วิศวะมหิดล - สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) รวมพลังพัฒนาย่านนวัตกรรมอารีย์ - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564

วิศวะมหิดล - สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) รวมพลังพัฒนาย่านนวัตกรรมอารีย์

 


มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนาย่านนวัตกรรมอารีย์ (Ari Innovation District) ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) โดยมี ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้ลงนาม พร้อมด้วย 16 องค์กรพันธมิตร ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อผลักดันให้ย่านอารีย์เป็นย่านที่บ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรม บนพื้นฐานของเทคโนโลยี ARI (AI, Robotics, and Immersive Technology) 

            รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์  กล่าวว่า ในการพัฒนาย่านนวัตกรรมอารีย์ (ARI Innovation District) มหาวิทยาลัยมหิดล จะร่วมมือกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ 16 องค์กรพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชน ผนึกพลังสร้างสรรค์ให้ย่านอารีย์เป็นพื้นที่พัฒนาธุรกิจนวัตกรรมของวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และเป็นพื้นที่พิเศษด้านนวัตกรรม (Special Economic Zone for Startup) โดยการร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคต ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งแวดล้อม การพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ (Area-Based Innovation) ที่มีศักยภาพของสินทรัพย์ครบ ด้าน คือ ด้านเครือข่าย ด้านเศรษฐกิจ และด้านกายภาพ และสนับสนุนให้ก้าวไปสู่การเป็น เมืองฉลาดรู้ หรือ Cognitive City

            ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะร่วมมือพัฒนาศักยภาพและโอกาสพื้นที่ย่านอารีย์ (พญาไท) ซึ่งนอกจากจะเป็นเสมือนศูนย์รวมของการดำเนินชีวิตที่ครบถ้วน เช่น แหล่งที่อยู่อาศัย ร้านอาหาร การค้า โรงพยาบาล และ Co working Space แล้วยังมีเป็นพื้นที่ซึ่งมีการรวมตัวของบริษัทชั้นนำ ผู้ประกอบการ และทรัพยากรด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) การพัฒนาเครื่องจักรกลขั้นสูง (Robotics) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Immersive) และการเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลด้วยระบบอินเทอร์เน็ต (IoTs) ซึ่งจะเป็น เทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศให้แข็งแกร่งยั่งยืนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad