กกร.แนะลูกหนี้ SME ติดต่อธนาคารเจ้าหนี้พร้อมดูแลอย่างทั่วถึง - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563

กกร.แนะลูกหนี้ SME ติดต่อธนาคารเจ้าหนี้พร้อมดูแลอย่างทั่วถึง

 


คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน สถาบัน (กกร.) โดย นายกลินท์ สารสิน ประธาน

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ร่วมแถลงข่าวโครงการพักชำระหนี้  ที่โรงแรมคอนราด

 

จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไรวัสโคโรนา (COVID-19) ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ภาครัฐโดยกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ หนึ่งในมาตราการที่ออกคือ มาตรการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เดือน โดยลูกหนี้ต้องมีคุณสมบัติคือ

  1. เป็นหนี้ที่ยังชำระปกติ หรือ ค้างไม่เกิน 90 วัน ณ 31 ธันวาคม 2562
  2. วงเงินของทุกบริษัทในกลุ่มที่มีกับสถาบันการเงินเดียวกัน ไม่เกิน 100 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562

ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อให้ธุรกิจ เอสเอ็มอี สามารถปรับตัวจากผลกระทบและก้าวผ่านวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนี้ไปได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 22 ตุลาคม 2563

ตามข้อมูลที่ได้รับจากธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรการพักชำระหนี้นี้ ช่วยให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบและสมัครใจเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 1.05 ล้านบัญชี เป็นยอดหนี้ประมาณ 1.35 ล้านล้านบาท ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการได้เตรียมพร้อมและปรับตัว เป็นการให้เวลากับธุรกิจของลูกหนี้ ธนาคารเจ้าหนี้ได้มีเวลาในการศึกษาผลกระทบของลูกหนี้แต่ละรายและกำหนดแผนการชำระหนี้ให้เหมาะสอดคล้องกับแผนธุรกิจ กระแสเงินสดภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบเศรษฐกิจที่จะสามารถข้ามผ่านผลกระทบดังกล่าวไปได้

จากข้อมูลล่าสุดที่ได้รับจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ลูกหนี้ที่เข้าข่ายในการเข้าร่วมโครงการสามารถแบ่งออกได้เป็น กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มที่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติหลังหมดมาตรการ ซึ่งธนาคารประเทศไทย ประมาณว่ามีถึงร้อยละ 60 กว่า ของยอดหนี้ที่เข้าข่ายในการเข้าร่วมโครงการ
  2. กลุ่มที่สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจแต่ยังไม่ฟื้นตัว ซึ่งหลังหมดโครงการธนาคารแห่งประเทศไทย จะให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งธนาคารประเทศไทย ประมาณว่ามี ร้อยละ 20 กว่า ของยอดหนี้ที่เข้าข่ายในการเข้าร่วมโครงการ
  3. กลุ่มที่ยังไม่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ ซึ่งหลังหมดโครงการ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้พิจารณาขยายระยะเวลาการชำระหนี้เป็นรายกรณี ได้อีกไม่เกิน เดือน นับจากสิ้นปี 2563 ซึ่งธนาคารประเทศไทย ประมาณว่ามี ร้อยละ 10 ของยอดหนี้ที่เข้าข่ายในการเข้าร่วมโครงการ
  4. กลุ่มที่ขาดการติดต่อกับสถาบันการเงิน ซึ่งคาดว่ามีประมาณร้อยละ ของยอดหนี้ที่เข้าข่ายที่สามารถเข้าร่วมโครงการ

จากข้อมูลข้างต้นประกอบกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศให้สถาบันการเงินคงสถานการณ์จัดชั้นลูกหนี้ถึงสิ้นปี 2563 สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ เพื่อช่วยไม่ให้ลูกหนี้กลายเป็น NPL ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้สถาบันการเงินเร่งดำเนินการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงปรับมาตรการจากการขยายการพักชำระหนี้ซึ่งสิ้นสุดลงในวันที่ 22 ตุลาคม 2563 นี้ เป็นมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เชิงรุกและตรงจุดที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกหนี้แต่ละราย

 

เพื่อให้ทราบว่ามีภาคธุรกิจไหนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ พร้อมเปิดช่องทางให้ลูกหนี้ที่มีปัญหาในการติดต่อสถาบันการเงินหรือยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันกับสถาบันการเงินได้ สามารถแจ้งความต้องการที่จะปรับโครงสร้างหนี้ ไปยังสถาบันการเงินผ่านเว็บไซด์ ทางด่วนแก้หนี้” ตลอด 24 ชม หรือที่ศูนย์ประสานงานของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (หมายเลขโทรศัพท์ 023451000) หรือ ศูนย์ประสานงานของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (หมายเลขโทรศัพท์ 020186888 ต่อ 3520,3540) ตามที่ผู้ประกอบการเป็นสมาชิกอยู่ เพื่อประสานงานกับสมาคมธนาคารไทยและธนาคารเจ้าหนี้ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad