การมอนิเตอร์ระบบไอที ต่อการขับเคลื่อนอนาคตพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฟลิกซ์ เบิร์นดท์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Paessler AG - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2567

การมอนิเตอร์ระบบไอที ต่อการขับเคลื่อนอนาคตพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฟลิกซ์ เบิร์นดท์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Paessler AG

 


ประเทศไทยตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตรและมีความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปี ทำให้ไทยเป็นผู้นำด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรองก็แต่ประเทศเวียดนามเท่านั้น ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีการริเริ่มโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนมากในประเทศไทย ทั้งการลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงแผนการสร้าง โซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ภายใต้ความมุ่งมั่นในการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ 51% ภายในปี 2580 และภายใต้แรงผลักดันนี้รัฐบาลไทยโดยกระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนพลังงานสะอาด ไฟเขียวให้โรงงานติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขนาดเกิน 1 เมกะวัตต์ โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต  ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้เชื่อว่าการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไม่กี่ปีข้างหน้า

เนื่องจากภาคธุรกิจและโรงงานต่างๆ มีความต้องการในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาและโซลาร์ฟาร์มเป็นจำนวนมาก ทำให้ภาคธุรกิจและโรงงานเหล่านั้นต้องเผชิญกับความท้าทายจากการดำเนินงานมากมาย และหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุด คือ การบูรณาการและการจัดการกับอุปกรณ์ทางอุตสาหกรรมและอุปกรณ์ดิจิทัลที่มีความสลับซับซ้อนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเพื่อที่จะขับเคลื่อนการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งแต่แผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์ไปจนถึงระบบเฝ้าระวังความปลอดภัย ระบบการกักเก็บพลังงาน ระบบควบคุม รวมถึงอุปกรณ์ไอทีและโอทีที่เกี่ยวข้องกับระบบผลิตไฟฟ้า การที่มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องจำนวนมากนี้ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความผิดพลาด การทำงานที่ผิดปกติเพียงเล็กน้อยของอุปกรณ์บางชิ้น หรือภาคจ่ายไฟที่ขาดความมีเสถียรภาพอาจจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อกระบวนการผลิตไฟฟ้า เช่น ก่อให้เกิดการหยุดชะงักครั้งใหญ่ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจ แต่บางครั้งยังก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตอีกด้วย

บทบาทของการมอนิเตอร์ระบบไอทีในโรงไฟฟ้า

ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ มักจะออกแบบระบบให้มีกระบวนการตรวจสอบขั้นพื้นฐานผ่านแพลตฟอร์มสมาร์ทโฟนหรือเว็บไซต์ ซึ่งเป็นโซลูชันพื้นฐานที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว เช่นเดียวกับผู้ติดตั้งอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มักจะนำเสนอซอฟต์แวร์ในการตรวจสอบการทำงานที่ดีกว่าของผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ อย่างไรก็ตามข้อมูลการตรวจสอบที่ได้รับจากซอฟต์แวร์เหล่านั้นมักมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ไม่สามารถรายงานผลแบบเรียลไทม์ได้ ขาดระบบการแจ้งเตือนและการรายงานที่ทันต่อสถานการณ์ ขณะที่การใช้งานระบบ SCADA ที่ใช้กันแพร่หลายนั้นยังเป็นตัวเลือกทั่วไปในการตรวจสอบการทำงานพื้นฐานของอุปกรณ์ ทั้งที่ระบบการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่มักจะมีการทำงานที่สลับซับซ้อน และมีราคาในการติดตั้งที่สูงมาก และหากบางธุรกิจติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากผู้ให้บริการหลายรายก็มักจะประสบปัญหาความไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อีกข้อหนึ่งของการจัดการระบบไอที

ดังนั้นการมอนิเตอร์ระบบไอทีขั้นสูงจึงเป็นโซลูชันที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้  ด้วยโซลูชันดังกล่าวภาคธุรกิจและโรงงานต่างๆ สามารถรักษาประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เช่น สามารถวัดปริมาณพลังงานที่ระบบผลิตและปริมาณพลังงานที่ใช้ไปได้  ความสามารถในการระบุความผิดปกติของระบบในแต่ละจุด และนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็ว ตัวอย่างเช่น การทำงานของโซลูชัน Paessler PRTG ที่สามารถวินิจฉัยประสิทธิภาพการใช้พลังงานผ่านการตรวจสอบอุปกรณ์ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และปริมาณไฟฟ้าที่ระบบสามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังแสดงข้อมูลของการผลิตไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ และยังสามารถแสดงผลแบบแผนที่กราฟิกและแดชบอร์ดเพื่อให้สามารถมองเห็นได้ทั่วทั้งระบบและยังสามารถระบุถึงปัญหาได้ง่ายขึ้นด้วย

ประโยชน์จากการติดตามตรวจสอบไอที

การติดตั้งโซลูชันการติดตามตรวจสอบไอทีที่เหมาะสมจะช่วยให้สามารถเห็นภาพรวมขององค์ประกอบด้านไอที รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในระบบผลิตไฟฟ้าทั้งระบบ การรวบรวมข้อมูลจากฝ่ายไอทีและการผลิตนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการระบุถึงสาเหตุของความผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะสามารถเข้าไปซ่อมบำรุงในจุดที่เป็นปัญหาเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว  การตรวจสอบด้านไอทียังมีบทบาทสำคัญในการตรวจจับช่วงเวลาที่มีการใช้พลังงานสูงสุด และประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานสูงสุด ข้อมูลนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมการใช้พลังงานในช่วงเวลากลางวันและปรับต้นทุนพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ยังสามารถประเมินประสิทธิภาพของระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ เช่น การเลือกปรับทิศทางของแผงโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสมกับทิศทางของแสงอาทิตย์

ประโยชน์ดังกล่าวช่วยให้ผู้จัดการโรงไฟฟ้าสามารถเฝ้าระวังปัญหาในกระบวนการผลิตไฟฟ้าได้แบบเชิงรุก สามารถระบุข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ที่อาจจะมีผลต่อการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งข้อบกพร่องเหล่านี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นจากภายในระบบเท่านั้น และยังครอบคลุมถึงผลกระทบจากภายนอก  ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการโรงไฟฟ้าสามารถใช้ Paessler PRTG เพื่อคาดการณ์ว่าสภาพอากาศมีผลต่อความสามารถในการผลิตพลังงานของระบบพลังงานแสงอาทิตย์หรือไม่อย่างไร และด้วยวิธีนี้คุณจะรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าคุณต้องซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าต้องซื้อต้องซื้อที่จำนวนเท่าใดเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการนอกเหนือจากระบบผลิตไฟฟ้าที่คุณสามารถผลิตได้เอง เพื่อสำรองไฟฟ้าให้อยู่ในระดับคงที่และเพียงพอต่อการใช้งานในโรงงาน

ขับเคลื่อนอนาคตของพลังงานทดแทน

ความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีกำลังผลักดันให้โลกหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ในขณะที่ประเทศต่างๆ จัดการกับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยโซลูชันทั่วไป การเลือกระบบตรวจสอบแบบเรียลไทม์จะเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในภูมิทัศน์ของการจัดการพลังงานทั่วโลกได้ โครงสร้างข้อมูลของเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เซ็นเซอร์ ไอโอที เอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่ง เอดจ์คอมพิวติ้ง และคลาวด์คอมพิวติ้ง ได้รับการบูรณาการเข้ากับระบบการจัดการอาคารเพื่อวางโครงสร้างในการตรวจสอบดังกล่าว แม้ว่าความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การปฏิบัติตามข้อกำหนด และการเพิ่มต้นทุนยังคงมีอยู่ แต่ประโยชน์ต่างๆ เช่น การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุน และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน

ด้วยการบูรณาการการตรวจสอบไอทีแบบเรียลไทม์ ทำให้ภาคธุรกิจและโรงงานในไทยสามารถรับมือกับความท้าทายเชิงรุก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าให้อยู่ในระดับสูงสุด  และเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแนวทางด้านความยั่งยืนในภูมิทัศน์ระดับโลก เมื่อภูมิทัศน์ด้านพลังงานทั่วโลกเปลี่ยนไปการนำระบบติดตามตรวจสอบที่มีความซับซ้อนมาใช้จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad