ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกย้ำข้อเรียกร้อง“สร้างอนาคตข้างหน้าที่ดีกว่า” ในการประชุม World Urban Forum ที่โปแลนด - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกย้ำข้อเรียกร้อง“สร้างอนาคตข้างหน้าที่ดีกว่า” ในการประชุม World Urban Forum ที่โปแลนด

 กรุงเทพฯ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565  การประชุม World Urban Forum ครั้งที่ 11 (WUF 11) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 มิถุนายน ที่เมืองกาตอวิตแซ ประเทศโปแลนด์จะมีการหารือผลการศึกษาสำคัญที่เพิ่งเผยแพร่ของรายงานการประชุมในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและโควิด 19 ต่อบ้านและที่พักอาศัย


 


หลุยส์ โนดา (Luis Noda) รองประธาน องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและหนึ่งในวิทยากรในงานการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า “สร้างอนาคตข้างหน้าที่ดีกว่าเพื่อที่อยู่อาศัยที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน หมายถึงการที่เราแต่ละคนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ครอบครัวที่ยากลำบากที่สุดที่เรากำลังให้ความช่วยเหลือได้มีโอกาสออกความคิดเห็น และมีบทบาทในการเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมดีขึ้น ความเชื่อนี้เป็นแนวทางการทำงานขององค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล โดยเราได้แสดงความคิดเห็นในที่ประชุม WUF 11 เกี่ยวกับการสร้างความยืดหยุ่นหรือวิธีตั้งรับหลากหลายภัยพิบัติท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและภัยร้ายที่อาจเกิดขึ้น ผ่านนวัตกรรมและความร่วมมือกันจากทุกฝ่าย ซึ่งเป็นแนวทางไปสู่อนาคตของสังคมมนุษย์ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

 

ประเด็นหลักของการประชุม WUF 11 จะเน้นที่การเอาชนะวิกฤติที่หลากหลายของชุมชนเมือง และดำเนินการเปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตของเมืองที่ดีขึ้น

 

เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหัวข้อหลักของการประชุม WUF 11  ผู้เข้าร่วมงานจากการประชุมในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกจะมุ่งเน้นที่การสนทนาด้านความรับผิดชอบร่วมกันและบทบาทในระดับรัฐบาล ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน แวดวงวิชาการ ผู้บริจาค ในการบรรลุเป้าหมาย “ที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน” การสร้างพันธมิตรและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในสังคม และนวัตกรรมที่จะสร้างการรับมืออย่างยั่งยืนมีความสำคัญในการเสริมสร้างความยั่งยืนท่ามกลางปัจจัยที่ซ้ำเติมความท้าทายต่อด้านที่อยู่อาศัยในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ นโยบายและการดำเนินงานด้านที่อยู่อาศัยในระดับประเทศที่ยังไม่เพียงพอ การเข้าถึงเทคโนโลยีที่จำกัด และสังคมที่ขาดความรู้ความสามารถ

 

จากการที่โควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบในระยะยาวต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก องค์การสหประชาชาติประมาณการว่าประชากรกว่า 200 ล้านคนจะตกอยู่ในภาวะยากจนขั้นสุดภายในปีพ.ศ. 2573 และภูมิภาคจะเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดแห่งหนึ่ง ทำให้ที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค

 

หัวข้ออื่นๆของการประชุม WUF 11 ยังสอดคล้องต่อประเด็นสำคัญเรื่องอื่นๆที่เกิดขึ้นในการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยของเอเชียแปซิฟิกเมื่อเร็วๆนี้ เช่นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับความท้าทายด้านที่อยู่อาศัยผ่านการผลักดันพัฒนาชุมชนเมืองควรที่จะได้รับความสนใจเท่ากับด้านสิ่งแวดล้อม การทำให้ห่วงโซ่อุปทานของที่อยู่อาศัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยลดต้นทุน และบรรเทาผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางเกี่ยวกับความยั่งยืนทั้งด้านการผลิตวัสดุก่อสร้าง การ

 

ออกแบบ และการรีไซเคิล เป็นต้น และควรให้ความสนับสนุนด้านการเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยี ความรู้ และทรัพยากร

 

หน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านที่อยู่อาศัยกว่า 900 แห่งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมใน 53 พื้นที่ได้เข้าร่วมในการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 7-9 ธันวาคม พ.ศ. 2564  ที่ผ่านมา การพูดคุยในประเด็นดังกล่าวได้ถูกย่อลงในรายงานฉบับสมบูรณ์ซึ่งสามารถอ่านได้ที่ APHF websitewww.aphousingforum.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad