‘มหา’ลัยล่องตรึก’ประกาศผลผู้รับทุนเพื่อศิลปะ2020 พร้อมมอบทุน3 ศิลปินรุ่นใหม่ ที่นำเสนอศิลปะร่วมสมัยได้อย่างลุ่มลึก - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564

‘มหา’ลัยล่องตรึก’ประกาศผลผู้รับทุนเพื่อศิลปะ2020 พร้อมมอบทุน3 ศิลปินรุ่นใหม่ ที่นำเสนอศิลปะร่วมสมัยได้อย่างลุ่มลึก


 มหาลัยล่องตรึกก่อตั้งขึ้นในปี 2563 ภายใต้ความร่วมมือของ บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม,แบล็คเอ้าท์ คอลเล็กทีฟ และจิตร คอลเล็กทีฟ เพื่อพัฒนาระบบนิเวศวัฒนธรรมการศึกษา พื้นที่การเรียนรู้คู่ขนาน การทดลองเชิงการศึกษาวิจัย ตลอดจนส่งเสริมการสร้างบทสนทนานอกห้องเรียน บ้านนอกฯ ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการล่องตรึก ทุนเพื่อศิลปะ 2020ร่วมมือกับภาคีฯจัดให้มีพิธีประกาศและมอบทุนฯ ทุนละ 30,000 บาท ให้แก่ ศิลปินไทยรุ่นใหม่ ได้พัฒนาผลงาน ภายใต้หัวข้อนิทรรศการที่ชื่อว่A Verse on Uncomposed Surface: A Gathering of Becoming Stories’ภัณฑารักษ์โดยภาอรุณ ชูประเสริฐ


โครงการล่องตรึก ทุนเพื่อศิลปะ 2020ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ทั้งนี้ได้มีการเชิญศิลปินผู้เชี่ยวชาญชาวไต้หวันที่มีชื่อเสียง ได้แก่Yeh Wei Li, Hsu Chia Wei และ Lo Shih Tungผ่านการจับคู่สนทนาออนไลน์และให้คำแนะนำแก่ ศิลปินรุ่นใหม่ที่ผ่านการคัดเลือกในโครงการ ฯ ได้แก่ กฤตพร  มหาวีระรัตน์ , ณณฐ ธนพรรพี และฐพงค์ ศรีใสเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดระหว่างศิลปินทัศนศิลป์ และได้รับการสนับสนุนพื้นที่จัดแสดงบันทึกผลงาน()และโครงการศิลปะนอกเมืองหลวงที่ ‘EXSPACE’หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม ก่อนจะจัดพิธีมอบทุนอย่างเป็นทางการ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ มหานคร (BACC


“ล่องตรึก ทุนเพื่อศิลปะ 2020มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมด้านการศึกษาวิจัยเชิงทัศนศิลป์ และวัตถุประสงค์ในการเป็นแพลตฟอร์มที่เอื้อต่อศิลปินรุ่นใหม่ รวมถึงผู้ฝึกฝนตนด้านศิลปวัฒนธรรม โครงการนี้จึงขับเคลื่อนโปรแกรมการพัฒนาความชำนาญทางศิลปะผ่านทางโปรแกรมออนไลน์ ระหว่างศิลปินรุ่นใหม่ผู้รับทุนล่องตรึก ฯ และศิลปินรับเชิญซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวไต้หวัน ในฐานะผู้ให้คำแนะนำแก่ศิลปินไทยรุ่นใหม่ พร้อมๆ กับกระบวนการทางภัณฑารักษ์ในโครงการ โดยมีพื้นที่กรณีศึกษาครอบคลุมจังหวัดนครปฐมและราชบุรี ซึ่งศิลปินรับเชิญชาวไต้หวันต่างก็เป็นผู้ที่เคยพำนักและปฏิบัติงานที่วิทยาเขตนครปฐม หรือเคยร่วมโครงการกับ บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี มาก่อน เพื่อให้ศิลปินทั้งสองประเทศมีประสบการณ์ร่วมทางวัฒนธรรมที่สามารถเชื่อมโยงอดีตมาสู่ปัจจุบันร่วมกันได้ไม่มากก็น้อย”พรพิไล มีมาลัยผู้บริหารจัดการโครงการทุนล่องตรึก ฯ กล่าว


ทั้งนี้ พรพิไล มีมาลัย ยังได้อธิบายถึงที่มาของคำว่า ล่องตรึกหมายถึง “พื้นที่ระหว่างบรรทัดที่เรียกร้องให้เกิดการตรึกตรองอย่างลึกซึ้ง”ตลอดจนวัตถุประสงค์ของการมอบทุนศิลปะให้แก่ศิลปินรุ่นใหม่ โดยได้รับเกียรติจากดร. หลี่ หยิง หยวน ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทยร่วมมอบใบประกาศนียบัตร พร้อมด้วย เถียน ยู อัน ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมไต้หวันให้เกียรติมอบรางวัลทุนศิลปะดีเด่นแก่ศิลปิน โดยได้รับเกียรติจากรศ.ดร. เก่งกิจ กิติเรียงลาภบรรยายเชิงวิชาการหัวข้อ สัตตะและอัตลักษณ์:มุมมองจากโลกและความรู้ ณ ชายขอบของโลก และ ภาอรุณ ชูประเสริฐภัณฑารักษ์ ร่วมถ่ายทอดแนวคิดทางภัณฑารักษ์


โดยผลงานของศิลปินทั้ง คน จัดแสดงบันทึกบางส่วนของผลงาน(Archive)ในนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย A Verse on Uncomposed Surface: A Gathering of Becoming Stories ที่ชวนคุณเดินทางค้นหาอัตลักษณ์อันหลากหลาย ผ่านเบื้องหลังแนวคิดของศิลปินรุ่นใหม่ นำเสนอผ่านสื่อทัศนศิลป์ที่หลากหลายของศิลปินในโครงการ ฯ สอดประสานกับศาสตร์ความรู้เชิงสหวิทยาการ (interdisciplinary)ในฐานะผลงานสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางสังคม การเมือง และประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการล่องตรึก ทุนเพื่อศิลปะ 2020

ผู้สนใจสามารถเข้าชมผลงานของศิลปินรุ่นใหม่ทั้งคน ที่ได้รับทุนจากโครงการ ฯ ในนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย A Verse on Uncomposed Surface: A Gathering of Becoming Stories’เปิดให้เข้าชมฟรีระหว่างวันที่ มีนาคม-10 เมษายน 2564 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 - 16.00 น. (เว้นวันหยุดราชการ) ณ EX SPACEหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม หรือติดตามได้ที่ http://www.art-centre.su.ac.th/ex-space.html

แนวคิดและผลงานของศิลปินทั้ง คน นำเสนอผ่านวิธีวิทยาภัณฑารักษ์โดย ภาอรุณ ชูประเสริฐ

·     Stoppingby Woods on a Snowy Evening โดย กฤตพร มหาวีระรัตน์นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำแก่นแกนของ สัจนิยมหัศจรรย์(Magical Realism) มาเสนอเรื่องราวฉากสามัญธรรมดาที่สามารถพบเห็นได้เป็นปกติ ทว่ากลับมีองค์ประกอบของเรื่องราวหรือบรรยากาศบางประการที่แปลกประหลาดลักลั่นแฝงอยู่ โดยนำเสอผลงานผ่านสื่อทัศนศิลป์ เช่น โปสเตอร์ ทิวทัศน์ และธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการของผลงานศิลปะจัดวางและมีส่วนร่วมทางสังคม สร้างเป็น Fictional Landscape ขึ้นมา เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมของพื้นที่ประดิษฐ์ ทดแทนการไม่ได้ออกไปสถานที่จริงหรือเป็นพื้นที่แบบกึ่งจริงกึ่งฝัน เพื่อเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้คนด้วยการดำเนินผ่านการค้นหาภาพลักษณะคล้ายคลึงที่ปรากฎตามบ้านเรือนในชุมชน และสร้างบทสนทนาระหว่างตนกับคนภายในพื้นที่ขึ้น นำไปสู่การเชื่อมโยงถึงประเด็นทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์จากทั้งสองฝากฝั่ง เรื่องราวที่ไม่เคยถูกให้ความสำคัญในชีวิตของผู้คนจึงเริ่มปรากฎออกมา

·   HAWIWI: I Wish I Wrote a History(2564)โดย ณณฐ ธนพรรพีปัจจุบันพำนักและทำงานอยู่ที่กรุงเทพ ฯ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาภาพยนตร์และภาพถ่าย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณณฐ มุ่งความสนใจในประเด็นทางสังคมและประวัติศาสตร์ ที่ข้องเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์อันหลากหลาย ซึ่งมีความทับซ้อนทางวัฒนธรรมร่วมกันในจังหวัดราชบุรี อาทิ ชาวมอญ ชาวจีน ชาวไทยวน ฯลฯ โดยทําการศึกษาและค้นหาเรื่องเล่ากระแสรองที่ประกอบเป็นตัวตน ผ่านการลงพื้นที่ปฏิบัติงานและศึกษาชุดข้อมูลในชุมชน ด้วยการพูดคุย ซักถาม และปฏิสัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายช่วงวัย ผ่านกิจกรรมที่เป็นเสมือนการละเล่น / เกม (game)ทางแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่จําลองบรรยากาศและสถานที่เสมือนจริงในการสําแดงผล เขาเลือกใช้สื่อการแสดงที่หลากหลายทั้งการสตรีมมิง (Streaming) เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ได้ โดยไม่ต้องพบปะกันทางกายภาพ เผยให้ถึงความเป็นไปได้ในการสร้างงานศิลปสุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธ์ (Relational Aesthetic) โดยใช้พื้นที่เสมือนจริง (Virtual Space) ในการเชื่อมต่อรวมถึงเผยแพร่ออกมาในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ การแปรผลข้อมูลแสดงเป็น Visualผ่านสื่อวิดิโอ

·   An Aimless Landscapeโดย ฐพงค์ ศรีใสชาวนครศรีธรรมราช ปัจจุบันทำงานอยู่ที่กรุงเทพ ฯ และนครศรีธรรมราช จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ฐพงศ์ มุ่งความสนใจในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวหนังอย่าง ‘สิว’ ซึ่งเป็นปัญหาระดับ ปัจเจกบุคคล ด้วยกายภาพของสิวนั้นมีขนาดเล็ก แต่เบื้องหลังของสิวนั้นไม่ได้เป็นเรื่อง สิวๆตามขนาดของมัน แต่ศิลปินขุดค้นลึกลงไปถึงต้นตอและปัญหาทางชีวภาพ คู่ขนานกับปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคมอย่าง “ปัญหาความเหลื่อมล้ำ” จากบริโภคนิยมในระบบทุนนิยม  “การนิยามความงาม กับรูปลักษณ์ที่เป็นอุดมคติ” ด้วยการลงพื้นที่จังหวัดนครปฐม ที่มีความหลากหลายของคนวัยเรียนจนถึงวัยทํางาน จากการสอบถามและเก็บบันทึกข้อมูลจากผู้คนหลากหลายสาขาวิชา ทั้งความรู้เชิประจักษ์ และจิตนิยม นําข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ตีความสร้างเป็นพื้นที่จําเพาะชั่วคราว (Temporary specific) เพื่อให้เกิดประสบการณ์ร่วมภายในพื้นที่ผ่านสัญลักษณ์ (symbol)และเรื่องราวที่แต่งขึ้นใหม่ (Fiction)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มและดูรายละเอียดของโครงการได้ที่
เบอร์โทรติดต่อ / Mobile: 0815875715 Website: https://longtrukuni.org/events/
Facebook: Baan Noorg Collaborative Arts & Culture และมหาลัยล่องตรึก: Longtruk Uni.
YouTube: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture IG: baannoorgcollaborative_th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad