วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิ
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. โดยทีมนักวิจัยได้สั่ งสมประสบการณ์การทำงานร่วมกั บภาคอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมาเป็ นระยะเวลานาน ทั้งการวิจัยการเพิ่มมูลค่ ากากของเสียในภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร มีผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ที่ มาจากการเพิ่มมูลค่ากากอุ ตสาหกรรมที่หลากหลายและมีมูลค่ าสูง พร้อมทีมวิจัยในการร่วม Proof Technology และการประเมินผลกระทบด้านสิ่ งแวดล้อมเปรียบเทียบระหว่ างการนำกากของเสียไปทิ้ง ฝัง กลบ เผา กับการนำมาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิ ตภัณฑ์ใหม่ หรือการเป็นวัตถุดิบสำหรับอีกอุ ตสาหกรรม ซึ่งความร่วมมือของทั้ง 3 หน่วยงานครั้งนี้จะเป็นโอกาสอั นดีที่จะได้ร่วมกันผลักดันการวิ จัยและพัฒนาไปสู่เป้าหมายการใช้ ประโยชน์และเป็นหนึ่งในแนวคิ ดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG
ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการผลั กดันให้เกิดความร่วมมือครั้งนี้ เห็นความสำคัญในการผลักดั นกฎระเบียบ End of Waste ในประเทศไทย ซึ่งการดำเนินการกล่าว สอดรับกับ นโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ให้ความสำคัญในการยกระดั บภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและชุมชน นอกจากนี้ ยังเป็นการหมุนเวียนการใช้ทรั พยากร เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงลดการปลดปล่อยก๊าซเรื อนกระจก เพื่อสนับสนุนสังคมคาร์บอนต่ำ โดยมุ้งเน้นกากของเสียอุ ตสาหกรรมที่มีศักยภาพ 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ชีววัตถุ และ แร่ธาตุพื้นฐาน ควบคู่กับการสร้างความเข้มแข็ งและกระจายรายได้สู่ชุมชน
ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคเอกชนและผู้ ประกอบการ ที่มีสมาชิกทั้งอุตสาหกรรมผู้ก่ อกำเนิดของเสีย (waste generator) อุตสาหกรรมรับขนส่งของเสีย (waste transporter) และอุตสาหกรรมผู้รับบำบัด กำจัดของเสีย (waste processor) และให้ความสำคัญในการนำแนวคิ ดการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวี ยนมากำหนดนโยบายและทิ ศทางการดำเนินงาน ส.อ.ท. จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ ยนของเสีย หรือ Circular Material Hub (CMH) สำหรับเป็นช่องทางการนำของเสี ยหรือวัสดุไม่ใช้แล้วกลับมาใช้ ประโยชน์ใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงานผ่านสตาร์ทอัพ (Startup) โดยอาศัยแนวคิดการเปลี่ยนของเสี ยจากอุตสาหกรรมหนึ่ง ไปสู่การเป็นวัตถุดิบหรือ Materials ให้อีกอุตสาหกรรมหนึ่ง สอดคล้องกับหลักการ End of Waste รวมถึงมีแหล่งทุนอินโนเวชั่นวัน (Innovation one) ที่ได้ร่วมมือกับสำนั กงานคณะกรรมการส่งเสริมวิ ทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำหรับให้ทุนในธีม BCG และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถสนับสนุนในการทำงานวิ จัยร่วมกันเพื่อผลักดันไปสู่ End of waste ได้อย่างรวดเร็ว และเกิดความคล่องตัว ดังนั้น ส.อ.ท. จึงเป็นส่วนสำคัญในการร่วมผลั กดัน End of waste ของประเทศไทยได้ในทุกห่วงโซ่อุ ปทาน (Supply chain)
ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิด 1) การนำกากของเสียอุตสาหกรรมไปเพิ่ มมูลค่า ใช้ประโยชน์ สู่การใช้งานจริง ทั้งในเชิงวิชาการ กิจกรรมผลักดัน งานสัมมนา และการรวมกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง 2) การร่วมวิจัยและพัฒนาการเพิ่มมู ลค่ากากของเสียอุตสาหกรรมเพื่ อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเป็นวัตถุดิบในอีกอุ ตสาหกรรม และเกิดการต่อยอดงานวิจัยสู่ การพัฒนาเชิงพาณิชย์ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดสังคมคาร์ บอนต่ำและยั่งยืน 3) ร่วมพัฒนา และปฏิรูปมาตรฐาน และนำเสนอให้มีการปรับปรุง กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสิ้นสุ ดของการเป็นของเสีย และการใช้วัตถุดิบทุติยภูมิ (Secondary Raw Material) รวมถึงการพัฒนามาตรฐานสำหรับวั ตถุดิบทุติยภูมิเพื่อให้เกิด Circular supplies และ 4) การพัฒนาความร่วมมือ กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่ า (Value Chain) เพื่อให้เกิดธุรกิจที่มี การนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวี ยนมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ธุรกิจวัสดุรีไซเคิล เป็นต้น อันก่อให้เกิดมาตรฐานการยอมรั บทั้งในเชิงเทคนิค ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้ งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ กิจกรรมที่เกิดขึ้นแล้ วจากความร่วมมือครั้งนี้ คือ การจัดงานสัมมนา End of Waste Thailand โอกาสและการผลักดันสู่ความสำเร็ จเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 และการเตรียมดำเนินโครงการนำร่ อง ต้นแบบการเพิ่มมูลค่ากากอุ ตสาหกรรมใน 3 กากอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ โซเดียมซิลิเกตจากขี้เถ้าแกลบ Bone ash จากก้างปลาทูน่า และยิปซั่มบอร์ดจากยิปซั่มสั งเคราะห์
ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมื อในครั้งนี้ ทั้ง 3 หน่วยงาน มุ่งหวังที่จะนำไปสู่การสิ้นสุ ดการเป็นกากอุตสาหกรรม หรือ End of Waste ที่จะนำไปสู่การเกิดอุ ตสาหกรรมที่นำกากของเสียมาเป็ นวัตถุดิบ หรือ ผลิตภัณฑ์ อย่างแพร่หลาย มีมาตรฐาน รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กั บผู้นำไปใช้งาน นำไปสู่สังคมที่มีการหมุนเวี ยนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น