ติดหวานต้องระวัง!.. อาจก่อปัญหามากกว่าที่คิด - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565

ติดหวานต้องระวัง!.. อาจก่อปัญหามากกว่าที่คิด

 


สังเกตไหมว่าบางคนจะมีอาการอยากกินของหวานๆ ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้กินจะรู้สึกโหยๆ หงุดหงิด หรือบางครั้งก็ซึมเศร้าไปเลย อาการแบบนี้เกิดจากการเสพติดน้ำตาลเรียกว่า “Sugar Blues”ที่ทำให้ร่างกายรู้สึกโหยหานํ้าตาลทั้งวัน โดยเฉพาะช่วงเวลาประมาณสิบโมงเช้า และบ่ายสามโมง ถ้าไม่ได้กินน้ำตาลจะทำให้หดหู่ซึมเศร้าอารมณ์แปรปรวน ขี้โมโหง่าย สมาธิสั้นผิดปกติแล้วถ้ายังปล่อยให้ร่างกายเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะยิ่งส่งผลเสียกับร่างกาย 

เพราะเมื่อน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดมากๆ (ปริมาณที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 4-6 ช้อนชาต่อวัน)จะไปเก็บสะสมไว้ที่ตับในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) และจะส่งกลับไปที่กระแสเลือดอีกครั้ง สุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นกรดไขมันไปสะสมตามจุดต่างๆ เช่น หน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา สะโพกทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ถ้ายังไม่ยอมเลิกกินของหวานๆ ก็จะทำให้กรดไขมันไปพอกพูนที่หัวใจ ตับ ไต ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเสื่อมลงเรื่อยๆ และตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น

  • โรคอ้วน ความหวานจะทำให้รู้สึกหิวมากขึ้น และไม่รู้สึกอิ่ม คุณจะรู้สึกว่า กินเท่าไรก็ไม่พอเสียที และมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้อย่างง่ายดายโดยไม่รู้ตัว
  • ความดันโลหิตสูง น้ำตาล ทำให้ฮอร์โมนแคทีโคลามีน และกรดยูริกสูง ซึ่งต่างก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น
  • โรคหัวใจ อาหารที่มีน้ำตาลสูง เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เพราะน้ำตาลมีผลต่อกระบวนการสูบฉีดของหัวใจ เพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ ไขมันเลว กลูโคส และอินซูลินในกระแสเลือด
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อกินอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลมากๆ จะทำให้เกิดการสะสมไตรกลีเซอไรด์ขึ้นในร่างกาย ทำให้ปริมาณไขมันในเลือดสูงขึ้น เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจต่างๆ ได้
  • ฟันผุ น้ำตาลย่อยง่าย แบคทีเรียในช่องปากจึงสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว จนเป็นสาเหตุของปัญหาในช่องปากต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟันผุ เคลือบฟันกัดกร่อน โรคเหงือก และกลิ่นปาก

สำหรับใครที่ทานน้ำตาลในปริมาณพอเหมาะอยู่แล้วก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าใครยังติดหวานอยู่ ลองนำวิธีต่อไปนี้ไปปรับใช้กันดูนะครับ…

  • ลดการปรุงหรือเติมนํ้าตาลในอาหาร อาจใช้สารให้ความหวานทดแทน (หญ้าหวาน, น้ำตาลเทียม) ในปริมาณที่เหมาะสม
  • เลี่ยงการดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม รวมถึงน้ำผลไม้ ดื่มนํ้าเปล่าดีที่สุด
  • เลือกเครื่องดื่มสั่งหวานน้อย เพราะเครื่องดื่มปัจจุบันมีน้ำตาลมาก ควรสั่งแบบลดระดับความหวานให้เหลือ 0-50 %
  • อ่านฉลากโภชนาการ ตรวจสอบว่าอาหารและเครื่องดื่มมีปริมาณน้ำตาลมากน้อยแค่ไหน เพื่อเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมาก
  • เลือกผลไม้หวานน้อย กินผลไม้แทนขนมหรืออาหารว่าง เช่น แอปเปิ้ลเขียว ฝรั่ง กล้วย หรือตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ
  • เพิ่มการทานผักใบเขียวให้มากขึ้น จะช่วยชะลอการดูดซึมนํ้าตาล ทำให้ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
  • มองหาสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ ที่ช่วยบอกว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผ่านการตรวจสอบปริมาณน้ำตาล ไขมัน โซเดียม ว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
  • ** แนะนำให้ค่อยๆ ลดความหวานลงทีละนิดทีละหน่อย เพื่อสุขภาพที่ดีลดความเสี่ยงการเกิดโรค และไม่ควรหักดิบอดหวาน เพราะร่างกายอาจทนไม่ไหวและกลับไปกินน้ำตาลในปริมาณที่มากกว่าเดิม ถ้าเป็นแบบนี้คงไม่แน่ๆ…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad