The Grudge ; บ้าน ผี ดุ !!! 13 กุมภาพันธ์ ทุกโรงภาพยนตร์ - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

The Grudge ; บ้าน ผี ดุ !!! 13 กุมภาพันธ์ ทุกโรงภาพยนตร์


ผู้อำนวยการสร้างแซม ไรมีนำเสนอภาพยนตร์สยองขวัญคลาสสิกในรูปแบบใหม่
               
                ในตอนที่ใครซักคนตายภายใต้แรงอาฆาต...คำสาปก็จะถือกำเนิด
                คำสาปจะรวมตัวกันในสถานที่แห่งความตาย
                ผู้ใดที่พบเจอมันจะถูกกลืนกินด้วยความโกรธขึ้งของมัน

                THE GRUDGE กำกับโดยนิโคลัส เพช นำแสดงโดยแอนเดรีย ไรส์โบโรห์, เดเมียน บิเชียร์, จอห์น โช, เบ็ตตี้ กิลพิน ร่วมด้วยลิน เชย์และแจ็คกี้ วีฟเวอร์ ด้วยบทภาพยนตร์โดยนิโคลัส เพชและเรื่องราวโดยนิโคลัส เพชและเจฟฟ์ บูห์เลอร์ THE GRUDGE มีเค้าโครงจากภาพยนตร์เรื่อง “Ju-On: The Grudge” ที่เขียนบทและกำกับโดยทาคาชิ ชิมิซึ THE GRUDGE อำนวยการสร้างโดยแซม ไรมี, ร็อบ ทาเพิร์ทและทากะ อิจิเสะ ควบคุมงานสร้างโดยนาธาน คาเฮน, เอริน เวสเตอร์แมน, เบรดี้ ฟูจิคาวะ, แอนดรูว์ เฟเฟอร์, รอย ลี, ดั๊ก เดวิสัน, จอห์น พาวเวอร์ส มิดเดิลตันและชูเลอร์ ไวส์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการจัดเรท R โดยสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งอเมริกาสำหรับความรุนแรงที่สั่นประสาทและภาพนองเลือด ความสยดสยองและถ้อยคำหยาบคาย


                                                                                                

เกี่ยวกับ The Grudge
                สิบห้าปีผ่านมาแล้วนับตั้งแต่ตอนที่ แซม ไรมี (A Simple Plan, Spider-Man, Drag Me to Hell) หนึ่งในผู้อำนวยการสร้าง/ผู้กำกับที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของอเมริกา ได้ทำให้ผู้ชมชาวอเมริกันรู้จัก The Grudge มาตอนนี้ ผู้สร้างแฟรนไชส์ Evil Dead ก็รู้สึกตื่นเต้นที่ได้กลับมาสู่หนึ่งในเรื่องราวโปรดของเขาในเวอร์ชันเรท R “ตอนที่เราสร้างภาคต้นฉบับขึ้นมาในปี 2004” ไรมีกล่าว “ความสยองขวัญยังอยู่ด้านนอก และมันก็ยังคงเป็นหนังสำหรับผู้ชมเฉพาะกลุ่ม แต่ตอนนี้ มันก้าวสู่ความเป็นกระแสหลักแล้ว” ภาพยนตร์อเมริกันปี 2004 มีเค้าโครงจากภาพยนตร์สยองขวัญสัญชาติญี่ปุ่นเรื่อง Ju-on: The Grudge ที่กำกับโดยทาคาชิ ชิมิซึ ซึ่งเอาชนะใจ (และขู่ขวัญ) คอภาพยนตร์สยองขวัญในญี่ปุ่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นอย่างมาก จนในหนึ่งปีให้หลัง ไม่เพียงแต่จะมีการสร้างซีเควลออกมาเท่านั้น แต่มันยังกระตุ้นความสนใจจากไรมีที่จะให้ชิมิซึนำเสนอมันสู่ผู้ชมชาวอเมริกันด้วย  “หนังเรื่อง Grudge ของทาคาชิประสบความสำเร็จอย่างมากในญี่ปุ่น” ไรมีเล่า “และผมก็รักแฟรนไชส์ของเขามาก ผมอยากให้ผู้ชมอเมริกันได้ดู The Grudge ครับ”
                ไรมีกล่าวว่า นี่เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะกลับคืนสู่แฟรนไชส์นี้อีกครั้ง โดยเฉพาะด้วยความที่เขาเล่าให้ฟังว่า ผู้ชมมักจะเรียกร้องความตื่นเต้นของ Grudge แบบเรท R จากเขาบ่อยๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา “แฟนๆ จำนวนมากอยากจะดู Grudge อีกครับ” เขากล่าว “แต่เราคิดว่าเราไม่สามารถจะสร้างมันขึ้นมาได้อีกจนกว่าเราจะมีเสียงที่เหมาะสมในการบอกเล่าเรื่องราวน่ะครับ”
                เสียงนั้นเป็นของนิโคลัส เพช ผู้เรียนโรงเรียนมัธยมในตอนที่เขาได้ดูภาพยนตร์เรื่อง Grudge ในปี 2004 “ตอนอายุขนาดนั้น ผมขี้กลัวมากครับ หนังสยองขวัญทำผมกลัวจนหัวหดเลย” เขายอมรับ ด้วยความที่เขาโตมากับภาพยนตร์สยองขวัญขาวดำแบบคลาสสิก แต่หลังจากเข้าศึกษาในโรงเรียนภาพยนตร์ เขาก็ตระหนักว่าสิ่งที่ทำให้เขาตื่นเต้นไม่ใช่ภาพยนตร์อาร์ตที่ถูกฉายในห้องเรียน แต่เป็นภาพยนตร์สยองขวัญ “ข้อเท็จจริงที่ว่าหนังสามารถทำให้คุณกลัวที่จะเข้านอนในหลายวันให้หลังเป็นเรื่องเจ๋งมาก” เขาเล่า
                เพชได้นำ Eyes of My Mother ภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา เข้าฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ในเดือนมกราคม ปี 2016 ร็อบ ทาเพิร์ท หุ้นส่วนการอำนวยการสร้างของไรมี และผู้อำนวยการสร้างรอย ลี (Godzilla: King of the Monsters) ได้ดูภาพยนตร์เรื่องนั้น และได้พบกับผู้กำกับหน้าใหม่ผู้นี้ “ผมก็ไปประชุมตามปกติอย่างที่คุณทำกันที่นั่น” เพชเล่าและลงเอยด้วยการได้พบกับลี “ผมกำลังพล่ามเกี่ยวกับความรักที่ผมมีต่อแฟรนไชส์ Grudge ซึ่งผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพวกเขากำลังพยายามสร้างภาคใหม่กันอยู่!” แม้ว่าบทร่างภาพยนตร์ก่อนหน้านี้จะถูกเขียนโดยมือเขียนบทเจฟฟ์ บูห์เลอร์ แต่ลีก็รู้สึกประทับใจเป็นพิเศษกับความเข้าใจที่เพชมีต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ในฐานะเรื่องราวแอนโธโลจี้ ซึ่งติดตามตัวละครต่างๆ ในสถานที่ต่างๆ ลีบอกเขาว่าจริงๆ แล้ว พวกเขากำลังตั้งใจจะสร้างภาพยนตร์เรื่องใหม่ และถามว่าเขามีไอเดียอะไรบ้างมั้ย “มันเป็นแผนผังเรื่องราวที่เกี่ยวโยงกันอย่างหลวมๆ ที่ห้อมล้อมบ้านหลังนี้ไว้” เพชกล่าว “ดังนั้น เราก็มีโอกาสในแฟรนไชส์นี้ที่จะไม่รีเมกอะไร แต่เพิ่มภาคใหม่เข้าไปในแฟรนไชส์ เป็นบทใหม่ในตำนานนี้ครับ”
                หลังจากที่เซ็นสัญญาเข้าร่วมโปรเจ็กต์ในเดือนถัดมา เพชก็เริ่มพัฒนาเรื่องราว และในลักษณะที่แตกต่างจาก Grudge ภาคก่อนๆ ครั้งนี้ เขามาพร้อมกับเรท R ซึ่งเขาใช้ประโยชน์มันอย่างดี “เราคิดว่าถึงเวลาที่จะผลักดัน  The Grudge ไปยังอีกระดับแล้ว” ไรมีอธิบาย “ความจริงที่ว่านิคสามารถสร้างหนังเรื่องนี้ด้วยเรท R เป็นอาวุธชั้นเยี่ยมในคลังแสงของนักเล่าเรื่อง ผู้มีเป้าหมายในการสร้างความตื่นกลัวให้กับผู้ชม เขาสามารถแสดงภาพที่ผีที่คลั่งแค้นทำอันตรายเหยื่อของพวกเขาจริงๆ และเขาก็สามารถโชว์เลือดบนหน้าจอได้โดยไม่กลัวว่าจะถูกตัดออกน่ะครับ”
                เพชเริ่มปะติดปะต่อเรื่องราวที่ถูกดึงมาจากชีวิตของเขาเอง โดยเฉพาะเรื่องของการเติบโตในย่านชานเมืองของนิวยอร์ก ซิตี้ ในเมืองเล็กๆ ที่มีชื่อว่าครอส ริเวอร์ “ในเมืองเล็กๆ มันจะมีตำนานหรือเรื่องเล่าพื้นบ้าน รู้มั้ย ฉันได้ยินว่าที่บ้านหลังนั้น เรื่องนี้เกิดขึ้นและ คุณได้ยินเรื่องเกี่ยวกับพ่อของคนนั้นคนนี้รึเปล่ามันมีเสน่ห์มาก คุณจะมองเห็นสถานที่สวยงามราวอุดมคติ แต่เบื้องหลังประตู มันกลับเป็นอีกโลกหนึ่ง เรื่องสยองขวัญเกิดขึ้นแม้แต่ในสถานที่ที่หรูหราที่สุด” ดังนั้น เขาก็เลยนำความทรงจำและตำนานเหล่านั้นบางส่วนมาสร้างตำนานเล่าขานของเขาเอง
                สิ่งแรกที่เพชทำคือการนำเรื่องราว Grudge มาอยู่ในผืนแผ่นดินอเมริกาเป็นครั้งแรก ในเมืองเล็กๆ ที่มีชื่อว่า...ครอส ริเวอร์ “มีสิ่งเล็กๆ น้อยๆ บางอย่างที่ทำให้ THE GRUDGE เวิร์ค ที่เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงจริงๆ ของการจัดฉากภายในหนังต้นฉบับ” ผู้ควบคุมงานสร้างชูเลอร์ ไวส์  ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์สองเรื่องก่อนหน้านี้ของเพชกล่าว “และถ้าคุณเล่นภายในกฎพวกนั้น มันก็จะเชื่อมโยงกับหนังที่ถูกสร้างขึ้นมาก่อนหน้านี้ในทันที แต่มันก็ยังทำให้คุณมีอิสระมากมาย ในแง่ของเรื่องราวและตัวละครด้วย”
                เพชกำหนดให้ภาพยนตร์เรื่องใหม่เกิดขึ้นในปี 2004 เป็นการสานต่อเส้นเวลาจากภาพยนตร์อเมริกันเรื่องแรก และทำในสิ่งที่เขาจะทำตลอดโปรเจ็กต์นี้ นั่นคือคือการแสดงความเคารพต่อภาพยนตร์เรื่อง Grudge ที่ผ่านๆ มา “ในภาพยนตร์ปี 2004 โยโกะกำลังเข้าสิงใครซักคน ที่ไม่เคยมีการบอกชื่อ” เขาอธิบาย “เราคิดว่าคงจะสนุกดีถ้าเธอจะเข้าสิงฟิโอนา แลนเดอร์ส” ผู้ที่จะกลับสู่อเมริกา และตอนนี้ แปดเปื้อนไปด้วยคำสาปความแค้น เราได้เห็นฟิโอนาแวบๆ ในตอนเริ่มต้นเรื่อง ที่เธอออกจากบ้านที่เราเห็นในหนังภาคก่อนๆ ในญี่ปุ่น...และเริ่มการ “แพร่เชื้อ” ครั้งใหม่ในอเมริกา ทิ้งบ้านซาเอกิ ที่ต้องคำสาป และท้ายที่สุด ก็ทำให้ลูกสาวของตัวเองจมน้ำ เช่นเดียวกับที่คายาโกะ (ผู้ซึ่งแฟนๆ ตาแหลมสามารถเห็นได้แวบๆ ในฉากเริ่มต้นเรื่อง) ทำกับโทชิโอะ ลูกชายของเธอ
                หนึ่งในแง่มุมสำคัญของการเล่าเรื่องของเพช ซึ่งเขานำมาจากภาพยนตร์ต้นฉบับของชิมิซึ คือการเล่นกับเวลาของเขา แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะเริ่มต้นด้วยการค้นพบศพที่เน่าเปื่อยของลอร์นา มู้ดดี้ของมัลดูนและกู๊ดแมน เรื่องราวก็ตัดสลับไปมาระหว่างช่วงเวลาปัจจุบันและเศษเสี้ยวจากเรื่องราวอื่นๆ (ครอบครัวสเปนเซอร์ ครอบครัวมาธีสันและวิลสัน) “คุณจะได้เห็นเรื่องราวสั้นๆ ที่คุณจะไม่เข้าใจหรอกว่าพวกมันเกี่ยวข้องกันยังไง เรื่องราวที่ถูกตัดทอนที่ในตอนแรกให้ความรู้สึกว่าห่างไกลกัน จนกระทั่งคุณได้ดูหนังทั้งเรื่องครับ” เขาอธิบาย “มันเป็นเหมือนหนังปริศนา มันเป็นเรื่องของการคิดหาคำตอบว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะไปด้วยกันได้ยังไง การเรียนรู้เงื่อนงำจากเรื่องราวของคนอื่นที่อาจจะทำให้คุณเข้าใจอีกเส้นเรื่องหนึ่งน่ะครับ”
                ไวส์ตั้งข้อสังเกตว่า “มันเป็นโอกาสดีๆ ในการสร้างปริศนาขึ้นมา โดยเฉพาะด้วยความที่ตัวละครหลักของเรื่องเป็นนักสืบ พวกเขาก็เลยพยายามจะไขคดีอาชญากรรมนี้ ส่วนเราที่เป็นผู้ชมบางครั้งก็ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ในเรื่องราวอื่นๆ ที่พวกนักสืบก็พยายามจะหาคำตอบเหมือนกัน และขณะที่เราย้อนกลับไปกลับมา เราก็เริ่มเข้าใจว่าจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นที่นี่น่ะครับ” ไรมีกล่าวเสริม “มันเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้มันเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจและมีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นสำหรับผู้ชม มันอยู่ที่พวกเขาที่จะให้ความสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นและปะติดปะต่อสิ่งที่เกิดขึ้นว่าอะไรเกิดขึ้นเมื่อไหร่และใครฆ่าใคร พอถึงตอนจบ พวกเขาก็ไขปริศนาสำเร็จ มันเป็นหนังที่ท้าทายและน่าพึงพอใจที่ได้ดูครับ”
                ในภาพยนตร์ต้นฉบับของชิมิซึ เขาได้แนะนำเรื่องราวของตัวละครแต่ละตัวด้วยบัตรชื่อของพวกเขา ดังนั้น เพชก็เลยทำเช่นเดียวกัน แต่ในรูปแบบที่ละเอียดอ่อนกว่า “เราให้เวลาคุณแค่หนึ่งปีของแต่ละเรื่องราวในตอนที่มันถูกเห็นในครั้งแรก แต่ไม่มีอะไรเลยหลังจากนั้น ดังนั้น ในตอนที่คุณกำลังดูแต่ละเรื่อง คุณก็ต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า เดี๋ยวนะ ตอนที่แล้วเป็นยังไงนะ อ๋อ นั่นเป็นปี 2004 โอเคล่ะผมชอบที่ผู้ชมจะต้องมีส่วนร่วมจริงๆ จังๆ หนังที่ผู้ชมดูเฉยๆ ก็สนุกดีอยู่หรอก แต่เมื่อคุณต้องพยายามไปด้วยกับหนัง ถ้าคุณเต็มใจที่จะพยายาม มันก็จะเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่ากว่าครับ”
The Grudge ใช้ประโยชน์จากประเด็นของตัวละครอย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างเช่น ปีเตอร์อยากจะเป็นพ่อมาก จนตอนที่เขาไปถึงบ้าน Grudge เขาก็เจอกับเด็กสาวที่จมูกเริ่มเลือดไหลออกมา “เราได้เห็นสัญชาตญาณความเป็นพ่อของเขาเริ่มทำงาน” เพชตั้งข้อสังเกต “เขาดูแลเด็กสาวที่พยายามจะตามหาพ่อแม่ของเธอ และนั่นก็เป็นสิ่งที่นำเขาไปสู่ปัญหาครับ”
ไวส์กล่าวว่า โดยส่วนใหญ่แล้ว พวกผีไม่ได้ทำร้ายร่างกายคนจริงๆ “ตัวผีพวกนี้ก็น่ากลัวอยู่แล้ว แต่พวกเขาไม่ได้ทำอะไรกับคนพวกนี้จริงๆ หรอกครับ พวกเขาผลักดันให้คนพวกนี้ไปสู่ความบ้าคลั่งที่ทำให้พวกเขาทำในสิ่งที่เลวร้ายกับตัวเองและคนอื่น ดังนั้น อันตรายที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดในหนังเรื่องนี้คือตัวมนุษย์เอง ช่วงเวลาที่น่าสยดสยอง สะดุดตาและน่าตื่นตะลึงที่สุดคือสิ่งที่ตัวละครพวกนี้ทำกับตัวเองและกับกันและกัน นั่นคือความสยองขวัญของแท้ครับ”

จากผู้สร้าง Don’t Breath และ Evil Dead #TheGrudge 13 กุมภาพันธ์ ในโรงภาพยนตร์ #บ้านผีดุ #บ้านหลอนซ่อนอาถรรพ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad