งาน “Coaching DNA of Leaders” หรือ การสร้างภาวะผู้นำในยุคปกติใหม่ด้วยการโค้ช - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

งาน “Coaching DNA of Leaders” หรือ การสร้างภาวะผู้นำในยุคปกติใหม่ด้วยการโค้ช

 


มร.ฌอง ฟรองซัวส์ คูแซง โค้ชชื่อดังระดับโลกชี้ การเรียนรู้วิธีการอยู่รอดด้วยตนเอง คือก้าวสำคัญและก้าวแรกๆ ที่จะทำให้เราสามารถดึงศักยภาพของมนุษย์ออกมาได้ แม้ในเงื่อนไขที่มีจำกัดเพียงใดก็ตาม ส่วนสี่ผู้บริหารจากบริษัทชั้นนำและสถานศึกษาชื่อดังของเมืองไทย เผยการ Coaching มีส่วนผลักดันศักยภาพของเยาวชนและพนักงานขององค์กรทุกระดับชั้นให้ก้าวสู่ S-Curve ได้ ที่ผ่านมาการโค้ช ยังช่วยให้หลายบริษัทฝ่ากระแสวิฤกติช่วงเศรษฐกิจตกต่ำที่สุด ของการระบาด COVID-19 

          วิทวัส เกษมวุฒิ ประธาน สมาคมสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ สาขากรุงเทพฯ (ICF-Bangkok Chapter) และคณะกรรมการ สมาคมสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ สาขากรุงเทพฯ จัดงาน Coaching DNA of Leaders หรือ การสร้างภาวะผู้นำในยุคปกติใหม่ด้วยการโค้ช ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรม เอส 31 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ เพื่อเสนอวาระให้ผู้นำระดับประเทศ ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ และเอกชน ผู้นำในหน่วยงาน ผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนอาจารย์ผู้ปกครอง เห็นคุณค่าของสมรรถนะการโค้ช Coaching DNA ให้กับผู้นำทุกระดับเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม(Collaboration)  การฟื้นตัว(Resilience) และการปรับตัวอย่างรวดเร็ว(Agile)  พร้อมนำพาประเทศไทยขึ้นสู่ยอดบนของ S-Curve ใหม่  

          ภายในงานเปิดงานด้วยการบรรยาย โดย มร.ฌอง-ฟรองซัวส์ คูแซง Immediate Past Chair จาก ICF Professional Coach Global Board  ซึ่งทำงานด้านการโค้ชมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะผู้บริหารในกลุ่มบริษัท Fortune – 500  มีประสบการณ์การโค้ชถึง 12,000 ชั่วโมง และยังเดินทางไปทั่วโลกเพื่อทำงานร่วมกับทีมผู้บริหารมาแล้วนับไม่ถ้วน มร.ฌอง-ฟรองซัวส์อาศัยประสบการณ์จากการทำงานในระดับโลกอธิบาย เทรนด์โลกหรือแนวโน้มในภาพใหญ่ที่การโค้ชกำลังเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ  ซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพตั้งแต่ระดับเยาวชน มร.ฌอง-ฟรองซัวส์ เล่าในแง่มุมที่น่าสนใจหลายด้าน เช่น การเปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลอง เรียนรู้วิธีปีนต้นไม้ด้วยตนเองซึ่งเป็นไปได้ หากผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองคอยสนับสนุนอยู่ห่างๆ หรือวิธีการดึงศักยภาพของเยาวชนโดยยกตัวอย่าง 


ชีวิตวัยเยาว์ของนักร้องและนักแต่งเพลงผู้พิการทางสายตาชื่อดังอย่าง Ray Charles  และชวนให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเห็นว่า การที่แม่ของRayแข็งใจ ไม่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือในขณะที่ลูกชายตาบอดตัวเล็กๆ ร่ำไห้ขอความช่วยเหลือนั้น คือการฝึกให้เรียนรู้วิธีการอยู่รอดด้วยตนเอง เป็นก้าวสำคัญที่สามารถดึงศักยภาพของมนุษย์ออกมาได้ แม้อยู่ในเงือนไขที่จำกัดเพียงใดก็ตาม 

          ต่อจากนั้นเป็นคิวการเสวนาประสบการณ์ผู้นำจากภาคการศึกษา และภาคเอกชนโดยวิทยากรรับเชิญจากองค์กรชั้นนำของเมืองไทย ประกอบด้วย ดร.ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส Sustainable Development บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด, ดร.ลักคณา วรศิลป์ชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คุณพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) , คุณธรรมศักดิ์ จิตติมาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท จำกัด (มหาชน) โดยมี โค้ชเบคกี้-รมิดา รัสเซลล์ มณีเสถียร กรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในฐานะกรรมการฝ่ายการตลาด สมาคมสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ สาขากรุงเทพฯ เป็นผู้ดำเนินการเสวนาในครั้งนี้ 

          ทางด้านดร.ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส Sustainable Development บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กล่าวถึงการสร้างผู้นำภายในองค์กรของแต่ละบริษัท โดยการนำเอาวิธีการโค้ช มาใช้ว่า กระบวนการโค้ชจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันการศึกษาไทยไปในทางใดทางหนึ่ง แผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการศึกษาใหม่บอกว่า ครูต้องเปลี่ยนจากเดิม ครูต้องเป็นโค้ชด้วย ครูคนหนึ่งจะสอนหลายวิชาเป็นไปไม่ได้ เราต้องเปลี่ยนครูให้ทำหน้าที่อำนวยการให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ที่ปรึกษาของกลุ่มเซ็นทรัลฯ บอกว่าการศึกษาด้วยวิธีเดิมๆ เป็นไปไม่ได้แล้ว ในกรรมการวางแผนยุทธศาสตร์ชาติเราเสนอกระทรวงศึกษาเรื่องการปรับบทบาทให้ครูเป็นโค้ช เราออกไปทำ training teacher to coach ให้แต่ละโรงเรียนส่งตัวแทนครูมา 3  ท่าน แต่ก็มีอุปสรรคเพราะครูส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าโค้ชคืออะไร พอเรากลับสิ่งที่อบรมไปถูกกลืนไปกับระบบของมันเอง เราได้บทเรียนและสรุปร่วมกันว่า เราต้องอบรมครูทุกคนในโรงเรียน โดยเฉพาะผู้อำนวยการให้มีความรู้เรื่องการโค้ช ไม่ใช่ว่าครูทุกคนสามารถเป็นโค้ช แต่อย่างน้อยให้รู้ว่าการโค้ชคืออะไร ให้เข้าใจวัฒนธรรม รู้ถึงคุณค่าของมัน ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงเยอะ การให้ครูสอน แล้วนักเรียนทำตามแบบเดิมๆนั้น ทำไม่ได้แล้ว ครูต้องทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการแสดงโดยให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการคิด  ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งนี้มันหยุดไม่ได้ เพราะนี่คืออนาคตของชาติ นี่คืออุปสรรคที่เราต้องกรุยทาง  


สำหรับ ดร.ลักคณา วรศิลป์ชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พูดถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ทำให้การศึกษาต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยนั้น ว่า  ตนจบปริญญาเอกด้านบริหาร เพิ่มเติมด้านการให้คำปรึกษาด้านอาชีพ(Career Counseing) และวันนี้อยากเรียนเป็นโค้ช เพื่อทำหน้าที่เป็นโค้ชในวงการศึกษา เพื่อเป็นการวางแผนอนาคตให้กับเด็กไทย เรื่องการแนะแนว เราจะต้องสร้างระบบการแนะแนวให้มีคุณภาพ เป็นการให้คำปรึกษาด้านอาชีพ(Career Counseing)น วันนี้ระบบการศึกษาและเส้นทางอาชีพ (education and career) ทั้งระบบล้มเหลว ตนอาสาไปวางระบบให้โรงเรียน ไปพบผู้ปกครอง เพื่อบอกผู้ปกครองว่า อย่าไปบังคับลูก ให้ลูกเลือก  

          ดร.ลักคณา ยังเสริมว่าการศึกษาไทยยังต้องการสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้ หากประเทศไทยจะก้าวขึ้นสู่ S-Curve อาทิ การศึกษาโดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษา ควรพูดถึงการเรียนรู้บนพื้นฐานของสมรรถนะและทักษะของผู้เรียน ไม่ใช่การสอนสิ่งที่ตนเองต้องการสอน ,การศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือปริญญาไม่จำเป็นจริงหรือไม่ ที่จริงสิ่งที่ต้องการคือระบบนิเวศ (Ecosystemของการศึกษา ,วางแผนการเรียนอย่างมีเป้าหมาย จัดให้มี ผู้เชี่ยวชาญการวางแผนอาชีพ (Career expert) เพราะมีความสำคัญต่อระบบการศึกษาทุกระดับ  ,ต้องเข้าใจว่าครูไม่จำเป็นต้องเก่งกว่าเด็ก เพียงแค่ปรับบทบาทของตัวเองให้เป็นโค้ชมากขึ้น การศึกษาจะมีลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life–Long Learningค่อยๆ ทยอยเรียนรู้ใช้ระบบคลังหน่วยกิต (credit Bank) จะไม่กำหนดให้เด็กต้องเรียนจบภายในระยะเวลาที่กำหนด การเรียนจะต้องมีการปฏิบัติจริง และทิศทางการเรียนรู้จะมีบทเรียนที่สั้นกะทัดรัด เฉพาะเจาะจงตามความสนใจ (Micro Learning

ส่วคุณพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล รองกรรมการผู้จัดการบริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือ CPF กล่าวเสริมว่า CPF เป็นบริษัทที่มีทรัพยากรบุคลเยอะมาก ทั่วโลก 120,000 คน เฉพาะในประเทศไทย 75,000 คน เวลาจะเปลี่ยนแปลงอะไร ทุกอย่างจึงต้องเป็นระบบ การนำเอาวิธีการ coaching เข้ามาใช้จึงช่วยได้เยอะมาก คนที่อยู่กับองค์กรมาจนถึงอายุ 70-80 ปี องค์ความรู้มันใช้ไม่ได้ จะต้องเปิดให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วม จะต้องดึงพลังของคนสองกลุ่มนี้ จะทำอย่างไรให้เข้ากันได้กับเด็กรุ่นใหม่ กระบวนการของการโค้ชสำคัญมาก เรามีกระบวนการโค้ชที่สร้างขึ้นมาเรียกว่าเถ้าแก่ ให้โอกาสเด็กจบใหม่ ให้เงินทุน ให้จับกลุ่มทำงาน ให้อิสระในการตัดสินใจ มีระบบการติดตามผล และมี sponsor คอยประกอบ แต่ห้ามชี้นำ ห้ามสั่ง เพราะหากให้คนรุ่นเก่าคอยบอกจะได้กระบวนคิด (paradigm) แบบเดิม ปรากฏว่า มี business หนึ่ง รายได้เติบโตขึ้นถึง 2.6 เท่า margin ก็เพิ่มขึ้นเยอะมากด้วย

และคุณธรรมศักดิ์ จิตติมาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท จำกัด หรือ FN กล่าวถึงประสบการณ์ที่นำเอาวิธีการ Coaching เข้ามาช่วยในการบริหารงานว่า ช่วง COVID-19 ระบาด หลายท่านประสบปัญหา FN ก็เป็นหนึ่งในนั้น ความที่เราเป็น outlet จึงถูกสั่งปิดรายได้ในช่วงนั้นเป็นศูนย์ ผู้บริหารคิดไม่ออก แต่ผู้ถือหุ้นที่จ้างเรามาบริหารงาน เราเอางบดุลต่างๆ มากางให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเรามีแผน  จากนั้นเราบอกพนักงานว่าเราไม่มีการให้เลย์ออฟ พนักงานดีใจที่สุด แล้วจะให้พนักงานทำอะไรเค้าก็พร้อมที่จะทำตามที่เราแนะนำ และสุดท้ายคือเรายังดูแลลูกค้าเราอยู่ ด้วยการ Live ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เปิดช่องให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงเราให้ได้มากที่สุด ผู้บริหารไม่เคยขายสินค้าผ่านการ Live  เราต้องทดลองทำก่อนมีผู้บริหารบางคนเคยทำก็แนะนำจนมั่นใจ หลังจากนั้นเราก็ค่อยให้พนักงานลงมือทำบ้าง ช่วงแรกเรารับปากกับพนักงานขายที่เก่งๆ ว่าไม่มีเป้าหรือยอดขายใดๆทั้งสิ้น เขาสบายใจ เริ่มมั่นใจ จากวันนั้นเราทำรายได้เป็น 10 ล้านบาทเลย หยุดไม่ได้แล้ว และยัง Live ขายของจนถึงทุกวันนี้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad