สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์นำอาหารทะเลคุณภาพสูง มาเปิดบูธจัดแสดงที่งาน THAIFEX 2019 - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์นำอาหารทะเลคุณภาพสูง มาเปิดบูธจัดแสดงที่งาน THAIFEX 2019


กรุงเทพมหานคร – 30 พฤษภาคม 2562 ในปี 2561 ยอดส่งออกแซลมอนสดของนอร์เวย์สู่ประเทศไทยพุ่งสูงเกิน 10,000 ตันเป็นครั้งแรก ส่วนยอดส่งออกอาหารทะเลสู่ไทยมีปริมาณ 29,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 4.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการตลาดที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอุตสาหกรรมอาหารทะเลจากนอร์เวย์

สำหรับงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มนานาชาติ THAIFEX World of Food Asia 2019 มีผู้จัดแสดงสินค้าทั้งสิ้น 11 ราย ซึ่งรวมถึงสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) และผู้ส่งออกอาหารทะเลนอร์เวย์ ที่ได้นำอาหารทะเลคุณภาพสูงจากนอร์เวย์มาจัดแสดง ในระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม ถึง 1 มิถุนายน นี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ต่อยอดความสำเร็จจากปีที่แล้วที่มีผู้เข้าชมกว่า 62,000 คน จาก 150 กว่าประเทศทั่วโลก
สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ได้ถือโอกาสประกาศแต่งตั้ง ดร.อัสเบรียน วาร์วีค เรียด์ไทวด์ เพื่อเป็นผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนใหม่แทน นายจอน อิริค สทีนสลิด โดยดร. อัสเบรียน ทำงานกับทางสภาฯ มาเป็นเวลากว่า 10 ปี ก่อนหน้านี้ดำรงอ่งมีชื่อว่าะกาศแต่งตั้งิ้น กทั้งหมด นตลาดไทยบการณ์และวย แต่ปี โต๊ะอาหาร ด้วยเวลาเร็วที่สุดเพียงแค่ าร คุณภาพการผลิต และน"นอร์เตำแหน่งผู้อำนวยการด้านข้อมูลเชิงลึกและกลยุทธ์การนำเข้าสู่ตลาด นักวิเคราะห์ผู้บริโภค และผู้จัดการโครงการอาหารแห่งชาติที่มีชื่อว่า Fiskesprell

ดร.อัสเบรียน วาร์วีค เรียด์ไทวด์ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ กล่าวว่า “ผมรู้สึกเป็นเกียรติและดีใจมากที่ได้มาเป็นตัวแทนดูแลอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดของนอร์เวย์ ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีการบริโภคอาหารทะเลจากนอร์เวย์สูงมากโดยเฉพาะแซลมอน ตลาดผู้บริโภคคนไทยมีความน่าสนใจ พวกเขาตามกระแสที่เกิดขึ้นในสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็ใส่ใจกับคุณภาพอาหารที่รับประทาน ภารกิจของสภาฯ คือการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะให้กับอาหารทะเลจากนอร์เวย์ และวางนอร์เวย์ให้เป็นประเทศแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลอย่างแซลมอนและฟยอร์ดเทราต์สดที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในตลาด เรามุ่งเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจในการเตรียม การปรุงอาหาร และการบริโภคอาหารทะเลจากนอร์เวย์ผ่านกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ สำหรับกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ประกอบการและ ผู้บริโภค”
สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์อยู่ในระหว่างการดำเนินการย้ายสำนักงานระดับภูมิภาคจากสิงคโปร์มายังกรุงเทพมหานคร การย้ายสำนักมายังกรุงเทพฯ ในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของสภาฯ ต่อแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารทะเลจากนอร์เวย์ในตลาดประเทศไทย ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกแซลมอนนอร์เวย์สดสู่ประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 ต่อปี คิดเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารทะเลจากนอร์เวย์ที่ส่งออกสู่ประเทศไทยทั้งหมด นับเป็นปริมาณที่สูงที่สุดต่อตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “ตัวเลขนี้มีนัยสำคัญ เนื่องจากชี้ให้เห็นว่ากระแสความนิยมต่อร้านอาหารญี่ปุ่นและความชื่นชอบรับประทานซูชิและซาชิมิของคนไทย ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์เป็นอย่างมาก” ดร.อัสเบรียน กล่าว

ประเทศนอร์เวย์เพาะเลี้ยงอาหารทะเล โดยยึดหลักความยั่งยืน ความปลอดภัยของอาหาร และแหล่งที่มา ทั้งหมดนี้ถือเป็นเครื่องหมายการค้าของนอร์เวย์ ซึ่งแตกต่างจากทุกชาติใดในโลก ในฐานะที่เป็นผู้ส่งออกแซลมอนรายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยปริมาณผลผลิตกว่า 1.3 ล้านตันต่อปี และส่งออกอาหารทะเลรวมแล้วกว่า 2.6 ล้านตันต่อปีไปยังตลาดโลก นอร์เวย์ให้ความสำคัญกับระบบการจัดการที่เข้มงวดและเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ทันสมัย เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยของอาหาร คุณภาพการผลิต และความเป็นอยู่ที่ดีของปลา และจากแนวโน้มความนิยมบริโภคอาหารทะเลและแซลมอนสดที่เพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมอาหารทะเลของนอร์เวย์ตอบโจทย์ในเรื่องของขั้นตอนการจัดการอาหารทะเล ตั้งแต่การเพาะเลี้ยง แปรรูป และขนส่งทางอากาศมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ประเทศไทย จากฟาร์มปลาจนถึงโต๊ะอาหาร ด้วยเวลาเร็วที่สุดเพียงแค่ 48 ชั่วโมงเท่านั้น นอกจากนี้สัญลักษณ์ SEAFOOD FROM NORWAY ที่แสดงถึงแหล่งที่มาของอาหารทะเลจากนอร์เวย์ ซึ่งได้นำมาใช้ตั้งแต่ปี 2560 ยังช่วยเป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพให้กับผู้ประกอบการเพื่อใช้โปรโมตสินค้า และให้ผู้บริโภคสามารถเลือกสรรอาหารทะเลจากนอร์เวย์ได้อย่างมั่นใจในคุณภาพที่เคาน์เตอร์ซุปเปอร์มาร์เก็ตอีกด้วย

สำหรับแผนการตลาดของสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ในปี 2562 นี้ จะมุ่งส่งเสริมอาหารทะเลจากนอร์เวย์ ณ ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำและร้านอาหารต่างๆ ให้เป็นที่รู้จัก ควบคู่กับการประชาสัมพันธ์กับสื่อหลักและสื่อทางสังคมในประเทศ ในส่วนของผู้ประกอบการ (B2B) จะเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการผลิตภัณฑ์อาหารทะเลนอร์เวย์อย่างถูกต้องเหมาะสมผ่านการฝึกอบรมกับพนักงานและเชฟประจำเคาน์เตอร์ซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่วนภาคธุรกิจค้าปลีกสู่ผู้บริโภค (B2C) จะเป็นการแนะแนวทางการประกอบอาหารทะเลจากนอร์เวย์อย่างง่ายๆ ที่บ้าน
ภายในงาน THAIFEX World of Food Asia 2019 สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ได้นำผู้ส่งออกอาหารทะเลนอร์เวย์มาสร้างเครือข่ายและส่งเสริมแบรนด์ในตลาดไทย เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ต่อไปในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad