SSP ปิดโครงการจำหน่ายหุ้นซื้อคืน 90 ล้านหุ้น เตรียมใช้วิธีตัดหุ้นซื้อคืน – ลดทุนตามเกณฑ์กำหนด มั่นใจฐานเงินทุนแข็งแกร่ง ไร้ปัญหาสภาพคล่อง - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567

SSP ปิดโครงการจำหน่ายหุ้นซื้อคืน 90 ล้านหุ้น เตรียมใช้วิธีตัดหุ้นซื้อคืน – ลดทุนตามเกณฑ์กำหนด มั่นใจฐานเงินทุนแข็งแกร่ง ไร้ปัญหาสภาพคล่อง

 


บมจ.เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (
SSP) ประกาศปิดโครงการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน เพื่อบริหารทางการเงิน จำนวน 90 ล้านหุ้น ตั้งแต่วันที่ 19-23 สิงหาคม 2567 เตรียมพิจารณาตัดหุ้นที่ซื้อคืนและใช้วิธีลดทุนจดทะเบียน ฟากซีเอฟโอ “ชยุตม์ หลีหเจริญกุล” ระบุ เงินทุนแน่น พร้อมลุยขยายพอร์ตพลังงานสะอาดทุกรูปแบบเติบโตดับเบิ้ล

 


นายชยุตม์ หลีหเจริญกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานบัญชีและการเงิน บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SSP) เปิดเผยว่า การที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท มีมติอนุมัติโครงการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนเพื่อบริหารทางการเงินของบริษัท เป็นจำนวนทั้งสิ้น 90,000,000 หุ้น คิดเป็น 6.55% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ โดยจะเป็นการจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีกำหนดระยะเวลาจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนนั้นตั้งแต่ วันที่ 19 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2567 ซึ่งเมื่อครบกำหนดระยะเวลาจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนแล้ว บริษัทฯ ไม่สามารถจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนได้

 

ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการซื้อหุ้นคืน การจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน และการตัดหุ้นที่ซื้อคืนของบริษัท พ.ศ. 2544 บริษัทฯ จึงต้องดำเนินการในขั้นตอนถัดไป โดยจะลดทุนที่ชำระแล้วด้วยวิธีตัดหุ้นจดทะเบียนที่ซื้อคืน และยังมิได้จำหน่าย จำนวน 90,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท

 

ทั้งนี้ การลดทุนโดยการตัดหุ้นที่ซื้อคืนทำให้ทุนชำระแล้วของบริษัทฯ ลดลงดังนี้ ทุนเดิม 1,373,825,572  หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท มูลค่ารวม 1,373,825,572  บาท และทุนใหม่ 1,283,825,572  หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท มูลค่ารวม 1,283,825,572  บาท

 

บริษัทฯ ยังเปิดเผยอีกว่า ด้านการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการเติบโตของบริษัทฯ นั้น นอกจากกระแสเงินสดในมือแล้ว บริษัทฯ ได้รับข้อเสนอจากหลายสถาบันทางการเงินทั้งในและต่างประเทศ มั่นใจว่ามีเงินทุนแข็งแกร่ง เพียงพอ และไร้ปัญหาสภาพคล่อง โดยบริษัทฯ จะพิจารณาเลือกสินเชื่อของแต่ละโครงการให้สอดคล้องกับสกุลเงินท้องถิ่น เพื่อบริหารความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจุบัน โครงการโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการแล้วของ SSP มีสัญญาซื้อขายไฟรวมตามสัดส่วนการลงทุน 282 เมกะวัตต์ ราว 40% เป็นการลงทุนในประเทศไทย และ 60% เป็นการลงทุนในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น เวียดนาม มองโกเลีย และอินโดนีเซีย

 


ด้านการเข้าลงทุนในโครงการใหม่ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไต้หวัน ด้วยขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 38 เมกกะวัตต์ ส่วนความคืบหน้าของโครงการโรงไฟฟ้าตามแผนการลงทุนอีกมากกว่า 300 เมกกะวัตต์ ที่จะทยอยเปิดดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ Q4/68 นั้นเป็นไปตามแผนงาน มั่นใจจะสามารถสร้างการเติบโตไปสู่กำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 600 เมกกะวัตต์ ในปี 2571

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad