เคาะจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 0.04 บ./หุ้น ครึ่งปีแรกโกยรายได้ 1.2 พันลบ.-กำไรสุทธิ 159 ลบ. มั่นใจปี 67 สร้างสถิติสูงสุดใหม่ ออเดอร์ในอินเดียทะลัก - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2567

บอร์ด FPI เคาะจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 0.04 บ./หุ้น ครึ่งปีแรกโกยรายได้ 1.2 พันลบ.-กำไรสุทธิ 159 ลบ. มั่นใจปี 67 สร้างสถิติสูงสุดใหม่ ออเดอร์ในอินเดียทะลัก

 


บอร์ด บมจ.ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ (
FPI) อนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลงวดครึ่งแรกปี 67 ในอัตราหุ้นละ 0.04 บาท เตรียมรับทรัพย์  6 ก.ย.นี้ ขณะที่ครึ่งแรกปี 67 กวาดรายได้ 1.2 พันล้านบาทกำไรสุทธิ 159 ล้านบาท ฟากผู้บริหาร สมพล ธนาดำรงศักดิ์ระบุมั่นใจครึ่งปีหลังสดใส ดันทั้งปีผลงานโตเกิน 10% เป้า 3 พันล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดใหม่ อานิสงส์ออเดอร์ในอินเดียพุ่งกระฉูด

 


นายสมพล  ธนาดำรงศักดิ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) (FPI) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานของบริษัทฯในงวดหกเดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-มิถุนายน 2567) มีรายได้รวม 1,239.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  68.8  ล้านบาท หรือ 5.9% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนมีรายได้รวม 1,170.7 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 159.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.3 ล้านบาท หรือ 0.2% เทียบงวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 159.4 ล้านบาท

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯมีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในงวดหกเดือนแรกของปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.04 บาท กำหนดจ่ายในวันที่ 6 กันยายน 2567

สำหรับแผนการดำเนินงานในครึ่งหลังของปี 2567 บริษัทฯ เน้นกลยุทธ์บริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยผลักดันให้มาร์จิ้นปรับตัวสูงขึ้น โดยตั้งเป้ารายได้แตะระดับ 3,000 ล้านบาท เติบโตเกิน 10% จากปีก่อน และตั้งงบลงทุนไว้ที่ 600 ล้านบาท ในปี 2024 และ 2025  ขยายธุรกิจในประเทศซาอุดีอาระเบีย อินเดีย และประเทศไทย

 

โดยจะใช้เงินลงทุนในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นตลาดเบอร์ 1 ของ FPI ประมาณ 200-300 ล้านบาท สำหรับเป็นศูนย์กลางการส่งออก (Export Hub) แห่งใหม่ในซาอุดีอาระเบีย ประกอบด้วยโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และศูนย์กระจายสินค้า เพิ่มการผลิตสินค้ารองรับตลาดตะวันออกกลาง และจะใช้เงินลงทุนในอินเดียประมาณ 100 ล้านบาท สำหรับการลงทุนโรงงานแม่พิมพ์ แม่พิมพ์ และเครื่องจักร ส่วนเงินลงทุนที่เหลือจะใช้ลงทุนในประเทศไทย สำหรับขยายโรงงานแม่พิมพ์ และสร้างออฟฟิศใหม่

นอกจากนี้ บริษัทฯได้มีการจัดตั้งบริษัทย่อย บริษัท อาร์ บี เอส พลาสติก อินโนเวชั่น จำกัด เพื่อรุกธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ประดับยนต์ จากกระบวนการ VACUME, BLOW MOLD เพื่อจัดจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เจาะกลุ่ม Customization และ Low Volume หรือ B2C เพราะค่ายจีนเริ่มขยายธุรกิจผลิตรถยนต์มากขึ้นตั้งเป้ายอดขายเฉลี่ยปีละ 200 ล้านบาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad