ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาการขนส่งสินค้าทางทะเลและวิกฤตห่วงโซ่อุปทาน Supply Chain Crisis and High Freight Rates Confirmation - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาการขนส่งสินค้าทางทะเลและวิกฤตห่วงโซ่อุปทาน Supply Chain Crisis and High Freight Rates Confirmation

 


ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธาน สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เข้าร่วมประชุมผ่านออนไลน์ ในหัวข้อ Ad Hoc Expert Meeting on Supply Chain Crisis and High Freight Rates Confirmation” จัดโดย การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดย สรท. แสดงความกังวลอย่างมากต่อวิกฤตการขนส่งสินค้าทางทะเลที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปัจจุบัน จากปริมาณความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากการฟื้นตัวของโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการหมุนเวียนตู้คอนเทนเนอร์ ต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นและการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน กระทบต่อภาคขนส่งของไทยและทั่วโลกในปัจจุบัน ขณะเดียวกันผู้ส่งออกต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และพื้นที่ระวางเรือ รวมถึงอัตราค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อหาแนวทางแก้ไขดังกล่าวทาง สรท. จึงมีเสนอแนะ ดังนี้

ข้อเสนอแนะในระยะสั้น

          ต้องเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพของท่าเรือหลักของประเทศปลายทางเพื่อเพิ่มขีดความสามารถรองรับกิจกรรมการขนส่งระหว่างประเทศให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

          การเพิ่มประสิทธิภาพของการไหลเวียนของข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลการหมุนเวียนของตู้คอนเทนเนอร์ในแต่ละท่าเรือสำคัญ เช่น ระบบการติดตามสถานะของเรือ ความแออัดของท่าเรือหลัก ทั้งนี้เพื่อใช้ในการวางแผน กำหนดเวลาการขนส่งสินค้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางได้ใกล้เคียงมากที่สุด อีกทั้งเพื่อช่วยให้สามารถคาดการณ์และบริหารจัดการปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ให้อยู่ในระดับสมดุล

          สนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ส่งออกและสายเรือ ในการแบ่งปันข้อมูล วางแผนล่วงหน้าและการทำ Service Contract เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน

ข้อสังเกตที่สำคัญ: ผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะสินค้าเกษตร จะได้รับผลกระทบรุนแรงเนื่องจากมูลค่าสินค้าค่อนข้างน้อย ประกอบกับค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ความล่าช้าของสายเรือในการเทียบท่าและการปรับเปลี่ยนตารางเวลาเข้าเทียบท่าของสายเรือส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มจำนวนมาก ผู้ประกอบการส่งออกนำเข้าสินค้าเกษตรที่เป็น SME ไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าขนส่งระหว่างประเทศจากปัจจัยที่เกิดขึ้นได้ และในอนาคตอาจกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานที่ทยอยหายไปจากระบบการค้าโลก

 

ข้อเสนอแนะในระยะยาว

          เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเดินเรือ มีความจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องกำหนดข้อบังคับว่าด้วยการค้าที่เป็นธรรม เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาวิกฤตการณ์ด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในอนาคต ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลด้านการขนส่งทางทะเลระดับสากล ควรเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

          เสนอให้มีการจัดตั้ง Fair Trade Committee และกำหนดกรอบการทำงานและขั้นตอนในระดับสากลร่วมกับประเทศสมาชิกของ UNCTAD เพื่อยกระดับการค้าที่เป็นธรรมและความโปร่งใสในการกำหนดอัตราค่าระวางเรือ

          เสนอให้แต่ละประเทศสมาชิกของ UNCTAD ควรมีหน่วยงานภายในทำหน้าที่เสมือน องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) คณะกรรมการการเดินเรือแห่งสหพันธรัฐสหรัฐ (FMC) คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤตการดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมตลอดจนกำหนดเงื่อนไขการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมร่วมกับ Fair Trade Committee ในระดับสากลต่อไป

อนึ่ง ที่ประชุมมีความเห็นแนวทางแก้ไขปัญหา อาทิ 1) เห็นด้วยให้มีหน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันทางการค้าในแต่ละประเทศต้องให้ความสำคัญและเร่งพัฒนากลไกควบคุมการแข่งขันและการกำหนดอัตราค่าระวางและค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล 2) เห็นด้วยให้มีการเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพของท่าเรือหลักของประเทศปลายทางเพื่อเพิ่มขีดความสามารถรองรับกิจกรรมการขนส่งระหว่างประเทศ 3) แต่ละประเทศต้องเร่งขับเคลื่อนพัฒนาระบบดิจิทัล (Digital platform) ให้เป็น Single window สำหรับอุตสาหกรรมท่าเรือ สายการเดินเรือ ศุลกากร และผู้นำเข้าส่งออกให้สามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลกลดปัญหาข้อมูลคลาดเคลื่อน และ 4) เร่งยกระดับพัฒนาท่าเรือและสายการเดืนเรือในเรื่องของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (decarbonization) ซึ่งในอนาคตอาจมีการเรียกค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มจากการปล่อยของเสียดังกล่าว   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad