กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เผยข้อมูล ผลกระทบโควิค รัฐบาลสั่งปิดเรียนยาว - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เผยข้อมูล ผลกระทบโควิค รัฐบาลสั่งปิดเรียนยาว

 


กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เผยข้อมูล ผลกระทบโควิค รัฐบาลสั่งปิดเรียนยาว

สร้างผลกระทบต่อเด็กปฐมวัย ส่งผลทักษะทางวิชาการโดยเฉพาะผลรวมของผลการทดสอบด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์ลดลงอย่างชัดเจน วอนรัฐบาล กระทรวงศึกษาเร่งฟื้นฟู ชดเชยเวลาที่หายไปหวั่นกระทบต่อการพัฒนาประเทศโดยรวมในอนาคต

                                                                                


นายไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เปิดเผยว่า กสศ. ได้ให้การ สนับสนุนและทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อสร้างความเสมอภาคทาง การศึกษาให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน สำหรับกลุ่มเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญกลุ่มหนึ่งของ กสศ. ที่เป็นกลุ่ม เด็กควรได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยเพราะ ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงทองของชีวิต

ปัจจุบัน กสศ. มีการร่วมกับทั้ง 3 หน่วยงานคือ สานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) (ตชด.) และ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ช่วยเหลือเด็กปฐมวัยยากจนในโรงเรียนอนุบาล ผ่านทุนเสมอภาค พร้อมทั้งพัฒนากลไกเชิงระบบในจังหวัดต้นแบบ เพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยนอกระบบอีกด้วย


ที่ผ่านมา กสศ. ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการ ประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พัฒนาระบบฐานข้อมูลและงานวิจัยเพื่อชี้ให้เห็นถึงในสถานการณ์สำคัญของกลุ่มเด็กปฐมวัย ทั้งระบบฐานข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบกลุ่มตัวอย่างซ้า (Early Childhood Longitudinal Data) ซึ่งเริ่มต้นเก็บมาตั้งแต่ปี 2558 และระบบฐานข้อมูลสถานะความพร้อมในการ เข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย (Thailand School Readiness Survey)เพื่อการเคลื่อนที่เร็วต่อการแก้ไขปัญหาสำคัญ ๆ ของประเทศ เพราะการพัฒนาและการลงทุนในเด็กปฐมวัย จึงมีความสำคัญสำหรับทุกครอบครัว สังคม และประเทศชาติ


นอกจากนั้นยังได้ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนเก็บข้อมูลลงลึกรายบุคคลและนำเสนอออกมาเป็นรายจังหวัด ในการเฝ้าระวังสถานการณ์ของประชากรกลุ่มสำคัญ คือเด็กปฐมวัยโดยเครื่องมือนี้ได้ถูกใช้ตามวัตถุประสงค์แล้วอันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของCOVID- 19 เมื่อได้จัดทำข้อมูลอย่างเป็นระบบบนฐานงานวิชาการทำให้เราพบว่า COVID-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบเป็นรายบุคคลที่เกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss) แต่ยังทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาขยายกว้างออกไปอีก โดยเมื่อเรานำข้อมูล School Readiness มาวิเคราะห์ร่วมกับ ฐานข้อมูลนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ (CCT) และผลที่ได้มาจากสพฐ. นำมาวิเคราะห์นั้นทำให้รู้ว่า ต้องเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นประเทศจะต้องสูญเสียเด็กไปทั้งรุ่น หรือ Lost Generation  กสศ. พร้อมใช้พลังข้อมูล พลังเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมร่วมแก้วิกฤตสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเข้ามา เพื่อที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษา ให้เด็กและเยาวชนก้าวสู่ชีวิตที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนต่อไป 



รองศาสตราจารย์ ศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อานวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบ นโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า RIPED ได้ดำเนินงานร่วมกับ กสศ. เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทย โดยพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสำรวจสถานะความพร้อมในการเข้า สู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย (Thailand School Readiness Survey: TSRS) การสำรวจข้อมูลเด็กปฐมวัย แบบกลุ่มตัวอย่างซ้า (Early Childhood Longitudinal Data: ECLD) การพัฒนาศูนย์อบรมและครูปฐมวัยด้วย หลักสูตรไฮสโคป (HighScope) ตามแนวทางไรซ์ไทยแลนด์ ซึ่งนำไปสู่ข้อค้นพบที่น่าสนใจเพื่อประเมินว่า เด็กปฐมวัยมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพเมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เป็นทางการในระดับประถมศึกษาหรือไม่ โดยวัดทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์ และ Executive Functions (EFs) พร้อมสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ของครัวเรือนและสถานศึกษา โดยเครื่องมือนี้ ได้พัฒนาต่อยอดมาจากแบบประเมินภายใต้โครงการ Measuring Early Learning and Outcome หรือ MELQO ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างองค์การยูเนสโก (UNESCO) ธนาคารโลก (World Bank), Brookings Institution และองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) เนื่องจากการระบาดของโค วิด-19 ส่งผลให้ปัจจุบันสำรวจไปได้ 73 จังหวัด เหลืออีก 4 จังหวัดจะเลื่อนไปสำรวจในช่วงต้นปี 2566 โดยค้นพบจาก TSRS ที่น่าสนใจ


โดยพบว่าการปิดสถานศึกษาในช่วงการะบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดปัญหาภาวะการเรียนรู้ถดถอย (learning loss) กับเด็กปฐมวัยอย่างชัดเจน ซึ่งดูได้จากผลเปรียบเทียบระดับ ความพร้อมฯ เฉลี่ยด้านวิชาการ 1 ที่ได้จากข้อมูลใน 3 ระยะ 3 ปีที่เก็บข้อมูลต่อเนื่องกัน ชี้ให้เห็นว่า ข้อมูล ของกลุ่มเด็กที่เก็บในปี 2565 ซึ่งเป็นปีที่มีการปิดเรียนอย่างยาวนานมีระดับความพร้อมฯ ต่ำกว่ากลุ่มเด็กที่เก็บข้อมูลในปี 2563 ซึ่งยังไม่มีผลกระทบจากโควิด และกลุ่มเด็กเก็บในปี 2564 ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดเล็กน้อย เมื่อทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การปิดเรียนอย่างยาวนานจากโควิด-19 ส่งผลให้ทักษะทางวิชาการโดยเฉพาะผลรวมของผลการทดสอบด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์ (คิดให้คะแนนเต็มเท่ากับ 100 คะแนน) ผลการวิเคราะห์ นำไปสู่ข้อสรุปพบว่า ทักษะของเด็กกลุ่มตัวอย่างลดลงอย่างเห็นได้ชัด แม้ที่ผ่านมาจากสถานการณ์โควิคที่ทำให้รัฐบาลสั่งปิดสถานศึกษาให้เด็กปฐมวัยอยู่กับครัวเรือนมากขึ้น แต่จากข้อมูลพบว่าครอบครัวอ่านหนังสือให้เด็กฟังน้อยลง โดยจะเห็นได้จากค่าเฉลี่ยของจำนวนวันต่อสัปดาห์ที่ผู้ปกครองอ่านหนังสือให้เด็กปฐมวัยในช่วงที่เกิดการระบาด ของโควิด-19 เปรียบเทียบกับก่อนการระบาดลดลงอย่างชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้น เด็กก็อ่านหนังสือเองน้อยลงอย่างชัดเจนด้วย โดยผลการศึกษาพบว่าเด็กใช้เวลากับหน้าจอ (screen time) เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในที่นี้นับเฉพาะเวลาที่เด็กเล่นเกมส์หรือดูรายการต่าง ๆ แต่ไม่รวมเวลาเรียนออนไลน์


ทั้งนี้ยังพบข้อมูลว่าปัญหาเศรษฐกิจและฐานะของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับความพร้อมฯ ของเด็กปฐมวัย ซึ่งเด็กปฐมวัยจากครอบครัวที่ยากจนกว่ามีความพร้อมฯ ต่ำลงด้วยซึ่งเด็กปฐมวัยที่สำรวจในปี 2563 (ปีการศึกษา 2562) เชื่อมโยงกับข้อมูลนักเรียนทุนเสมอภาคที่ได้รับเงินอุดหนุนจากกสศ. ผลการวิเคราะห์เชิงลึกชี้ว่า เด็กยากจนพิเศษมีระดับความพร้อมฯ ด้าน คณิตศาสตร์และด้านภาษาต่ำกว่าเด็กทั่วไปประมาณร้อยละ 5.7 และร้อยละ 4.2 ของคะแนนเต็ม (ร้อยละ 7.7 และร้อยละ 8.7 ของคะแนนเฉลี่ยแต่ละด้าน) ในขณะที่เด็กยากจน มีระดับความพร้อมฯ ด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษาต่ำกว่าเด็กทั่วไปประมาณร้อยละ 3.8 และร้อยละ 3.5 ของคะแนนเต็ม (ร้อยละ 5.1 และร้อยละ 7.2 ของ คะแนนเฉลี่ยแต่ละด้าน) ผลการวิเคราะห์ส่วนนี้สะท้อนให้เห็นว่า ความยากจนหรือความขัดสนมีผลต่อความพร้อมฯ ของเด็กปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญ


จากข้อมูลที่ดำเนินการสำรวจในช่วงที่ผ่านมาชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การปิดสถานศึกษาในช่วงการระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาภาวะการเรียนรู้ถดถอย (learning loss) กับเด็กปฐมวัยอย่างมาก ความยากจนมีผลทำให้เด็กปฐมวัยได้ไม่เต็มศักยภาพหรือไม่มีความพร้อมฯ เท่าที่ควร บ้านหรือครอบครัวยังขาด ทักษะและความเข้าใจในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และเครื่องมือสำรวจสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ระบบ การศึกษา (School Readiness) ภายใต้โครงการ TSRS เป็นเครื่องมือประเมินเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมสำหรับการ ติดตามสถานการณ์การพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศไทย


“วันนี้เราทุกคนได้รับบทเรียนที่สำคัญจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบกับทุกคน ไม่เว้นแม้แต่ เด็กปฐมวัยที่ประสบกับภาวะการเรียนรู้ถดถอย (learning loss) ที่รุนแรง น่าจะถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนควรจะร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วน นโยบายระยะสั้นที่ควรจะเร่งดำเนินการคือ การเปิดเรียนให้นานและปิดให้น้อย เพื่อชดเชยเวลาคุณภาพที่ขาดหายไปในช่วงที่ผ่านมา โดยรัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาให้เร็วโดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่มีความเสี่ยงน้อยควรเร่งฟื้นฟูความรู้ให้กับเด็กปฐมวัยให้เร็วที่สุด

ส่วนนโยบายระยะยาวที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูทักษะ คือ การยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนระดับปฐมวัยโดยเฉพาะเด็กที่ขาดโอกาสหรือเด็กยากจน ซึ่งจากที่ได้ ดำเนินการพัฒนาครูปฐมวัยด้วยหลักสูตรไฮสโคป (HighScope) ตามแนวทางไรซ์ไทยแลนด์ ภายใต้การสนับสนุน ของ กสศ. ชี้ให้เห็นว่า ครูปฐมวัยเป็นหนึ่งหัวใจสำคัญ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและเด็ก และสนับสนุนให้เกิด แนวทางการสอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย" ศ.ดร.วีระชาติ  กล่าว


นายสวัสดิ์ ภู่ทอง รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สกศ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการจัดทานโยบายและ แผนการศึกษาแห่งชาติ ให้ความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพราะถือเป็นช่วงวัยที่เป็นรากฐานของการพัฒนา ชีวิต จึงต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัย ส่งผลให้คุณภาพของประชากรของประเทศดีขึ้น ในการดำเนินงานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบูรณาการความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อให้การขับเคลื่อนบรรลุผลสำเร็จ ทำให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านเต็มตามศักยภาพ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป


ผศ. ดร.ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กล่าวว่าบทบาทหน้าที่ของการเป็นองค์กรที่พึ่งของท้องถิ่น ในเรื่องการผลิตและพัฒนาครู การส่งเสริมการ เรียนรู้ของนักเรียนนั้นในช่วงของการแพร่ระบาดของCOVID-19 เห็นว่าทำการจัดการเรียนสอนต้องมีการยกระดับ แบบแบบฉับพลัน รวมท้ังกระบวนการผลิตครูฝึกหัดและพัฒนาครูประจำการในช่วงของการเปลี่ยนแปลงระบบ นิเวศการเรียนรู้ที่ห้องเรียนมิใช่ที่โรงเรียนแต่เป็นที่บ้าน และครูมิใช่ผู้สอนท่านเดียวแต่มีทีมสอนคือผู้ปกครอง ความท้าทายคือ จะปรับเปลี่ยนระบบการผลิตครูที่เน้นการใช้ห้องเรียนเป็นที่บ่มเพาะนักศึกษาร่วมกับการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่โรงเรียนนั้น ไม่เพียงพอต่อการสถานการณ์โลกที่ได้รับผลกระทบจนเปลี่ยนแปลงไป  ขณะนี้บริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน


โดยเฉพาะในเรื่องความพร้อมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ดังนั้นการพัฒนาครู ประจำการให้มีความพร้อมในองค์ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 เสมือนการติดอาวุธให้กับ ครูฝึกหัดที่อยู่ในระบบการผลิต และครูประจำการที่อยู่ในสถานศึกษาให้เป็นครูที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มีการเรียนรู้ตลอดเวลา ฉลาดรู้เรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมในชุมชน ได้โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ


สำหรับมรภ.ภูเก็ต ได้มีโอกาสร่วมดำเนินงานกับ กสศ. ใน 2 โครงการ คือ โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นการผลิตครูระบบปิดและเตรียมพร้อมครูในการรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบัน สร้างครูที่มี Soft Skill และมีเทคนิควิธีการสอนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เชิงรุกร่วมกับการมีความรู้ในหลักวิชาการ ในขณะเดียวกันโรงเรียนปลายทางจะมีผู้บริหาร และครูที่ได้รับการ ส่งเสริมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านชุมชนเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ เกิดทีมทางานในการยกระดับคุณภาพ การเรียนรู้ร่วมกันของครูและนักเรียนโดยมีทีมหนุนนำอย่างต่อเนื่อง (Teacher Coaching) จากสถาบันการผลิต ครูที่ได้รับการสนับสนุนจาก กสศ. และ โครงการ

 โรงเรียนพัฒนาตนเอง หรือ TSQP ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครู (School Professional Development: SPD) สำหรับการพัฒนาครูประจาการและนักเรียน ทั้งโรงเรียนโดยครอบคลุมทุกระดับชั้น เน้นการสนับสนุนจากทีมโค้ช (Q-Coach) มีการทำงานในลักษณะสร้าง เครือข่ายการทางานร่วมกัน (Q-Network) โดยนำระบบ IT (Q-Info) มาเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกในการ ทำงาน เพื่อให้โรงเรียนทำงานง่ายขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad