ซีพีเอฟ ยืนยันจัดหาวัตถุดิบปลาป่นถูกต้องตามหลักสากล ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ซีพีเอฟ ยืนยันจัดหาวัตถุดิบปลาป่นถูกต้องตามหลักสากล ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ยืนยันวัตถุดิบปลาป่นทั้งหมดที่บริษัทใช้ในการผลิตอาหารสัตว์น้ำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมาจากการจัดหาที่ถูกกฎหมาย ตามมาตรฐานสากล สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้
 
น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจและศักยภาพของคู่ค้าธุรกิจทั้งในและต่างประเทศในเรื่องหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป้าหมายความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals : UN SDGs)  รวมถึงระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการจัดทำแผนการปรับปรุงพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Plan: FIP) สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก
 
ซีพีเอฟ ได้ประกาศข้อกำหนดการจัดหาปลาป่น (Fishmeal Sourcing Restricitions) เพื่อให้การจัดหาวัตถุดิบทางทะเลของบริษัท ทั้งใน  และต่างประเทศ มีมาตรฐานเดียวกันภายใต้ข้อกำหนดนี้ ปลาป่นซึ่งผลิตจากผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูป (By-product) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO Responsible Sourcing (IFFO RS) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับ Code of Conduct for responsible Fisheries ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยเฉพาะการจัดหาปลาป่นในประเทศไทยในส่วนของ By-Product ได้รับการรับรองว่าเป็นการจัดหาจากแหล่งมีการจัดการอย่างยั่งยืนแล้ว
 
ขณะที่ ปลาป่นซึ่งผลิตจากผลพลอยได้จากการประมงไทย (By-Catch) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล และตรวจสอบได้โดยกลไกตรวจสอบที่มีกฎหมายรองรับจากภาคส่วนต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่หรือผู้แทนจากกรมประมง ผู้ประกอบการ ชุมชนที่เกี่ยวข้อง ผู้บริโภค และนักวิชาการ เป็นต้น
 
สำหรับธุรกิจปลาป่นในประเทศอินเดีย ได้สนับสนุนสมาคมการประมง  บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมประมงและรัฐบาลอินเดีย ในการจัดทำแผนการทำงานเพื่อพัฒนาการทำประมงสู่ความยั่งยืนฉบับแรกตามเป้าหมายปี 2562 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการรณรงค์การอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศอินเดีย ในปัจจุบันแผนของ FIP ได้รับการรับรองจาก IFFO RS IP ซึ่งพร้อมนำมาปฏิบัติได้ทันที โดยจะจัดการอบรมคู่ค้าในธุรกิจปลาป่น รวมถึงชาวประมง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเดินหน้าต่อเนื่อง
 
ส่วนธุรกิจในประเทศเวียดนาม บริษัทเข้าเป็นสมาชิกของโครงการหวุงเต่าเพื่อการพัฒนาประมงอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการวมตัวกันของโรงงานปลาป่นและโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำในจังหวัดบ่าเสียะ-หวุงเต่า เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การทำประมงในประเทศเวียตนามที่มีลักษณะทรัพยากรสัตว์น้ำที่หลากหลาย โดยมีแผนที่จะส่งร่างแผนปฏิบัติการ (Fishery Action Plan : FAP) ให้ IFFO RS พิจารณาในต้นปีหน้า
 
น.สพ.สุจินต์ กล่าวว่า การทำแผน FIP ในอินเดีย และเวียตนาม ซึ่งเป็นเป็นโครงการนำร่องให้ประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุด จำเป็นได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมอาหารประมงเพื่อร่วมกันผลักดันโครงการฯ FIP สู่เป้าหมายการผลิตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารทะเล
 
“ซีพีเอฟ ไม่ได้เป็นผู้ผลิตปลาป่น บริษัทรับซื้อปลาป่นสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสำหรับเลี้ยงกุ้ง และไม่มีธุรกิจเดินเรือหรือเป็นเจ้าของเรือประมง แต่มีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมให้กิจการสัตว์น้ำของบริษัททั่วโลก ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมาย การประมงที่ขาดการรายงาน และการประมงที่ขาดการควบคุม หรือ IUU ให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลเกิดความยั่งยืน” น.สพ.สุจินต์ กล่าวย้ำ
 
ซีพีเอฟ ในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ร่วมมือกับองค์กรทั้งระดับประเทศ และระดับโลก เช่น Seafood Task Force และ Seafood Business for Ocean Stewardship (SeaBOS) เพื่อแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมาย และปกป้องสิทธิของชาวประมง ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ แรงงานทาส และแรงงานบังคับ./
สื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ CPF

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad