TFG ปักหมุดปี 64 รายได้โตต่อ 10-15% อานิสงส์ดีมานด์-ราคาขายสุกร เด้งรับยุโรปเพิ่มโควตานำเข้าสินค้าสัตว์ปีก - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

TFG ปักหมุดปี 64 รายได้โตต่อ 10-15% อานิสงส์ดีมานด์-ราคาขายสุกร เด้งรับยุโรปเพิ่มโควตานำเข้าสินค้าสัตว์ปีก


 TFG ตีปีก! รับอานิงส์ทั้งดีมานด์และราคาขายสุกรอยู่ในระดับที่ดี หนุนรายได้ปี 64 โต 10-15% นอกจากนี้ยังประเด็นยุโรปเพิ่มโควตานำเข้าสินค้าสัตว์ปีก ฟาก "วินัย เตียวสมบูรณ์กิจ"เผยเตรียมทุ่มงบลงทุน 2.5-2.7 พันล้านบาท สร้างฟาร์มพ่อพันธุ์สุกร/อาหารสัตว์ ในประเทศไทยและเวียดนาม รองรับแผนเพิ่มกำลังการผลิต พัฒนาสายพันธุ์สุกรจากความร่วมมือกับพันธมิตรฝรั่งเศส ผลักดันให้ธุรกิจเติบโตแข็งแกร่งและยั่งยืน

            นายวินัย เตียวสมบูรณ์กิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TFG) เปิดเผยว่าแผนการดำเนินงานในปี 2564 บริษัทฯตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 10-15% เทียบกับปีที่ผ่านมา โดยในส่วนของสุกรจะขยายตัวจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นและราคาที่อยู่ในระดับที่ดี  ประกอบกับธุรกิจสุกรที่ประเทศเวียดนามราคายังคงยืนในระดับสูงเช่นกัน  รวมทั้งการขยายฟาร์มระดับพันธุ์ทั้งในประเทศและประเทศเวียดนามเริ่มดำเนินไปแล้วบางส่วน  ส่วนของธุรกิจไก่จะขยายตัวขึ้นจากธุรกิจไก่ปรุงสุกที่จะมีกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น 

            ธุรกิจไก่ในปีนี้ตามแผนงานจะยังเติบโตได้ ยังคงเดินหน้าหาตลาดใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ตะวันออกกลาง” ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มมุสลิม ที่มีการบริโภคเนื้อไก่มากติดอันดับของโลก ทั้งนี้บริษัทฯ ได้รับการ Approved เพิ่มการส่งออกชิ้นส่วนไก่ไป ประเทศซาอุดิอาระเบีย บาร์เรน การ์ตา คูเวต และโอมาน ถือเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนรายได้ธุรกิจไก่ในปีนี้ เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

            ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TFG กล่าวอีกว่า อีกหนึ่งปัจจัยบวกที่เกื้อหนุนคือ กรณีที่สหราชอาณาจักร (UK) ออกจากสหภาพยุโรป (EU) หรือเบร็กซิต ล่าสุดในช่วงปลายปี 2563 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศระเบียบการจัดสรรโควตา Regulation (EU) ยืนยันปริมาณโควตาภาษีสินค้าสัตว์ปีกไทย ภายใต้ตารางผูกพันของอียูภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) แล้ว โดยพบว่าปริมาณโควตาที่ไทยได้รับจัดสรรใหม่เทียบกับสถิติการส่งออกสินค้าสัตว์ปีกไทยไปอียู 27 ประเทศ และยูเคย้อนหลัง 3 ปี (2560-2562) ไทยได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้น ทำให้ไทยมีโอกาสส่งออกสินค้าสัตว์ปีกได้เพิ่มขึ้น และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2564 ที่ผ่านมา

            ในขณะที่แนวโน้มธุรกิจสุกรในปีนี้ คาดว่าจะเติบโตอย่างมาก จากดีมานด์ความต้องการของตลาด และปริมาณการผลิตในไทยที่มีแผนการเพิ่มขึ้นประมาณ 20% สำหรับในเวียดนามบริษัทมีแผนการจะขยายประมาณเท่าตัวจากกำลังการผลิตในปีก่อน  ในปี 2564 นี้ บริษัทฯคาดว่าจะสร้างฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ เพิ่มเติมรวมถึงโรงงานอาหารสัตว์ในประเทศไทย และเวียดนามคิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนในปีนี้ราว 2,500-2,700 ล้านบาท โดย 80% เป็นการขยายการลงทุนในประเทศไทย และส่วนที่เหลือ 20% ลงทุนในเวียดนาม       

            จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ยังคงมีผลกระทบต่อเนื่องในวงกว้าง บริษัทยังมีความมั่นใจว่าสามารถดำเนินการขยายงานได้ตามเป้าหมาย จากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาที่บริษัทถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบน้อยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น และยังคงทำกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกด้วย  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad