ธนาคารไทยเครดิต เผยผลสำเร็จของโครงการตังค์โต Know-how ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมความรู้และวินัยทางการเงิน ไตรมาส 1 ปี 2565 ก้าวเข้าสู่ปีที่ 6 - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565

ธนาคารไทยเครดิต เผยผลสำเร็จของโครงการตังค์โต Know-how ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมความรู้และวินัยทางการเงิน ไตรมาส 1 ปี 2565 ก้าวเข้าสู่ปีที่ 6

 โครงการตังค์โต Know-how โดยธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชนได้รับผลการตอบรับที่ดี มีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้นจำนวน 11,475 ราย ใน 3 เดือนแรกของปี โดยมีจำนวนผู้เข้าอบรมตลอดระยะ ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 77,329 คน รูปแบบการจัดอบรมมีทั้งแบบออนไลน์ผ่าน Facebook Live และลงพื้นที่จัดอบรมแบบ  ออนกราวน์

 

ธนาคารไทยเครดิต ยังได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานภาครัฐ ให้นำโครงการตังค์โต Know-how มาถ่ายทอดแก่บุคลากรคณะกรรมการกองทุนชุมชน ภายใต้สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ในการเตรียมความพร้อมทีมขับเคลื่อนส่งเสริมการออมและการพัฒนาทักษะทางการเงิน (Financial Literacy) ให้สามารถขับเคลื่อนงานกองทุนชุมชนให้มีองค์ความรู้ มีทักษะในการบริหารจัดการทุนชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และร่วมส่งเสริมการออมภาคประชาชนตามพันธกิจหลักของธนาคารไทยเครดิตฯ และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ภายใต้สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย อีกด้วย

 


ภารกิจการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชนในครั้งนี้
 ผู้เข้าอบรมเป็นกลุ่มคณะกรรมการกองทุนชุมชน ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ผู้อำนวยการกลุ่มงานหรือพัฒนาการอำเภอ นักวิชาการจังหวัดผู้รับผิดชอบงานทุนชุมชน พัฒนากร และคณะกรรมการโรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จากทั้งหมด 76 จังหวัด ที่ต้องนำความรู้ทางการเงินไปส่งต่อให้ประชาชนทั่วประเทศ โดยกว่า 81% ของผู้เข้าอบรมกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าชื่นชอบ ทีมวิทยากร ทั้งเทคนิคการสอน และเนื้อหาหลักสูตรในโครงการตังค์โต Know-how เป็นอย่างยิ่ง เพราะสอนสนุก เข้าใจง่าย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง อีกทั้งจะแนะนำ บอกต่อโครงการตังค์โต Know-how ให้เป็นที่รู้จัก และเชิญชวนประชาชนให้เข้ามาฝึกอบรมหลักสูตรความรู้ทางการเงินของธนาคารไทยเครดิตฯ ต่อไป

                 


นายรอย ออกุสตินัส กุนารา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า 
ในภารกิจส่งเสริมความรู้ทางการเงินในโครงการตังค์โต Know-how ธนาคารไทยเครดิตให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ในการวางแผนทางการเงิน การออมเงิน การจัดการหนี้ และการบริหารความเสี่ยงทางการเงินในภาวะวิกฤตแก่ผู้ประกอบการรายย่อย รวมทั้งประชาชนทั่วไป ที่เป็นมนุษย์เงินเดือน

“การมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจทางการเงินที่ดี จะช่วยให้ผู้เข้าอบรม สามารถตัดสินใจในการบริหารการเงินได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต และเพิ่มขีดความสามารถในการดำรงชีวิตให้มีความมั่นคง และสร้างคุณค่าในตัวเองมากยิ่งขึ้น” นายรอยกล่าว

สำหรับรูปแบบการอบรมในปี 2565 นี้ มีทั้งอบรมแบบออนไลน์ และในสถานที่จริง (On-ground) ภายหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลง โดยในไตรมาสที่ 2 นี้ จะมีการ  ส่งต่อความรู้ทางการเงินสู่ผู้ประกอบการรายย่อย และประชาชนในพื้นที่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยแปลงสาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อย ให้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ธนาคารไทยเครดิตกว่า 264 แห่ง        ทั่วประเทศ

โครงการ “ตังค์โต Know-how” ธนาคารไทยเครดิตฯ กับภารกิจส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ยังคงมุ่งมั่นส่งเสริมความรู้และวินัยทางการเงินสู่ผู้ประกอบการรายย่อย และประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ได้พัฒนาหลักสูตรในโครงการฯ แบบเชิงลึก เน้นการปฏิบัติได้จริงเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชน      มีความเข้มแข็งทางการเงิน สามารถปลดภาระหนี้ มีเงินออม สร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

 


ภายใต้ปรัชญา “Everyone Matters ใครไม่เห็น เราเห็น”  ที่ธนาคารยึดมั่นมาโดยตลอด ธนาคารฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาสังคมและชุมชน เราตระหนักถึงคุณค่าของธุรกิจขนาดเล็กและคนตัวเล็กๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเล็กเพียงใด ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นลูกค้าธนาคารหรือไม่ก็ตาม ทุกคนสามารถเรียนรู้ทักษะทางการเงินได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งความรู้ทางการเงินมีความสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบธุรกิจให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และพึ่งพาตัวเองได้ภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารฯ จึงพร้อมอยู่เคียงข้าง และร่วมสนับสนุนในการเสริมศักยภาพผ่านองค์ความรู้ และผลิตภัณฑ์การเงินต่าง ๆ ที่เข้าถึงง่าย และเป็นธรรม เพื่อให้ธุรกิจเติบโต มั่นคง ยั่งยืน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”  นายรอย กล่าวทิ้งท้าย

 

ผู้ที่สนใจโครงการ “ตังค์โต Know-how” ธนาคารไทยเครดิตฯ สามารถดูรายละเอียดโครงการฯได้ที่เว็บไซต์  www.tcrbank.com  , https://www.facebook.com/TangToknowhow หรือโทร. 02-697-5454

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad