ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายคู่รัก HORNBILL (ฮอนบิลล์) ร่วมกับ มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “วันรักนกเงือก” ครั้งที่ 21 เปิดโครงการประกวด ออกแบบลวดลาย “เสื้อคู่รัก” (HORNBILL LOVER) ในวันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายคู่รัก HORNBILL (ฮอนบิลล์) ร่วมกับ มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “วันรักนกเงือก” ครั้งที่ 21 เปิดโครงการประกวด ออกแบบลวดลาย “เสื้อคู่รัก” (HORNBILL LOVER) ในวันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563


ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายคู่รัก HORNBILL ร่วมกับ มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “วันรักนกเงือก” ครั้งที่ 21 เพื่อเปิดโครงการประกวดออกแบบลวดลาย “เสื้อคู่รัก” (HORNBILL LOVER) ให้ประชาชนทั่วไป นิสิต นักศึกษา ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ที่สะท้อนถึงความรักแท้ ผ่านลวดลายเสื้อ ชิงรางวัลมูลค่ากว่า 70,000 บาท โดยมี (จากซ้าย) สวัสดิ์ โพธิ์สินสมวงศ์ ผู้อำนวยการผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย HORNBILL , ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. พิไล พูลสวัสดิ์ , ชาคริต – ภัททิรา – น้องโพธิ์ แย้มนาม , รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติถ่ายภาพร่วมกัน

โดยในปี พ.ศ. 2563 นี้ กิจกรรม วันรักนกเงือกได้จัดขึ้น เพื่อเปิดตัว โครงการประกวดออกแบบลวดลาย เสื้อคู่รัก(HORNBILL LOVER) ในวันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 ณ สวนนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (บริเวณสวนหย่อมหลังตึกเคมี) ถนนพระราม 6 เวลา 10.00-18.00 น.

โดยมีวัตถุประสงค์

เพื่อมุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ นกเงือกอันเป็นสัญลักษณ์ของ ป่าสมบูรณ์ ดังนั้น นกเงือก จึงเป็น ดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่า ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ นกเงือก ยังเป็นสัญลักษณ์ของ ความรักแท้ เนื่องจากจะมีคู่แบบตัวเดียวตลอดชีวิต เมื่อตัวหนึ่งตายจากไป ก็จะไม่มีคู่ใหม่ แค่จะตรอมใจตายตามกันไปในที่สุด





โดยการศึกษาวิจัยจาก มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2521 จากโครงการศึกษานิเวศวิทยานกเงือก คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งแรกเริ่มได้ศึกษาวิจัยเฉพาะในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จนถึงปัจจุบันได้ขยายงานวิจัยออกไปในเขตผืนป่าภาคตะวันตกและภาคใต้ เพื่อความต่อเนื่องจึงได้เกิดแรงผลักดัน ให้มีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิฯ โดยได้รับพระราชทานชื่อจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม  2536
                                                                   

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายคู่รัก HORNBILL ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ การอนุรักษ์นกเงือก จึงได้กำหนดให้ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น วันรักนกเงือกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และได้จัดกิจกรรมเพื่อหารายได้สมทบทุน มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก รวมถึงเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่การดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์นกเงือกของมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกเรื่อยมา

สำหรับในปีนี้ ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายคู่รัก HORNBILL (ฮอนบิลล์) บริษัทไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรม วันรักนกเงือก เพื่อเปิดตัว โครงการประกวดออกแบบลวดลาย เสื้อคู่รัก(HORNBILL LOVER) เนื่องจากผลิตภัณฑ์ HORNBILL ต้องการสนับสนุนให้ “คู่รัก” ได้ใส่เสื้อคู่รัก เพราะ “นกเงือก” เป็นสัญลักษณ์ของ รักแท้ จึงได้จัดโครงการฯ นี้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไป นิสิต นักศึกษา ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ที่สะท้อนถึงความรักแท้ ผ่านลวดลายเสื้อ โดยมีคณะกรรมการ 4 ท่าน มาร่วมการตัดสิน ได้แก่ บัญชา ชูดวง สไตลิสต์อิสระและอาจารย์พิเศษสาขาแฟชั่น , จเรศักดิ์ คำสวัสดิ์ CHIEF STYLIST และ เจริญ - อรวรรณ โอทอง คู่รักนักปั่นจักรยานชาวไทย



และมีการแสดงบนเวทีช่วง PRODUCT SHOW นำทีมโดยคู่รักดารา ชาคริต – ภัททิรา แย้มนาม พร้อมเหล่าอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล รวม 10 คู่ ในวันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 ณ สวนนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (บริเวณสวนหย่อมหลังตึกเคมี) ถนนพระราม 6 ตั้งแต่เวลา 10.0018.00 น.


โดยได้รับเกียรติจากนักวิจัยระดับโลก ที่ได้ชื่อว่าเป็น  “มารดาแห่งนกเงือก” (GREAT MOTHER OF THE HORNBILLS) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. พิไล พูลสวัสดิ์ ผู้ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อการคุ้มครอง-อนุรักษ์นกเงือกและธรรมชาติ และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลผู้ทรงเกียรติด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติระดับโลก พร้อมกันถึง 2 รางวัล เมื่อปี พ.ศ. 2549 ได้แก่รางวัล The 2006 ROLEX Awards for Enterprises จาก Rolex SA ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ The 52nd Annual Chevron Conservation Awards จาก Chevron Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2550 จาก โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นผู้แทนพระองค์ ให้เกียรติมาร่วมงาน ในครั้งนั้น

พร้อมกันนั้นในงานนี้ ยังจัดให้มีการเสวนา เรื่อง “นกชนหิน ฤาจะเหลือแต่ความทรงจำ” โดย นพ. รังสฤษฎ์  กาญจนะวณิชย์  (หมอหม่อง) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา คุณวัชรบูล ลี้มสุวรรณ (โน้ต) กรรมการและรองเลขาธิการ/ประชาสัมพันธ์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร คุณเมทินีย์ ภัสสราอุดมศักดิ์ นักวิจัยและฝ่ายข้อมูลจากองค์กร TRAFFIC ผศ. ดร.วิจักขณ์ ฉิมโฉม เลขานุการมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีผู้ดำเนินรายการ คุณภาคภูมิ ประทุมเจริญ  (โตโต้ อดีตพิธีกรรายการคนค้นตน) และ คอนเสิร์ตจากศิลปิน 25 Hours

ทั้งนี้ภายในงานยังมีการแสดงบนเวทีช่วง PRODUCT SHOW นำทีมโดย คู่รัก ดารา ชาคริต – ภัททิรา แย้มนาม พร้อมเหล่าอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล รวม 10 คู่ อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายคู่รัก แบรนด์ HORNBILL จำหน่าย โดยในปีนี้ได้จัดทำ เสื้อ T-SHIRT LIMITED EDITION ซึ่งได้ผลิตขึ้นเป็นลวดลาย นกเงือกชนิด นกชนหิน สีเทา สีน้ำเงิน (TOP DYED) จำหน่ายในราคาตัวละ 290 บาท



อีกทั้งภายในงานยังมีกิจกรรมเล่นเกมลุ้นรางวัลมากมายจากกิจกรรม “สอยดาว” เพื่อนำรายได้สมทบทุน “มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก” โดยมีความประสงค์เพื่อให้ “มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก” สามารถมีรายได้เพียงพอที่จะดำเนินงานศึกษาวิจัย “นกเงือก” สืบเนื่องต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยการนำเงินสบทบทุนจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ เพื่อมาแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในมูลนิธิฯ  อันได้แก่

-              เพื่อใช้เป็นทุนวิจัยในการเก็บข้อมูลสถานภาพการขยายพันธุ์ของนกเงือก
-              เพื่อใช้ในการซ่อมแซมและปรับปรุงโพรงรังของนกเงือกให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายพันธุ์ของนกเงือก โดยการปรับปรุงเป็น โพรงเทียม
-              เพื่อใช้ในการติดตามการใช้พื้นที่สำคัญของนกเงือก ตามแนวเส้นทางที่นกเงือกอพยพ เพื่อการจัดการผืนป่าอนุรักษ์ในอนาคตได้อย่างถูกต้อง
-              เพื่อให้ชุมชนและชาวบ้านที่เคยเป็นพรานล่านกเงือก หันมาช่วยกันดูแลนกเงือก ให้เป็น มรดกของชุมชนสืบต่อไปถึงลูกหลาน
-              เพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ ปลุกจิตสำนึกให้นักเรียน และ ชุมชนที่อยู่ใกล้ผืนป่า รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ให้คงอยู่ต่อไปโดยใช้ นกเงือกเป็นสื่อ


โดยผู้มีจิตศรัทธาจากทั่วประเทศ สามารถร่วมสมทบทุน หรือสามารถเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อการช่วยยืดอายุ นกเงือก ให้มีชีวิตที่ยืนยาวต่อไปในอนาคตโดยจะไม่สูญพันธุ์ อีกทั้งยังช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศวิทยาของป่าให้เป็นป่าที่สมบูรณ์คู่ธรรมชาติต่อไปได้อย่างยั่งยืน...ตลอดไป

สำหรับผู้มีจิตศรัทธาสามารถโอนเงินเข้า บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 026-2-75910-2 ชื่อบัญชี มูลนิธินกเงือก หรือ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...

มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกโทร. 0 2201 5532 หรือ www.facebook.com/Hornbill.Thailand



***หมายเหตุ...หากท่านมีกำลังทรัพย์มาก ท่านสามารถช่วยเหลือ นกเงือกได้มากตามกำลังทรัพย์ของท่าน
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad