มจธ. เตรียมผลักดันงานหัตถกรรม“เฮ็ดดิ” สู่ วิสาหกิจชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565

มจธ. เตรียมผลักดันงานหัตถกรรม“เฮ็ดดิ” สู่ วิสาหกิจชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)



 ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมภายใต้แบรนด์ “เฮ็ดดิ” จากฝีมือของคนพิการในชุมชนจาก หมู่บ้านใน ต.เต่างอย อ.เต่างอย จ.สกลนคร ที่ได้รับการอบรมบ่มเพาะทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ “หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพคนพิการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)” เริ่มเป็นที่รู้จักของผู้ที่ชื่นชอบงาน Craft และคนในพื้นที่มากขึ้น ล่าสุด เตรียมผลักดันไปสู่การจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนขึ้นภายในปี 2566 เป็นการสนับสนุนของ มจธ. ในเชิงการสร้างอาชีพให้คนพิการ และใช้เป็นโมเดลนำร่องให้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

ผศ. ดร.บุษเกตน์ อินทรปาสาน อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. กล่าวว่า หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น จ.สกลนคร ปีนี้เป็นปีที่ 2 มีคนพิการเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 12 คน ประกอบด้วยคนพิการทางการได้ยิน ด้านการเคลื่อนไหว และทางด้านการเรียนรู้ ฝึกอบรมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงธันวาคม 2565 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการมาตรา 35 โดยคนพิการจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และได้รับเบี้ยเลี้ยง อาหารกลางวัน และค่าเดินทางตลอดระยะเวลาในการฝึกอบรม

ผศ. ดร.บุษเกตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพคนพิการจัดขึ้นในพื้นที่บ้านนางอย ต.เต่างอย อ.เต่างอย จ.สกลนคร เนื่องจากเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ของ มจธ. ที่ต้องการผลักดันให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้และขยายผลออกไป โครงการนี้มีแผนการดำเนินงานในพื้นที่ ปี โดยในรุ่นแรก (พ.ศ. 2564) เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของอาจารย์ มจธ. พี่เลี้ยง และชุมชน ลองผิดลองถูกร่วมกัน ฝึกอบรมคนพิการด้านการถักทอ การย้อมสี การออกแบบลวดลาย, รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2565) เป็นการ Train the Trainer คือ มีคนพิการจากรุ่นแรกที่สนใจเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมในส่วนของการตลาด และยังทำหน้าที่เป็นผู้สอนคนอื่นต่อ และรุ่นที่ (พ.ศ. 2566) จะเป็นการสร้างผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Leadership) เป้าหมายเพื่อไปสู่การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเฮ็ดดิ ภายในปี 2566 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยมีสมาชิกกลุ่มคนพิการที่ผ่านการบ่มเพาะในหลักสูตรร่วมกันบริหารจัดการให้ยั่งยืนต่อไป และเมื่อจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว มจธ. จะยังคงเป็นพี่เลี้ยง และเป็นที่ปรึกษาต่อไปอีก 2 ปี เพื่อให้กลุ่มเกิดความเข้มแข็ง ก่อนที่จะนำ “เฮ็ดดิโมเดล” นี้ออกไปขยายผลสู่ชุมชนหรือพื้นที่อื่นๆ ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ โดยมีพื้นที่ที่สนใจติดต่อมา อาทิ อบต.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน และ ฮาลาบาลา จ.นราธิวาส เป็นต้น

ด้าน ผศ.วรนุช ชื่นฤดีมล อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า การฝึกอบรมของคนพิการรุ่นที่ ระยะเวลาการฝึกอบรม 600 ชั่วโมงต่อคน มีคนพิการที่ผ่านการอบรมทั้งสิ้น 11 คน การฝึกอบรมในรุ่นนี้เน้นการย้อมสีธรรมชาติจากพืชพันธุ์ท้องถิ่น เช่น ลิ้นฟ้า ฝักคูน ใบสัก สาบเสือ หูกวาง เพื่อให้ได้สีสันที่มีเอกลักษณ์ให้กับสินค้ามากขึ้น รวมถึงการสอนพื้นฐานความเป็นผู้ประกอบการ เช่น การจดบัญชี การทำการตลาด (ตั้งราคา การวิเคราะห์ตลาด โพสต์ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์) สอนโดยอาจารย์ศิริวัฒน์ คันทารส และอาจารย์ศิริพัฒน์ กล่ำกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ ส่งผลให้ระยะเวลาช่วงฝึกอบรมรุ่นที่ มีรายได้จากยอดการสั่งทำผลิตภัณฑ์เฮ็ดดิกว่า 110,000 บาท รวมทั้งยังมีรายได้จากการจัดทำ workshop ให้กับนักเรียนจากประเทศสิงคโปร์ในการทำไม้กวาด ถักเชือก การย้อมสี รวมกว่า 10 วัน ภายใต้ Oversea Immersion Program ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง มจธ. กับ Nanyang Academy of Fine Arts เพื่อนำผลงานไปต่อยอดจัดนิทรรศการที่ประเทศสิงคโปร์ต่อไป

ส่วนในรุ่นที่ 3 (พ.ศ. 2566) ขณะนี้มีคนพิการสมัครเข้ามาเต็มแล้ว จำนวน 12 คน เป็นรุ่นเก่า 4 คน และรุ่นใหม่ 8 คน จะปรับเปลี่ยนหลักสูตรเป็นการอบรมหลักสูตรนักพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อท้องถิ่น” เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบไม่เฉพาะงานหัตถกรรม เช่น อาหารแปรรูป และของใช้ ที่เป็นสิ่งที่คนพิการเข้าร่วมโครงการสนใจ แต่ยังคงเน้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติในพื้นที่ เน้นการสร้างผู้ประกอบการ การจัดบทบาทหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานในรูปแบบวิสาหกิจ เช่น ผู้จัดการ การตลาด การตรวจสอบคุณภาพสินค้า จัดซื้อ สต็อกสินค้า การเงิน และพีอาร์ เป็นต้น

แม้ว่าการทำงานของ มจธ. จากรุ่นที่ 1 และกำลังเปิดในรุ่นที่ ถือเป็นงานที่หนักและท้าทาย แต่เชื่อว่าการมีกลุ่ม “เฮ็ดดิ” จะทำให้คนพิการที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ได้พัฒนาศักยภาพที่ตัวเองมีอยู่ มีรายได้ มีโอกาสเข้ามารวมกลุ่มได้มาทำอะไรด้วยกัน และสามารถเป็นอาชีพต่อไปข้างหน้าได้ด้วย” ผศ.วรนุช กล่าว

สำหรับผู้สนใจผลิตภัณฑ์ “เฮ็ดดิ” สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/Heddicrafts

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad