วิศวะมหิดล มอบรางวัล Mahidol Engineering Maker Expo 2022 สุดยอดงานสร้างสรรค์วิศวกรรมโดยคนรุ่นใหม่ - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2565

วิศวะมหิดล มอบรางวัล Mahidol Engineering Maker Expo 2022 สุดยอดงานสร้างสรรค์วิศวกรรมโดยคนรุ่นใหม่


 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี เป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัล  Mahidol Engineering Maker Expo 2022  เผยสุดยอดงานคิดค้นสร้างสรรค์วิศวกรรมใน 4 คลัสเตอร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ แสดงพลังศักยภาพของคนรุ่นใหม่นักศึกษาชั้นปีที่ โดยมี ผศ.ดร.ธีรพร รับคำอินทร์ ที่ปรึกษาคณบดีด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ และ ผศ.ดร.พรทิพย์ แก่งอินทร์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ร่วมเปิดงาน

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า งาน Mahidol Engineering Maker Expo 2022 สุดยอดงานคิดค้นสร้างสรรค์วิศวกรรมใน 4 คลัสเตอร์  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคนรุ่นใหม่ในการวิจัยพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ ตลอดจนเสริมทักษะและประสบการณ์ตรงในการบูรณาการความรู้และการลงมือทำ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่เป็นจริง ส่งเสริมความเป็นผู้นำ รู้จักการทำงานเป็นทีมก่อนก้าวสู่โลกของการทำงานในวิชาชีพต่อไป เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและโลกที่ยั่งยืน ในปีนี้ คณะวิศวะมหิดลเปิดให้มีการนำเสนอโครงงานวิศวกรรมของนักศึกษาวิศวกรรมสาขาต่างๆ รวมจำนวน 88 ผลงาน โดยแบ่งเป็น คลัสเตอร์ ประกอบด้วย วิศวกรรมเฮลท์แคร์ (Healthcare Engineering)วิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineeringวิศวกรรมโลจิสติกส์และขนส่งทางราง (Logistics & Railway Engineering) และ วิศวกรรมเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม (Sustainability & Environmental Engineering) คณะกรรมการตัดสินเป็นผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ภาครัฐและการศึกษา ทั้งนี้ได้ประกาศผลรางวัล โดยในแต่ละคลัสเตอร์ มี 3 รางวัล คือ รางวัลชนะเลิศอันดับ ได้รับเงินรางวัล 12,000 บาท รางวัลชนะเลิศอันดับ ได้รับเงินรางวัล 6,000 บาท และรางวัลชนะเลิศอันดับ ได้รับเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมทั้งใบประกาศเกียรติคุณ


สำหรับสุดยอดผลงานที่คว้า รางวัลชนะเลิศ Mahidol Engineering Maker Expo 2022  ใน คลัสเตอร์ มีดังนี้

รางวัลชนะเลิศ คลัสเตอร์ Healthcare Engineering ได้แก่ ผลงาน การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมองด้วยเกมจากระบบการเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ (Motor Imagery Rehabilitation Based Brain-Computer Interface Game for Post-Stroke Patient) เป็นนวัตกรรมที่อยู่ในรูปแบบของเกม ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งสามารถควบคุมคำสั่งได้ผ่านการจินตนาการการเคลื่อนไหว (Motor Imagery) สมาชิกในทีมชนะเลิศ ประกอบด้วย นายศรายุทธ มีสุข นางสาวชัชรินทร์ แสงบุษราคัม และนางสาวฉัตรวิภา สุรพัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รางวัลชนะเลิศ คลัสเตอร์ Logistics & Railway Engineering ได้แก่ ผลงาน การจำลองระบบการเดินรถไฟด้วยโมเดลรถไฟจำลอง (Virtual Railway Lab to Arduino : VRLuino) พัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นต้นแบบของห้องปฎิบัติการณ์ทางรถไฟ โดยกลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกและระบบขนส่งทางราง มหาวิทยาลัยมหิดล (CLARE MU) มีแผนที่จะสร้างขึ้นในอนาคต ดังนั้น จึงพัฒนาขึ้นเพื่อความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ที่เข้ามาใช้งาน เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการณ์ในอนาคต ทั้งนี้ ยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ หรือทำงานในสายอาชีพนี้อีกด้วย สมาชิกในทีมชนะเลิศ ประกอบด้วย นายศุภณัฐ วงศ์มิตรไมตรี นายธิติ ทรัพย์ธนาธร และนายกฤษกร กรัณย์พุฒิ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รางวัลชนะเลิศ คลัสเตอร์ Sustainability & Environmental Engineering ได้แก่ ผลงาน กระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการ Cryogenic Carbon Capture และการนำไปใช้ต่อในกระบวนการผลิตเมทานอล (Process Technology Selection, Design and Economic Evaluation of CO2 Capture and Utilization in Pyrolysis of Petrochemical Process : Monomer Plant) เป็นนวัตกรรมที่จับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยวิธีการใช้พลังงานต่ำ ด้วย Cryogenic ซึ่งสามารถดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ สมาชิกในทีมชนะเลิศ ประกอบด้วย น.ส.ธนาวรรณ อภิรัตนกุล น.ส.โชติกา อยู่แจ่ม นายณัฐธัญ ละอองแก้ว นายธราเทพ ไชยเมืองชื่น และ น.ส.นพวรรณ วัฒนสุข ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

รางวัลชนะเลิศ คลัสเตอร์ Digital Engineering ได้แก่ ผลงาน สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบเกมเสริมทักษะวิชาฟิสิกส์ สำหรับเยาวชนนักเรียนระดับมัธยมปลายสายวิทย์-คณิต เป็นสื่อการสอนที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบเกม สอดแทรกวิชาฟิสิกส์ โดยนำบทเรียนมาพัฒนาเป็นเกม ทำให้เยาวชนนักเรียนซึ่งอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเรียนรู้ และวางแผนจะศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้เกิดแรงบันดาลใจ มีความสนใจและสนุกกับการเรียนฟิสิกส์มากขึ้นซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของสะเต็มศึกษาและส่งผลดีต่ออนาคต สมาชิกในทีมชนะเลิศ ประกอบด้วย นายรังสิมันตุ์ ชูสนุก นายณัฏฐ์ทัศน์ โห้หาญ นายภูปกรณ์ ลือหาญ และ นางสาวญาณสิริ โสภาเจริญ จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad