Bitcoin ก้าวสู่โครงสร้างพื้นฐานการเงินโลก จากสินทรัพย์เก็งกำไรสู่บทบาทใหม่ในระบบเศรษฐกิจ - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

Bitcoin ก้าวสู่โครงสร้างพื้นฐานการเงินโลก จากสินทรัพย์เก็งกำไรสู่บทบาทใหม่ในระบบเศรษฐกิจ

 


ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา Bitcoin ได้แสดงสัญญาณของการเปลี่ยนผ่านจากสินทรัพย์เก็งกำไร ไปสู่การเป็น “โครงสร้างพื้นฐาน” ทางการเงินที่มีบทบาทชัดเจนขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลก รายงานล่าสุดจากทีมวิเคราะห์ของ Merkle Capital จึงมุ่งวิเคราะห์ประเด็นเชิงลึกที่กำลังหล่อหลอมให้ Bitcoin กลับมาเป็นที่จับตามองอีกครั้งในหมู่นักลงทุนสถาบัน ผู้กำหนดนโยบาย และตลาดทุนทั่วโลก

 

จุดเปลี่ยนสำคัญ: ความผันผวนลดลง – สถาบันแห่ลงทุน

รายงานระบุว่า ราคาของ Bitcoin มีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา แม้จะปรับฐานลงกว่า 26% จากจุดสูงสุดที่ประมาณ 109,000 ดอลลาร์ในเดือนมกราคม แต่ราคาก็ฟื้นตัวกลับมาสู่ระดับประมาณ 97,000 ดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากเงินทุนใหม่ไหลเข้าสู่ตลาดคริปโทฯ มูลค่ากว่า 19 พันล้านดอลลาร์ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ความสัมพันธ์ระหว่าง Bitcoin กับดัชนี S&P 500 และทองคำเริ่มลดลง โดยมีแนวโน้มว่า Bitcoin กำลังสร้างสถานะของตนเองในฐานะสินทรัพย์ประเภท "Store of Value" ที่แยกตัวจากตลาดหุ้นและทองคำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นในช่วงวิกฤตนโยบายภาษีของสหรัฐฯ

Bitcoin กับบทบาทสินทรัพย์ต้านเงินเฟ้อ: จุดเริ่มต้นของความมั่นคงทางการเงินในยุคดิจิทัล

         ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้ทำให้ Bitcoin ถูกจับตามองมากขึ้นในฐานะ “สินทรัพย์ป้องกันเงินเฟ้อ” ที่มีคุณสมบัติเด่นด้านความขาดแคลน ความโปร่งใส และการกระจายศูนย์กลาง

ความเชื่อมั่นของนักลงทุนสถาบันใน Bitcoin ยังสะท้อนผ่านกระแสเงินทุนไหลเข้าสู่กองทุน Spot Bitcoin ETF โดยเฉพาะ iShares Bitcoin Trust (IBIT) ของ BlackRock ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหารกว่า 51 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.86 ล้านล้านบาท) และได้รับเงินทุนไหลเข้าต่อเนื่องเป็นเวลา 16 วัน

ก้าวสู่โครงสร้างพื้นฐาน: รัฐบาลและบริษัทเอกชนเริ่มถือครอง Bitcoin อย่างจริงจัง

แนวคิดการจัดตั้ง “ทุนสำรอง Bitcoin ระดับรัฐ” เริ่มมีความเคลื่อนไหว โดยรัฐนิวแฮมป์เชียร์ของสหรัฐฯ ได้ผ่านกฎหมายให้สามารถลงทุนสูงสุด 5% ของกองทุนสาธารณะใน Bitcoin ขณะที่รัฐอื่น เช่น แอริโซนา และเท็กซัส กำลังพิจารณาแนวทางเดียวกัน

นอกจากนี้ ยังมีการเสนอพันธบัตรที่เชื่อมโยงกับ Bitcoin (BitBonds) โดยบริษัทอย่าง VanEck และ Strive Asset Management รวมถึงแนวคิด “Bitcoin Strategic Reserve” ที่ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในคณะบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์

การถือครองโดยภาคเอกชน: MicroStrategy และผู้นำตลาดรายใหม่

บริษัท MicroStrategy ยังคงเดินหน้ายุทธศาสตร์การถือครอง Bitcoin โดยล่าสุดมีการถือครองกว่า555,450 BTC และมีแผนเพิ่มการถือครองเป็นมูลค่ากว่า 57 พันล้านดอลลาร์ในระยะเวลาอันใกล้ ขณะเดียวกันบริษัทหน้าใหม่อย่าง TwentyOne Capital ก็เริ่มเข้าสู่ตลาดด้วยกลยุทธ์ที่คล้ายคลึงกัน โดยมีเป้าหมายถือครอง Bitcoin ถึง 42,000 BTC

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของ Bitcoin

แนวโน้มการเติบโตของ Stablecoin และการโทเคนไนซ์สินทรัพย์ (Asset Tokenization) ที่คาดว่าจะมีมูลค่ารวมถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2028 รวมถึงแผนของ BlackRock ในการนำพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มาจัดเก็บบนบล็อกเชน ถือเป็นสัญญาณบวกต่อระบบนิเวศของสินทรัพย์ดิจิทัลในภาพรวม

ขณะเดียวกัน แม้จะยังมีความเสี่ยงทางมหภาค เช่น ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หรือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวพร้อมเงินเฟ้อสูง (Stagflation) แต่ด้วยแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และนโยบายลดภาษีของรัฐบาล ก็อาจส่งผลให้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงมีแรงหนุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2025

ทีมวิเคราะห์ของ Merkle Capital มองว่า สัญญาณบวกเชิงโครงสร้างที่ปรากฏในปัจจุบัน ทั้งจากฝั่งราคา นักลงทุนสถาบัน การสนับสนุนทางนโยบาย และโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งขึ้น กำลังนำ Bitcoin เข้าสู่ “ช่วงวัยผู้ใหญ่” ในระบบการเงินโลก โดยมีความเป็นไปได้สูงที่ Bitcoin จะสามารถทำจุดสูงสุดใหม่ (All-Time High) ได้ภายในปีนี้ โดยมีแนวต้านสำคัญที่ระดับ 130,000 ดอลลาร์

จำไว้ว่า “คุณไม่ได้ลงทุนใน Bitcoin เพื่อให้รวยขึ้น คุณลงทุนใน Bitcoin เพื่อรักษาความมั่งคั่งของคุณไว้” – ไมเคิล เซเลอร์

หมายเหตุ

  คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสม กับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตมิได้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุนแต่อย่างใด การลงทุนมีความเสี่ยง ควรวิเคราะห์อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad