พิษณุโลก 4 สิงหาคม 2566 -
กรมชลประทาน จัดงานแถลงข่าว
“ความก้าวหน้าโครงการประตูระบายน้ำท่านางงาม จังหวัดพิษณุโลก” โดยมี
นายสิริพล รักษนาเวศ ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางให้เกียรติเป็นประธาน และลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้
าโครงการ เผยความคืบหน้าการดำเนินการก่
อสร้างแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำหรับประตูระบายน้ำ (ปตร.) ท่านางงาม เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจั
ดการน้ำของกรมชลประทานในเขตจั
งหวัดพิษณุโลกและพิจิตร ที่ได้ดำเนินการก่อสร้างประตู
ระบายน้ำในลุ่มน้ำยมตอนล่างรวม 4 แห่ง ได้แก่ ปตร.ท่านางงาม ปตร.ท่าแห ปตร.วังจิก และปตร.โพธิ์ประทับช้าง ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 2 แสนไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มแหล่
งเก็บกักน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ
ยมตอนล่าง บรรเทาความเดือดร้อนทั้งปัญหาอุ
ทกภัยและภัยแล้ง ตลอดจนเตรียมความพร้อมในการรั
บมือกับผลกระทบของปรากฏการณ์
เอลนีโญในประเทศไทยได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
นายสิริพล รักษนาเวศ ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กล่าวว่า “เนื่องจากประชาชนในพื้นที่จั
งหวัดพิษณุโลกส่วนใหญ่
ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกข้าว การพัฒนาแหล่งน้ำจึงเป็นปัจจั
ยหลักในการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุ
นให้แก่เกษตรกร แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่ตอนล่
างของแม่น้ำยมซึ่งเป็นแม่น้ำ
สายหลัก มีลักษณะที่ไม่เอื้ออำนวยต่
อการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทานจึงวางแผนการก่อสร้
างประตูระบายน้ำตลอดช่วงแม่น้ำ
ยมตอนล่างรวม 4 แห่ง ได้แก่ ปตร.ท่านางงาม ปตร.ท่าแห ปตร.วังจิก และปตร.โพธิ์ประทับช้าง เพื่อช่วยแก้ไขปั
ญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้
งที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุ
กปี อีกทั้งยังช่วยชะลอน้ำในการผั
นน้ำเข้าแก้มลิงต่างๆ ในช่วงน้ำหลาก เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและป้
องกันการกัดเซาะตลิ่งบ้านเรื
อนของราษฎรได้อีกด้วย หากดำเนินการก่อสร้างประตู
ระบายน้ำทั้ง 4 โครงการนี้แล้วเสร็จ นับเป็นอีกหนึ่งหลักชั
ยความสำเร็จของการบริหารจั
ดการน้ำของกรมชลประทาน ซึ่งมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิ
ตของราษฎรในพื้นที่ให้มีความเป็
นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ โดยได้กำหนดแผนการก่อสร้างทั้ง 4 โครงการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2568 เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์
โดยเร็วที่สุด”
สำหรับโครงการประตูระบายน้ำท่านางงาม ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นประตูระบายน้ำอาคารคอนกรี
ตเสริมเหล็กชนิดประตูเหล็
กบานโค้งจำนวน 5 บาน สามารถเก็บกักน้ำในแม่น้ำ
ยมและลำน้ำสาขาได้ประมาณ 11.10 ล้าน ลบ.ม. ระยะเวลาในการก่อสร้าง 5 ปี (ปี พ.ศ. 2562 – 2566) ครอบคลุมพื้นที่รับประโยชน์
ประมาณ 51,375 ไร่ ประชาชนได้ประโยชน์กว่า 2,568 ครัวเรือน ปัจจุบันดำเนินการเกือบแล้วเสร็
จ แต่สามารถใช้ในการบริหารจั
ดการน้ำได้แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้
งโครงการในปี พ.ศ. 2566 นี้
“นอกจากนี้ กรมชลประทาน ยังได้วางแผนรับมือปรากฏการณ์
เอลนีโญ ซึ่งคาดว่าจะทำให้เกิดความแห้
งแล้งและอากาศร้อนจัดในภูมิ
ภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่
าปรากฏการณ์เอลนีโญจะยืดเยื้อต่
อเนื่องและมีความรุนแรงเพิ่
มมากขึ้นไปจนถึงราวกลางปี พ.ศ. 2567 ฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องวางแผนบริหารจั
ดการน้ำในระยะยาว เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในกิจกรรมต่
างๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด พร้อมกันนี้ ยังได้ให้หน่วยงานท้องถิ่น และภาคประชาชน จัดหาแหล่งเก็บกักน้ำ หรือภาชนะสำหรับเก็บกักน้ำไว้
ใช้ในครัวเรือนให้ได้มากที่สุด จนกว่าจะถึงฤดูฝนปีหน้า ที่สำคัญต้องขอความร่วมมือทุ
กภาคส่วนร่วมกันใช้น้ำอย่
างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อปั
ญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้
นได้จากผลกระทบของปรากฏการณ์
เอลนีโญ”
นายสิริพลฯ กล่าวในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น