ฉีดเกล็ดเลือดเพื่อปลูกผม โดย รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผม - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563

ฉีดเกล็ดเลือดเพื่อปลูกผม โดย รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผม

ปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำลายสุขภาพจิตของหลาย ๆ คน ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงก็ประสบปัญหาเหมือนกัน ปกติแล้วโรคผมร่วงผมบาง เป็นโรคที่พบบ่อยมากในผู้ชายพบได้ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ และผู้หญิงพบได้ 50 เปอร์เซ็นต์  ผมร่วงเปรียบเสมือนกระจกส่องสุขภาพ หากมีปัญหาผมร่วง นั่นเท่ากับว่ากำลังมีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ  ด้วย จึงควรจะรีบมารักษาและหาสาเหตุ ปัญหาผมบางศีรษะล้าน ส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรมที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้การจัดการกับปัญหานั้นแลดูจะเป็นเรื่องยาก แต่ด้วยการแพทย์สมัยใหม่ปัญหาทุกอย่าง ย่อมมีทางออกเสมอ เรื่องเส้นผมก็เช่นเดียวกัน

นวัตกรรมการฉีดเกล็ดเลือดเพื่อปลูกผมหรือที่เรียกว่า PRP or Platelet Rich Plasma (พลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้น) เป็นการฟื้นฟูผมให้เส้นหนา และแข็งแรงขึ้น โดยการเจาะเลือดแล้วนำมาปั่นแยกส่วนที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้นออกมา เกล็ดเลือดนอกจากทำหน้าที่หยุดเลือด แล้วยังมีสารโกรท แฟคเตอร์ (growth factor) ต่าง ๆ อยู่เป็นปริมาณมาก เช่น  vascular endothelial growth factor (VEGF), platelet-derived growth factor (PDGF), epidermal growth factor (EGF), insulin-like growth factor-1 (IGF-1), fibroblast growth factor (FGF), transforming growth factor-β1 (TGF-β1) เป็นต้น ซึ่ง growth factors เหล่านี้จะช่วยสร้างและส่งเสริมการสร้างเส้นเลือด กระตุ้นการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์เส้นผม โดยเฉพาะเซลล์เดอร์มอล พาพิลาบริเวณรากผมและสเต็มเซลล์รากผม เซลล์ผิวหนัง เซลล์กระดูก ช่วยให้แผลสมานได้เร็วขึ้น
ด้วยเทคนิคการปั่นแยก PRP ที่จำเพาะ จะทำให้ได้ PRP ที่มีปริมาณเกล็ดเลือดเข้มข้นกว่าเกล็ดเลือดในกระแสโลหิตทั่วไป 3-5 เท่า โดยเกล็ดเลือดเข้มข้นที่เหมาะสมในการใช้รักษาเพื่อการปลูกผม ควรมีปริมาณเกล็ดเลือดประมาณ 1,000,000 หน่วยต่อไมโครลิตร ขั้นตอนการทำเริ่มต้นจากนำผู้ป่วยมาเจาะเลือดจากแขนประมาณ ในปริมาณประมาณ 60-100 ซีซี แล้วนำไปปั่นในเครื่อง centrifuge ด้วยวิธีพิเศษที่เรียกว่า double spin technique แยกนำส่วนที่เรียกว่า PRP มา ซึ่งมีโกรทแฟคเตอร์ปริมาณมาก นำกลับมาฉีดบริเวณหนังศีรษะที่มีปัญหาผมบาง โดยก่อนฉีด PRP จะมีการฉีดยาชาและทำการกระตุ้นหนังศีรษะด้วย derma stamp (micro needling system) ก่อน โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษาด้วย PRP ดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 ครั้ง ติดกันหลังจากนั้นจะมีการติดตามผลการรักษาประมาณ 3 -4 เดือนโดยติดตามการรักษาโดยภาพถ่ายทางคลินิก และภาพถ่ายขยายจากกล้อง dermoscope
ข้อดีหลัก ๆ ของการฉีด PRP เพื่อรักษาผมร่วงผมบาง คือ เป็นนวัตการรมที่ปลอดภัยสูง เนื่องจากไม่ได้มีการใช้สารเคมีอื่นใด มีโอกาสแพ้น้อยมากเพราะเป็นเลือดของตัวเราเอง สามารถกระตุ้นทำให้รากผมของผู้ป่วย หากได้รับการรักษาแบบปกติแล้วไม่ดีขึ้น หรือใช้เป็นการรักษาเสริมเข้ามาเพื่อชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม ช่วยให้ผมกลับขึ้นมาใหม่ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้เมื่อฉีด PRP ร่วมกับการปลูกผม จะช่วยทำให้ผลการปลูกผมดีขึ้น แผลหายเร็วและแผลเป็นน้อยหรือเล็กลง PRP เองยังสามารถใช้ร่วมกับวิธีการรักษาอย่างอื่นได้ เช่น การทำเลเซอร์ ทรีทเมนท์ วิตามินและยา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ผลข้างเคียงอาจมีอาการเจ็บบริเวณที่ฉีด ผิวหนังแดงแสบ หน้าบวมจากการฉีดเข้าหนังศีรษะบ้าง แต่ไม่นานก็หายเป็นปกติ
ประโยชน์ของการทำ PRP นอกจากจะนำมาใช้ในการปลูกผมเพื่อช่วยสร้างความมั่นใจแล้ว เสริมบุคลิกภาพของคนที่เกิดปัญหาด้านเส้นผม ที่เกิดความอับอาย ขาดความเชื่อมั่น มีผลต่ออาชีพการงานและไม่กล้าเข้าสังคม การทำ PRP จึงเป็นทางเลือกใหม่ ในปัจจุบันมีการนำ PRP มาใช้ทางการแพทย์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะในเรื่องของวิทยาศาสตร์การกีฬาฯ  ช่วยให้อาการบาดเจ็บของนักกีฬาหายเร็วขึ้น รวมทั้งอาการ ข้อ เอ็น กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง  ส่วนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อนำ     PRP   มาช่วยทำให้กระดูกติดเร็วขึ้น       แผลหรือเนื้อเยื่อสมานได้เร็วขึ้น  ส่วนในวงการทันตแพทย์ใช้ใช้ PRP ในการฝังรากเทียม แพทย์ผิวหนังใช้ในการทำให้ผิวพรรณอ่อนเยาว์วัย ลบริ้วรอยความเหี่ยวย่นบนใบหน้า 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad