สศท.จัดใหญ่ "อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15" มุ่งสืบสานต่อยอดปัญญางานหัตถศิลป์ไทยชั้นบรมครูในเวทีระดับสากล - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2567

สศท.จัดใหญ่ "อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15" มุ่งสืบสานต่อยอดปัญญางานหัตถศิลป์ไทยชั้นบรมครูในเวทีระดับสากล

 


 รมช.พาณิซย์ เปิดงาน "อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15" ประกาศเดินหน้าสืบสานภูมิปัญญา รักษา และ ต่อยอดหัตถศิลป์ไทย ดันเป็นจุดแข็งบนเวทีระดับสากล โชว์ไฮไลท์ "หัตถศิลป์ที่คิดถึง" จัดแสดง 50 ผลงาน ล้าค่าของครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ หวังสร้างไอเดียต่อยอดแก่คนรุ่นใหม่ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ในการเป็นประธานในพิธีเปิดงาน "อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15" งานแสดงและจํ๋าหน่ายงาน หัตถศิลป์ไทยชั้นบรมครู พร้อมระบุว่า กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องชาว ไทยให้มีคุณภาพชีวิดความเป็นอยู่ี่ขึ้นได้อมนําพระราชปณิธานของพระบาทลมเด็จพระวจิรเกล้าล้าอยู่หัวฯ ใน การสืบสาน รักษา ต่อยอดมาเป็นแนวทางในการดําเนินงานให้กับประชาชนไทยอย่างต่อเนื่อง

โดยการจัดงานอัตลักษณ์แห่งสยามในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งการผนึกกําลังของกระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ร่วมกับภาคเอกชนและพันธมิตร เพื่อสร้างการรับรุ้และความตระหนักในคุณค่าและภูมิปัญญางานหัตถศิลป์ไทย ให้คนรุ่นใหม่เรียนรู้วัฒนธรรมในอดีต ในรูปแบบศิลปหัตถกรรมและรักษาให้คงอยู่ตลอดไป ภายใต้แนวคิด "สืบสานตํานานหัตถศิลป์ไทย (The Legend of Thai Craft)"

อีกทั้ง ยังเป็นโอกาสในการเพิ่มช่องทางการส่งออก การจัดจําหน่ายให้กับผู้สร้างสรรค์งาน ศิลปหัตถกรรมไทย นําจุดแข็งด้านภูมิปัญญาและทักษะเชิงช่างเหล่านี้ ให้เป็นที่รู้จักในเวทีระดับสากล ขณะเดียวกันในปีนี้ เพื่อสร้างขวัญกําลังใจให้ผู้สร้างสรรค์หัตถศิลป์ไทยได้เกิดความภาคภูมิใจในการอนุรักษ์ คุณค่าภูมิปัญญาทักษะฝีมือเชิงช่างที่อยู่ในตัวบุคคล ที่ถือได้ว่าเป็นสมบัติอันมีค่าไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา และส่ง ต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน สศท. ได้คัดสรรบุคคลที่เป็นที่สุดในการอนุรักษ์ และสร้างสรรค์ผลงานแห่งปีเพื่อมอบโล่ รางวัลเชิดชูเกียรติครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจําปี 2567 รวม 31 ครูช่างศิลปหัตถกรรม จํานวน 11 ราย และทายาทช่าง ราย แข่งเป็นครูศิลปของแผ่นลิน จํานวน 4 ราย ศิลปหัตถกรรม จํานวน 16 ราย นางพรรณวิลาส แพพ่วง รักษาการแทนผู้อํานวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวเสริมว่า งาน อัตลักษณ์แห่งสยาม

ในปีนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 15 เพื่อสืบสานงานศิลปหัตถกรรมไทยที่ใกล้สูญหาย รักษาภูมิปัญญาองค์ ความรู้ของบรรพบุรุษที่มีอัตลักษณ์ และสะท้อนความตั้งใจในการสร้างสรรค์ และต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมไทย ให้ เป็นที่ประจักษ์ในฐานะมรดกภูมิปัญญาคู่แผ่นดิน สู่การเป็น Craft Power สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ คาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างเงินสะพัดภายในงานไม่น้อยกว่า 80 ล้านบาท สําหรับกิจกรรมภายในงานปีนี้ ออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่หนึ่ง การจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ และน้อมรําลีกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในการ วางรากฐานสนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมบนผืนแผ่นดิน ส่งเสริมอาชีพด้วยภูมิปัญญา ภายใต้แนวคิด "คือพระหัตถ์ สร้างงาน รากฐานงานหัตถศิลป์ไทย" รวมถึงจัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ รวมไปถึง ส่วนสาธิต อาทิ ทอผ้าจก , จักสานย่านลิเภา , จักสานไม้ไผ่ลายขิด ๆลฯ โดยสมาชิกมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ


อีกทั้ง ยังมีไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด คือ นิทรรศการ "หัตถศิลป์หี่คิดถึง" พื้นที่จัดแสดงผลงานหัตถศิลป์ลี้าค่า ของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรมไทย ที่หาชมได้ยาก และใกล้สูญหาย กว่า 50 ผลงาน ซึ่งเป็นงาน ศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า พั้งที่หาชม่ได้ยาก และโกลัสูญหาย อาทิ ขันลงหิน บ้านบู ครูเมตตา เสลานนท์ ครูศิลป์ ของแผ่นดิน ปี 2552 , มีดเหล็กลาย ครูพชร พงศกรรังศิลป์ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2559 , หัตถกรรมทองเหลืองสาน ครูวนิตย์ ธรรมประทีป ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2553 เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีโชนสาธิตกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรมชิ้นเอก ถ่ายทอดเทคนิค กระบวนการกว่า จะมาเป็นงานหัตถกรรม โดยครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม กว่า 25 ราย อาทิ เครื่องประดับมุกโบราณ , งานต้องลายปานซอย (งานฉลุลายโลหะแบบศิลปะไทใหญ่) , ลายรดนํ้า , เครื่องเขิน พวงมโหตร , แกะสลักไม้ , ว่าวเบอร์ฮามัส ฯลฯ และนิทรรศการ "ตํานานบทใหม่ของช่างฝีมือคนไทย" เชิดชูครูศิลป์ ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรมไทย และทายาทศิลปหัตถกรรมไทย ประจําปี 2567 ขณะที่กิจกรรมส่วนที่สอง ภายในงานได้จัดพื้นที่เพื่อส่งเสริมคุณค่างานหัตถศิลป์ จัดแสดงและจําหน่าย ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม เพื่อสนับสนุนการจําหน่าย รวมไปถึงเพิ่มโอกาสและช่องทางการตลาดแก่ผู้ผลิตงาน คิลปหัตถกรรมให้กับกลุ่มผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลป์ (Workshop) กว่า 20 กิจกรรม ถ่ายทอดโดยครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม อาทิ หุ่นกระบอกไทยจิ๋ว , สลักดุนโลหะ , ทําหัวโขนแม่เหล็ก และการลงรักปิดทอง เป็นต้น นางพรรณวิลาส กล่าวทิ้งท้ายว่า

งานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15 เป็นงานจัดแสดงผลงานหัตถศิลป์ชั้น บรมครู และจําหน่ายงานหัตถศิลป์ไทยที่ยิ่ใหญ่ มีกิจกรรมภายในงานที่หลากหลายให้ผู้เข้าชมงานได้สัมผัส พร้อมนํา เทคนิคในการผลิตชิ้นงานอันทรงคุณค่าเหล่านี้ไปต่อยอดเป็นผลงานชิ้นงานใหม่ ๆ ที่มีเอกลักษณ์จากภูมิปัญญาไทย โดย สศท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานอัตลักษณ์แห่งสยามครั้งนี้ จะเป็นอีกงานที่ําให้ทั่วโลกได้เห็น ว่างานหัตถศิลป์ฝีมือ ของคนไทยมีมูลค่าและคุณค่าทางความคิด สศท. ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมสัมผัสเสน่ห์ และสนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมไทยให้ยังคงอยู่ รวมถึงร่วมเป็น ส่วนหนึ่งในการสร้างกําลังใจให้กับครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ได้สร้างสรรค์ งานหัตถกรรมอันทรงคุณค่าให้ยังคงอยู่คู่ประเทศขาติต่อไป ในงาน "อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15" สืบสาน ตํานาน หัตถศิลป์ไทย (The Legend of Thai Craft) นับว่าเป็นงานที่รวบรวมมรดกของชาติที่หาชมได้ยากไว้ในที่เดียว จัด ขึ้นในระหว่างันที่ 18-22 กันยายน 2567 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ฮอลล์ 5 ขั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad