นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมเปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2566 อยู่ที่ระดับ 94.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 92.5 ในเดือนพฤษภาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของค่าดัชนีฯ พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกองค์ประกอบ ทั้งดัชนีฯ คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ทั้งการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ภาคก่อสร้างขยายตัวโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์และโครงการภาครัฐ นอกจากนี้การอ่อนค่าของเงินบาท และอัตราค่าระวางเรือที่ลดลงช่วยสนับสนุนภาคการส่งออก
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่ อปัญหาหนี้ครัวเรือนที่กดดั นกำลังซื้อในประเทศ ขณะที่ภาคการส่งออกยังคงชะลอตัว เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่อ่ อนแอลงโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อาเซียนและยุโรป ตลอดจนปัญหาความขัดแย้งทางภูมิ รัฐศาสตร์โลกโดยเฉพาะสงครามรั สเซีย – ยูเครน ยังกดดันราคาพลั งงานโลกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ ยของสหรัฐฯ ยังเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิ จการเงินโลก
สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 102.1 ปรับตัวลดลง จาก 104.3 ในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกั งวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมื องและความชัดเจนในการจัดตั้งรั ฐบาล ตลอดจนการชะลอตัวของเศรษฐกิ จโลกรวมถึงความไม่แน่ นอนของเศรษฐกิจจีนส่งผลกระทบต่ อภาคการส่งออก รวมถึงวิกฤตภัยแล้งที่เกิ ดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลกระทบภาคเกษตรและภาคอุ ตสาหกรรม
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ
1) ขอให้ภาครัฐพิจารณาปรับลดค่ าไฟฟ้างวด 3/2566 (เดือนกันยายน - ธันวาคม 2566) ลงมาอยู่ที่ 4.25 บาท/หน่วย เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กั บผู้ ประกอบการและบรรเทาผลกระทบจากเศ รษฐกิจที่ชะลอตัว
2) เสนอให้ภาครัฐปรับเพิ่มเที่ ยวบิ นและการอำนวยความสะดวกในการเดิ นทางของนักท่องเที่ยว โดยให้ความสำคัญกับเรื่ องความปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ ผู้ประกอบการไทยสามารถโปรโมทสิ นค้าไทยไปยังกลุ่มนักท่องเที่ ยวต่างชาติผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยสนับสนุนสินค้าอุ ตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอุ ตสาหกรรมท่องเที่ยว
3) เสนอให้ภาครัฐเตรียมมาตรการรั บมือสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้ นจากปรากฏการณ์เอลนีโญรวมถึงมี แผนบริหารจัดการน้ำอย่างเพี ยงพอต่อภาคเกษตรและอุตสาหกรรม
4) ขอให้ภาครัฐดู แลและบรรเทาผลกระทบจากราคาสินค้ าและค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดั บสูง
ทั้งนี้ ส.อ.ท. ได้ทำการรวบรวมข้อมู ลผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่ นภาคอุตสาหกรรม และข้อมูลตัวชี้วัดทางเศรษฐกิ จและอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่างๆ ย้อนหลัง 3 ปี จัดทำเป็น Dashboard เผยแพร่ในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมู ลภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม Industry Data Space (iDS) ของ ส.อ.ท. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ ประกอบการและบุคคลทั่วไปให้ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็ นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถเข้าไปใช้บริการข้อมู ลดังกล่าวได้ที่ www.fti.or.th/ids
ส.อ.ท. มุ่ง “เสริมสร้างความเข้มแข็งให้อุ ตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่ าเดิม (Strengthen Thai Industries for Stronger Thailand)”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น