ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน.. ด้วยการใช้หัวกรอฝังเพชร (Rotablator) - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน.. ด้วยการใช้หัวกรอฝังเพชร (Rotablator)


 หลอดเลือดหัวใจ มีความสำคัญอย่างมากต่ออวัยวะที่เรียกว่า “หัวใจ” ซึ่งเป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย โดยหลอดเลือดหัวใจทำหน้าที่หลักสำหรับส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทุกส่วน หากหลอดเลือดหัวใจเกิดความผิดปกติ จะส่งผลต่อหัวใจและอวัยวะอื่นๆ

นพ.สุรพงษ์ วรสุวรรณรักษ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด เฉพาะทางหัตถการปฏิบัติและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด แพทย์หัวหน้าศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนไทยมีแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน ที่เกิดจากความเสื่อมของเส้นเลือด เนื่องจากการสะสมของไขมันและหินปูนไปเกาะหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ จนอาจเกิดการอุดตันส่งผลให้หลอดเลือดตีบทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้น้อยลงหรือไม่เพียงพอเป็นเหตุให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การขยายหลอดเลือดด้วยการใช้หัวกรอความถี่สูง (Rotablator) เป็นเทคโนโลยีการรักษาสำหรับผู้ป่วยบางรายที่หลอดเลือดหัวใจมีไขมันและหินปูนเกาะจำนวนมาก หรือมีรอยตีบยาว หรือมีหลอดเลือดหัวใจขนาดเล็ก จนไม่สามารถขยายหลอดเลือดด้วยวิธีการทำบอลลูนได้  เครื่องมือจะมีลักษณะเป็นหัวกรอที่มีเพชรฝังอยู่ หัวกรอดังกล่าวจะหมุนด้วยความเร็วประมาณ 140,000 – 200,000 รอบต่อนาที โดยแพทย์จะสอดสายสวนชนิดนี้เข้าไปยังหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ เพื่อกรอหินปูนภายในหลอดเลือดหัวใจ จนสลายเป็นอนุภาคเล็กๆ ไหลเวียนไปในระบบหลอดเลือดอย่างปลอดภัยก่อนที่จะถูกกำจัดออกจากร่างกาย ทำให้หลอดเลือดเปิดกว้างมากขึ้นและการไหลของเลือดดีขึ้น

ปัจจุบัน ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว พร้อมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและหลอดเลือด ทีมพยาบาลที่ผ่านการอบรมทางด้านหัวใจ พร้อมเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ให้บริการทั้งการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cath lab) ที่สามารถตรวจภาวะหลอดเลือดตีบหรือตัน ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดทั้งชนิดปกติและชนิดเคลือบยาพิเศษ และด้วยการใช้หัวกรอเพชรความถี่สูง (Rotablator) การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Bypass) การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) การใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางหลอดเลือดแดง (TEVAR) เป็นต้น

ข้อมูลดีๆ จาก.. นพ.สุรพงษ์ วรสุวรรณรักษ์  อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด เฉพาะทางหัตถการปฏิบัติและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด แพทย์หัวหน้าศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad