สรท. คาดส่งออกปี 64 เริ่มฟื้นตัว ร้องรัฐเร่งลดต้นทุนแฝงในการส่งออก - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2563

สรท. คาดส่งออกปี 64 เริ่มฟื้นตัว ร้องรัฐเร่งลดต้นทุนแฝงในการส่งออก


นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข่าวร่วมกับนางจินตนา ศิริสันธนะ เลขาธิการ และนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร ณ ห้องประชุม 1 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ชั้น 32 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ เมื่อวันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563 เวลา 10.30-12.00 น. ระบุการส่งออกเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 19,376 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -6.71% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ ล้านบาท 600,335 หดตัว -4.51% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้าในเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 17,330 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -14.32% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 544,197 ล้านบาท หดตัว -12.37% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ เดือนตุลาคม 2563 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 2,046 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 56,138 ล้านบาท (การส่งออกเมื่อหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย เดือนตุลาคมการส่งออกหดตัวร้อยละ -4.89)


ภาพรวมช่วงเดือนม.ค.-
.. ปี 2563 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 192,372 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -7.26% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทที่ 5,987,376 ล้านบาท หดตัว -7.38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 169,702 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -14.61 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือคิดเป็นมูลค่า 5,350,086 ล้านบาท หดตัว -14.87% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ช่วงเดือน ม.ค.- ต.ค. 2563 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 22,670 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 637,290 ล้านบาท (การส่งออกเมื่อหักทองคำและน้ำมันน้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย เดือนม.. – ต.ค. การส่งออกขยายตัวร้อยละ -8.47)

การส่งออกในเดือนตุลาคม กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวที่ -8.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) โดย สินค้าที่ขยายตัวได้ดีอยู่ คือ น้ำมันปาล์ม อาหารสัตว์เลี้ยง ยางพารา สิ่งปรุงรสอาหาร ผักผลไม้สดแช่แข็งกระป๋องและแปรรูป แต่สินค้ากลุ่มที่หดตัว คือ น้ำตาลทราย ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ขณะที่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวที่ -4.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) โดย กลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขณะที่สินค้ากลุ่มที่หดตัว อาทิ ทองคำ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เป็นต้น


ทั้งนี้ สรท. ปรับคาดการณ์การส่งออกไทยในปี
2563 หดตัวลดลงระหว่าง -7% ถึง -6% และคาดการณ์ ปี 2564 เติบโต 3-5% (ณ ธันวาคม 2563) โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญในปี 2564 คือ 1) ไทยร่วมลงนามไทยความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ครอบคลุมตลาดที่มีประชากรรวมกันถึง 2.2 พันล้านคน ซึ่งคิดเป็น 30% ของประชากรโลก GDP ครอบคลุมถึง 30% ของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 10.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเกือบ 28% ของมูลค่าการค้าโลก ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสใหม่ให้กับผู้ส่งออกด้วย ทั้งนี้ สรท. สนับสนุนการเจรจาในกรอบความตกลงใหม่ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าให้กับประเทศไทย 2) ความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 จากหลายบริษัท อาทิ บริษัทโมเดอร์นา และบริษัทไฟเซอร์ที่ร่วมมือกับไบโอเอ็นเทค ซึ่งมีประสิทธิผลมากถึงร้อยละ 94.5 และ 90 ตามลำดับ เป็นปัจจัยเชิงบวกสำหรับการเจรจาการค้าและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และจะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวกลับมา 3) สินค้ากลุ่มอาหาร และกลุ่มเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ อาทิ ถุงมือยาง และกลุ่มสินค้า work from home ยังมีมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในบางประเทศที่ยังไม่คลี่คลายเท่าที่ควร 4) ระดับราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นกว่าปี 2563 เนื่องด้วยสัญญาณบวกจากความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก จะส่งผลให้มีอุปสงค์การใช้น้ำมันเพิ่มมากขึ้น และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการขยายตัวของการส่งออกในสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ พลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป เป็นต้น และ 5) การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจของประเทศจีน เนื่องด้วยสถานการณ์การควบคุมการระบาดของโควิด-19 อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวและเป็นผลดีต่อการเพิ่มคำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศไทย อาทิ กลุ่มสินค้ายางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เม็ดพลาสติก เป็นต้น   


ขณะที่
ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564 ได้แก่ 1) ค่าเงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จากการแข็งค่าตามทิศทางของสกุลเงินในเอเชีย ส่วนหนึ่งจากชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2020 ของนายโจ ไบเดนจากพรรคเดโมแครตที่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเม็ดเงินมากถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบกับความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา เกิดเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลกลับเข้ามาในตลาดตราสารหนี้และตราสารทุนของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่มาก (emerging market) 2) ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน และค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจาก 2.1) สายเรือมีนโยบายจัดสรรระวางตู้สินค้า (Space Allocation) และจัดสรรตู้เปล่าหมุนเวียน (Container Allocation) กลับไปยังประเทศจีนและเวียดนามมาก เนื่องจากให้อัตราค่าระวางที่สูงกว่าไทย 2.2) การระบาดของ COVID-19 รอบ 2 ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้ตู้สินค้าตกค้างที่ปลายทางเป็นจำนวนมาก ต่อเนื่องให้ปริมาณตู้สินค้าที่ต้องหมุนเวียนกลับสู่ระบบหายไปจำนวนมาก ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงให้อัตราค่าระวางที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3) การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม และผลจากการบังคับใช้ความตกลง EVFTA เป็นปัจจัยดึงดูดการย้ายฐานการผลิตเพื่อการกระจายความเสี่ยงหลังจากนานาประเทศประสบปัญหาไม่สามารถผลิตสินค้าได้ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 จากการพึ่งพาวัตถุดิบจากจีน รวมถึงการเป็นคู่แข่งสำคัญของประเทศไทยในการส่งออกกลุ่มสินค้า อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม สินค้าประมง 4) ต้นทุนแฝงในการประกอบธุรกิจของผู้ส่งออกที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากกฎระเบียบของไทยที่มีความล้าหลัง รวมถึงมีขั้นตอนดำเนินงานที่ไม่จำเป็นที่ค่อนข้างมาก ทำให้ต้นทุนในการประกอบธุรกิจค่อนข้างสูง ทั้งด้านโลจิสติกส์ ค่าธรรมเนียมตั้งแต่ขั้นตอนการตั้งโรงงาน การผลิต ส่งออก ภาครัฐ และธนาคาร เป็นต้น ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนที่สูงเกินไป ซึ่งเป็นการบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออก และ 5) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ที่อาจมีการเริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการในปี 2564  อาทิ มาตรการ Carbon Border Adjustment Taxation เพื่อควบคุมปริมาณการปล่อยคาร์บอนในทุกกระบวนการธุรกิจ รวมถึงหลักเกณฑ์มาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถยนต์ที่เข้มงวดมากขึ้น ที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานเพื่อกระตุ้นการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกไทยในอนาคต

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้

1.    เร่งแก้ไขสถานการณ์ขาดแคลนตู้สินค้าและการปรับขึ้นค่าระวางทุกเส้นทาง

1.1   ข้อเสนอระยะสั้น 1.1.1) ขอให้สายเรือคงอัตราค่า Local Charge เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการไทย 1.1.2) ภาครัฐควรพิจารณามาตรการจูงใจให้สายเรือนำตู้เปล่ามายังประเทศไทย เช่น การยกเว้นค่ายกขนตู้เปล่ากลับมาประเทศไทย การยกเว้นค่าภาระท่าเรือให้กับเรือขนส่งสินค้าเป็นการชั่วคราว เป็นต้น 1.1.3) ขอให้ภาครัฐเจรจาในระดับประเทศเพื่อหาแนวทางส่งตู้ส่วนเกินในประเทศที่มีการนำเข้ามากกว่าส่งออก กลับมาให้ประเทศไทย

1.2   ข้อเสนอระยะยาว 1.2.1) รวมกลุ่มผู้ประกอบการแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อเจรจา Service Contract ระยะยาวในแต่ละเส้นทางกับสายเรือ 1.2.2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมซ่อมตู้คอนเทนเนอร์ในประเทศไทย เพื่อให้มีปริมาณตู้หมุนเวียนมาในประเทศไทยมากขึ้น 1.2.3) เจรจาในระดับ RCEP เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งตู้สินค้าทางถนนไปยังประเทศจีน ทั้งสินค้าที่มีปลายทางที่จีน และสินค้าที่ต้องการขนส่งต่อไปยังยุโรปทางรถไฟ

2.    ทิศทางค่าเงินบาทแข็งมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเริ่มส่งสัญญาณอ่อนค่า ขอให้ ธปท. เร่งรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทและใช้มาตรการทางการเงินเพื่อลดความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อไม่เป็นการซ้ำเติมการส่งออกซึ่งเป็นเครื่องจักรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย รวมถึงเร่งประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ผู้ส่งออกทั่วไปใช้เครื่องมือทางการเงินในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

3.    เร่งปรับปรุงโครงสร้างค่าธรรมเนียมเพื่อลดต้นทุนแฝงในการส่งออก ทั้งด้านการผลิต ด้านการส่งออก (การตลาด การขออนุญาตส่งออก/นำเข้าตามพิธีการศุลกากร) ด้านการเงินและภาษีอากร ด้านการขนส่งระหว่างประเทศ (เรือ ราง อากาศ รถ)) อันจะส่งผลกระทบและขีดความสามารถในการแข่งขันของทั้งผู้ส่งออกและผู้ประกอบการตลอดทั้งซัพพลายเชน

4.    เร่งพัฒนาระบบ NSW ของไทยให้เป็นระบบ Single Submission เพื่อเป็นการปรับลดขั้นตอนและระยะเวลาของพิธีการทางศุลกากร และจะต้องมีการจัดทำ Data Harmonization ใหม่ เพื่อรองรับการส่งข้อมูล ขาเข้า/ขาออก ณ จุดเดียว และเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาต/ใบรับรอง

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad