สภาอุตฯ ร่วมคณะเอกชนไทย ยกทัพลงทุนในซาอุดิอาระเบีย - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2566

สภาอุตฯ ร่วมคณะเอกชนไทย ยกทัพลงทุนในซาอุดิอาระเบีย



 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้าร่วมคณะเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียกับนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ  พร้อมด้วยคณะภาครัฐและภาคเอกชน ระหว่างวันที่ 6-10 มิถุนายน 2566 เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือทวิภาคี และส่งเสริมการเจรจาการค้าและการลงทุนระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ในการเร่งผลักดันการค้า การลงทุน 

 


ปัจจุบัน ซาอุดีอาระเบียต้องการดึงนักลงทุนจากทั่วโลกและนักลงทุนจากไทยไปร่วมโครงการ Saudi Vision 2030 โดยตั้งเป้าหมายจะนำพาซาอุดีอาระเบียไปสู่อนาคตใหม่ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมกับนโยบายในการสร้างเมืองใหม่ที่มีชื่อว่า “นีอุม” NEOM (Saudi Arabia Smart City) อีกทั้งซาอุฯ ยังเป็นประเทศที่มีศักยภาพหลายด้านทั้งการเป็นศูนย์กลางและเป็นผู้นำของกลุ่มคาบสมุทรอ่าวอาหรับ (GCC) ขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าไทย มีประชากร 35 ล้านคน คาดว่าจะเพิ่มเป็น 50 ล้านคนในปี 2030 (พ.ศ. 2573) และยังสามารถเชื่อมโยงตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ 

นายชาติชาย พานิชชีวะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมด้วยนายนาวา จันทนสุรคน กรรมบริหาร ส.อ.ท. ร่วมคณะเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย ในฐานะผู้แทนภาคอุตสาหกรรมไทยที่เข้าร่วมเดินทางกับคณะ โดยในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการผลักดันการค้า การลงทุนร่วมกันระหว่างประเทศไทยและซาอุดีอาระเบีย พร้อมขยายความร่วมมือและการลงทุนในด้านต่างๆ อาทิ  

  • อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ (Automotive and Auto parts Industry) 
    จากมูลค่าการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ พบว่าสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบรถยนต์เป็นหนึ่งในสินค้าส่งออก 15 อันดับแรกของไทยที่ส่งออกไปซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีมูลค่ากว่า 214.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากการที่ประเทศซาอุดีอาระเบียได้ยกเลิกกฎหมายและอนุญาตให้ผู้หญิงชาวซาอุดีอาระเบียสามารถขับรถยนต์ได้ สนับสนุนให้ความต้องการใช้รถยนต์เติบโต จึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยในการขยายตลาดในซาอุฯ มากขึ้น โดยเฉพาะสาขาชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งไทยมีความเชี่ยวชาญ และจะช่วยผลักดันให้ซาอุดีอาระเบียเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของการผลิตในระดับโลก 

  • อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง (Construction Industry 
    บริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีนโยบายขยายการลงทุนโดยมุ่งขยายธุรกิจและพัฒนาระบบนิเวศด้านการก่อสร้าง (Construction Ecosystem) ไปสู่การขยายห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ในด้านอื่นๆ ทั้งธุรกิจปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ (Packaging) และ PVC เป็นต้น เพื่อต้องการสร้างเครือข่าย Supply chain ระหว่างประเทศ จึงมีแผนการจัดตั้งสำนักงาน ณ เมืองริยาดภายในเดือนกันยายนปี 2566 นอกจากนี้สินค้าอื่นๆ ที่ยังมีโอกาสเติบโต เช่น เหล็ก ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ได้รับประโยชน์จากการลงทุน Mega Project ของซาอุฯ ในการสร้างเมืองและขยายเมืองเพื่อให้สอดรับกับแผน Saudi Vision 2030   

  • อุตสาหกรรมปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ (Fertilizer and Chemicals Industry) 
    ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกปุ๋ยเคมีอันดับที่ 6 ของโลก จากการเข้าพบหน่วยงาน Saudi Basic Industries Corporation (SABIC) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตปุ๋ยรายใหญ่รายหนึ่งของโลกและเป็นรายใหญ่ของซาอุดีอาระเบีย ได้แสดงความสนใจที่จะร่วมมือและขยายลงทุนกับไทยและในช่วงการเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ผ่านมา ประเทศไทยได้นำเข้าปุ๋ยและเคมีภัณฑ์จากซาอุฯ และทางบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจปุ๋ยในไทยมากถึง 45% ซึ่งไทยมีแนวโน้มนำเข้าสินค้าปุ๋ยและเคมีภัณฑ์จากซาอุฯ ในจำนวนมากขึ้น  

  • โครงการปลูกต้นไม้ 50,000 ล้านต้นในกลุ่มประเทศอาหรับ 

    ตามเป้าหมายของ Vision 2030 ของซาอุดีอาระเบีย มีแผนที่จะนำเข้าต้นไม้จากทั่วโลกเพื่อให้บรรลุตามนโยบายซาอุดีอาระเบียสีเขียว (The Saudi Green Initiative) เพื่อเปลี่ยน พื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีชีวิตชีวา โดยการปลูกต้นไม้ 10,000 ล้านต้น และร่วมสนับสนุนผลักดันโครงการปลูกต้นไม้ 50,000 ล้านต้นทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้ส่งต้นไม้ไปยังซาอุฯ แล้วกว่า 200,000 ต้น และถือว่ายังมีโอกาสให้ไทยส่งออกต้นไม้ไปยังซาอุฯ ได้อีกมาก ซึ่งซาอุฯ จะร่วมมือกับประเทศสมาชิก GCC และประเทศหุ้นส่วนอื่นๆ ในการปลูกต้นไม้ในเอเชียตะวันตกเพิ่มอีก หมื่นล้านต้น  

    นอกจากนี้ ทางคณะฯ ยังได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมศูนย์วิทยากรและเทคโนโลยีของซาอุดีอาระเบีย (King Abdulaziz City for Science and Technology : KACST) ซึ่งมีการแสดงนวัตกรรมของสินค้าอุตสาหกรรม เช่น Carbon Fiber อุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรม Semi – Conductor ในอนาคต เป็นต้น โดยฝ่ายซาอุฯ มีความยินดีที่จะให้ใช้ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการของซาอุฯ หากสตาร์ทอัพ (Startup) ทั้งสองประเทศตกลงที่จะร่วมกันเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกัน และหากผู้ประกอบการทั้ง ฝ่ายเกิดการร่วมทุนกันต่อเนื่อง หน่วยงานดังกล่าวพร้อมให้การสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture capital) ให้อีกด้วย 
 เปิดลิสต์ 38 ต้นไม้ไทย โอกาสส่งออกตลาดซาอุฯ

ตามเป้าหมาย “Saudi Vision 2030” ของซาอุดีอาระเบีย มีแผนที่จะนำเข้าต้นไม้จากทั่วโลกเพื่อให้บรรลุตามนโยบายซาอุดีอาระเบียสีเขียว (The Saudi Green Initiative) เพื่อเปลี่ยนพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีชีวิตชีวา โดยการปลูกต้นไม้ 10,000 ล้านต้น และร่วมสนับสนุนผลักดันโครงการปลูกต้นไม้ 50,000 ล้านต้น ทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ปัจจุบันประเทศไทยได้ส่งต้นไม้ไปยังซาอุฯ แล้วกว่า 200,000 ต้น และถือว่ายังมีโอกาสให้ไทยส่งออกต้นไม้ไปยังซาอุฯ ได้อีกมาก ซึ่งซาอุฯ จะร่วมมือกับกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ หรือกลุ่มประเทศ GCC (Gulf Cooperation Council) และประเทศหุ้นส่วนอื่น ๆ ในการปลูกต้นไม้ในเอเชียตะวันตกเพิ่มอีก 4 หมื่นล้านต้น

🌱🌱🌱🌱🌱
1. ชมพูพันธุ์ทิพย์ (Tabebuia rosea)
2. นนทรี (Peltophorum pterocarpum, Yellow poinciana)
3. พุทราจีน (Ziziphus jujuba)
4. ศรีตรัง (Jacaranda mimosifolia)
5. หูกวาง (Terminalia catappa)
6. อรชุน (Terminalia arjuna, Arjuna Tree)
7. ไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina, Weeping fig)
8. พฤกษ์ (Albizia lebbeck)
9. ยี่เข่ง (Lagerstroemia indica)
10. งิ้ว (Bombax cebia, Red kapok tree)
11. หางนกยูงฝรั่ง (Delonix regia)      
12. มัลเบอร์รี (Morus nigra, Blackberry)
13. มะรุม (Moringa oleifera)
14. เลี่ยน (Melia azedarach)            
15. มะเดื่อ (Ficus carica, Fig)
16. เลมอน (Citrus limon)
17. ส้มซ่า (Citrus aurantium)
18. คารอบ (Ceratonia siliqua, Carob Tree)
19. ส้มแมนดาริน (Citrus reticulata, Mandarin orange)
20. มะตูมซาอุ (Schinus terebinthifolius)
21. กระถินเทพา (Acacia mangium)
22. หยีน้ำ (Millettia pinnata)
23. นิโครธ (Ficus benghalensis)
24. ชัยพฤกษ์ (Cassia javanica)
25. ก้ามปู (Albizia saman)
26. ปีบ (Millingtonia hortensis, Tree jasmine)
27. เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegate)    
28. ชงโค (Bauhinia purpurea)
29. ราชพฤกษ์ (Cassia fistula)
30. มะขามเทศ (Pithecellobium dulce)
31. มะกอกโอลีฟ (Olea europaea, Olive)
32. โพ (Ficus religiosa, Sacred fig)
33. สะเดา (Azadirachta indica)
34. มะขาม (Tamarindus indica)
35. โพทะเล (Thespesia populnea)
36. กร่าง (Ficus altissima)
37. ปอทะเล (Hibiscus tiliaceus, Seacoast mallow)
38. ทามาริสก์ (Tamarix aphylla, Athel pine)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad