สรท. คาดส่งออกฟื้นตัวภายใต้ความเสี่ยงระยะสั้น แนะรัฐเร่งแก้ไขปัญหาโลจิสติกส์และปัญหารายอุตสาหกรรม - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สรท. คาดส่งออกฟื้นตัวภายใต้ความเสี่ยงระยะสั้น แนะรัฐเร่งแก้ไขปัญหาโลจิสติกส์และปัญหารายอุตสาหกรรม


นา
สาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข่าวร่วมกับนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธาน นางจินตนา ศิริสันธนะ เลขาธิการ และนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร ณ ห้องประชุม 1 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ชั้น 32 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ เมื่อวันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.30-12.00 น. ระบุการส่งออกเดือนกันยายน 2563 มีมูลค่า 19,621 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -3.86% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 609,838 ล้านบาท หดตัว -2.24% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้าในเดือนกันยายน 2563 มีมูลค่า 17,391 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -9.08 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 548,019 ล้านบาท หดตัว -7.59% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ เดือนกันยายน 2563 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 2,230 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 61,819 ล้านบาท (การส่งออกเดือนกันยายนเมื่อหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ -2.60)

ภาพรวมช่วงเดือนม.ค.- ก.. ปี 2563 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 172,996 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -7.33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทที่ 5,387,040 ล้านบาท หดตัว -7.69% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 152,372 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -14.64 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือคิดเป็นมูลค่า 4,805,888 ล้านบาท หดตัว -15.14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ช่วงเดือน ม.ค.- ก.ย. 2563 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 20,623 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 581,152 ล้านบาท (การส่งออก เดือนม.. – ก.ย. เมื่อหักทองคำและน้ำมันน้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ -8.89)

การส่งออกในเดือนกันยายน กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวที่ 3.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) โดยสินค้าที่สามารถขยายตัวได้ดีอยู่ คือ น้ำมันปาล์ม ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สิ่งปรุงรสอาหาร อาหารสัตว์เลี้ยง สินค้ากลุ่มที่หดตัวคือ น้ำตาลทราย ข้าว ยางพารา ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ขณะที่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวที่ -3.9% เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) โดยกลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ถุงมือยาง ขณะที่สินค้ากลุ่มที่หดตัว อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ  


ทั้งนี้ สรท. ปรับคาดการณ์การส่งออกไทยในปี
2563 หดตัวลดลงมาอยู่ที่ -7% (ณ พฤศจิกายน 2563) โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ 1) แนวโน้มเศรษฐกิจและการค้าโลกเริ่มฟื้นตัว ดังจะเห็นได้จากการปรับประมาณการเศรษฐกิจทั่วโลกที่เป็นไปทิศทางดีขึ้นจากช่วงต้นปี อาทิ IMF และ World bank รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศจีนและสหรัฐฯ รวมถึงดัชนีทางเศรษฐกิจที่เริ่มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ ดัชนี PMI ที่ระดับมากกว่า 50 (สะท้อนถึงการขยายตัวการผลิต) และคำสั่งซื้อทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น และ 2) ทิศทางการส่งออกไทยที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ดังจะเห็นได้จากอัตราการหดตัวของการส่งออกที่เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องจากจุดต่ำสุดในเดือนพฤษภาคม 2563 เช่นเดียวกับการหดตัวน้อยลงของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม รวมถึงสินค้ากลุ่มที่สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ ผักผลไม้แช่เย็นแช่แข็งแปรรูป อาหารสำเร็จรูป สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้ากลุ่ม work from home อาทิ สินค้าเฟอร์นิเจอร์ สะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจในภาค real sector ที่เริ่มฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น

ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ 1) การระบาดโควิด-19 ที่มีความรุนแรงในทวีปยุโรป ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวัน (New Case) ในหลายประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาทิ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ส่งผลให้มีการกลับมาประกาศใช้นโยบาย Lockdown เป็นระยะเวลาอย่างต่ำ 1 เดือน 2) International logistics จากปัญหาการขาดแคลนระวางเรือและตู้คอนเทนเนอร์สำหรับบรรจุสินค้าในหลายเส้นทาง เนื่องด้วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจพร้อมกันในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ประกอบกับค่าระวางมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายเส้นทางโดยเฉพาะเส้นทาง trans-pacific และออสเตรเลีย 3) ค่าเงินบาทที่ทรงตัวในระดับที่แข็งค่า จากแนวโน้มการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณชะลอการฟื้นตัว และแรงกดดันภายนอกจากความไม่แน่นอนของสหรัฐฯ ในการออกมาตรการกระตุ้นทางการคลัง และ 4) การนำเข้าที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าทุนที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวกลับค่อนข้างยากและอาจมีสถานการณ์ชะลอตัวเช่นนี้ไปจนถึงต้นปี 2564 เป็นอย่างน้อย สะท้อนให้เห็นว่าภาคการผลิตภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควรและอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวและการขยายตัวของการส่งออกในระยะถัดไป

ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้

1) เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่นประเทศคู่ค้า ในเรื่อง Thai Covid-19 Recovery  

2) ข้อเสนอแนะต่อมาตรการช่วยเหลือด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ การปรับเพิ่มของอัตราค่าระวางและค่าบริการภายในประเทศ (Local Charge) ปัญหาปริมาณระวาง/ปริมาณตู้สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ 2.1) รัฐต้องศึกษาโครงสร้างของค่าบริการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศทั้งระบบ รวมถึงหน่วยงานที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าว และอัตราที่เรียกเก็บ เพื่อสามารถสะท้อนข้อเท็จจริงของโครงสร้างค่าใช้จ่ายของทั้งการส่งออกและนำเข้าทั้งหมด 2.2) เสนอให้ค่าบริการภายในประเทศ (Local Charges) ที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศเป็นบริการควบคุม โดยใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 และหากสายเรือจะประกาศค่าบริการเพิ่มเติม ให้มีการหารือ 3 ฝ่ายก่อนการปรับขึ้นทุกครั้ง 2.3) ขอให้กรมศุลกากร/การท่าเรือ ดำเนินพิธีการ customs service 7 days/24 hrs.

3) ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาด้านโลจิสติกส์ (เร่งด่วน) 3.1) ขอให้เร่งรัดการพิจารณาแก้ไขปัญหาการให้บริการและอัตราค่าบริการท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ในท่าเรือแหลมฉบัง และ 3.2) ขอให้พิจารณายกเว้นการเรียกเก็บค่า Cargo Dues สำหรับเรือ Barge ที่ขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้า ระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง ผ่านร่องน้ำสันดอนเจ้าพระยา รวมถึงพิจารณาหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มประเภทของสินค้าที่ต้องชำระค่า Cargo Dues ให้สอดคล้องกับสัดส่วนต้นทุนของสินค้า

4.  รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับทื่ 34 บาท

5.  ขอให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาช่วยเหลือหาทางออกให้กับอุตสาหกรรมน้ำตาลส่งออก จากกรณีที่เวียดนามเปิดไต่สวนการทุ่มตลาดและอุดหนุน (AD/CVD) ตามข้อเรียกร้องจากสมาคมน้ำตาลและอ้อยเวียดนาม (VSSA) และผู้ผลิตน้ำตาลในประเทศ

6. ขอให้คงระดับการโค่นไม้ยางพารา 4 แสนไร่ต่อปี ตามนโยบายเดิม จากกรณีที่กระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายการลดการโค่นไม้ยางพาราจาก 4 แสนไร่ต่อปีเป็น 2 แสนไร่ต่อปี ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ไม้ยางพาราเป็นหลัก

7. ขอผ่อนผันให้รถยนต์ผลิตเพื่อส่งออกสามารถวิ่งบนทางสาธารณะโดยไม่มีป้ายทะเบียนจากจุดพักรถในโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังไปยังท่าเรือแหลมฉบังเพื่อส่งออก โดยขอเสนอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 8 เรื่องรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน ให้ครอบคลุมรถยนต์ที่ผลิตเพื่อการส่งออกและออกประกาศกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจน รวมถึงขอให้แก้ไขปัญหาเรื่องความสูงรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์แบบ High Cube และความสูงรถ Car Carrier โดยขอให้แก้ไขความสูงของรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์สำหรับบรรจุสิ่งของขนาด High Cube (HC)  และรถบรรทุกรถยนต์ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 18 ให้เป็น 4.6 และ 4.8 เมตร ตามลำดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad