Taklee Genesis “ตาคลี เจเนซิส” เป็นหนังที่มาจากความพรั่งพรู
ของคลังไอเดียที่ ผกก. มะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล เก็บบันทึกเอาไว้มาตลอด 20 ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่อยอดมาจากแรงบันดาลใจที่บ่มเพาะเขามาตั้งแต่เด็ก จนเกิดเป็นผลงานมหากาพย์เรื่องสำคัญของชีวิตและ 3 สิ่งเหล่านี้คือแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เกิด Taklee Genesis “ตาคลี เจเนซิส” มหากาพย์เดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง ที่ต้องสัมผัสประสบการณ์ในโรงภาพยนตร์เท่านั้น
1.ค่ายรามสูร และสงครามเวียดนาม1 ในจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจผู้กำกับ มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล คือการบังเอิญได้เดินทางไปเจอ ค่ายรามสูร จ.อุดรธานี จึงประกอบชิ้นส่วนไอเดียที่ตนมีและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของสถานที่แห่งนี้ โดยใน พ.ศ.2507 (ค.ศ.1964) กองทัพสหรัฐฯ ได้ติดต่อขอซื้อที่นาว่างเปล่าจากชาวบ้าน ขนาด 800 ไร่ 3 งาน 23 ตารางวา เพื่อก่อสร้างเป็นฐานที่มั่นถาวรให้กองทัพ รวมถึงสิ่งปลูกสร้างอย่าง “สถานีเรดาร์” เพื่อติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นสถานีที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และเป็น 1 ใน 7 แห่งของโลก จึงเรียกที่นี่ว่า 7th Radio Research Field Station (7th RRFS) หรือ Ramasun Station ชาวบ้านละแวกนั้นเรียกค่ายรามสูรว่า “คอกช้าง” เนื้องจากหากสัญจรผ่านไปมาจะเห็นเสาสัญญาณที่มากถึง 48 ต้นตั้งเรียงรายล้อมรอบสถานีเรดาร์ มีลักษณะคล้ายคอกช้างนั่นเองนอกจากนี้ ภายในสถานีเรดาร์ยังมีอุโมงค์ใต้ดิน โดยอุโมงค์แห่งนี้มีความยาวราว 300 เมตร คาดว่าใช้เพื่อลำเลียงอุปกรณ์สัญญาณสื่อสาร หลบเลี่ยงจากฝ่ายตรงข้าม ซึ่งจะเชื่อมต่อกับอีกอาคารหนึ่ง โดยใน พ.ศ.2519 (ค.ศ.1976) หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนาม และอเมริกาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ กองทัพสหรัฐฯ ได้ขนย้ายอุปกรณ์และเอกสารทั้งหมดออกจากพื้นที่จนไม่เหลือหลักฐานอะไรไว้เลยนอกจากตัวอาคาร นำไปสู่ทฤษฎีสมคบคิดมากมายจนเกิดเป็นไอเดียของ Taklee Genesis
2.ต่วย’ตูนมะเดี่ยวชอบอ่านหนังสือและนิตยสารมาตั้งแต่เด็ก และหนึ่งในสิ่งที่หล่อหลอมความสนใจของเขาก็คือ “ต่วย’ตูน” และ “ต่วย’ตูน พิเศษ” นิตยสารอายุกว่า 50 ปี (ปัจจุบันยังตีพิมพ์อยู่) ซึ่งเนื้อหาข้างในเป็นการรวมบทความจากคอลัมนิสต์หลายคน ว่าด้วยเรื่องวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สัตว์ดึกดำบรรพ์ ความเชื่อ และเรื่องลี้ลับ จนมีอิทธิพลอย่างมากให้มะเดี่ยวเติบโตมาด้วยองค์ความรู้และจินตนาการกว้างไกล ซึ่งองค์ประกอบทั้งหมดที่ว่ามาของ “ต่วย’ตูน” นั้นเอง มะเดี่ยวได้ผสมผสานมันเข้าด้วยกัน และเห็นร่องรอยมันทั้งหมดใน Taklee Genesis “ตาคลี เจเนซิส”
3.ควอนตัมฟิสิกส์ในนิยามหนัง ไซ-ไฟ หรือ Science Fiction ของมะเดี่ยว คือการหยิบทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาเป็นแก่นของการต่อยอดเรื่องราวจนเกิดเป็นวรรณกรรม หรือจะเรียกว่าเป็นงานที่ดัดแปลงจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ก็คงไม่ผิด ซึ่งมะเดี่ยวเริ่มต้นจากการสนใจในควอนตัมฟิสิกส์ เพื่อพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่เล็กที่สุดที่ทำให้เราเข้าถึงความรู้ใหม่ๆ กับสิ่งที่กว้างใหญ่ระดับจักรวาลและความน่าพิศวงของเวลา จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของมะเดี่ยวใน Taklee Genesis “ตาคลี เจเนซิส” Taklee Genesis “ตาคลี เจเนซิส”
ให้แสงนำทาง 12 กันยายนนี้
#TakleeGenesis #ตาคลีเจเนซิส
#Neramitnungfilm #WarnerBrosTH #StudioCommuan
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น