วิศวะมหิดล ถ่ายทอดประสบการณ์ “การบริหารพัฒนาหลักสูตรเพื่อการรับรองจาก ABET” แก่ 15 สถาบันการศึกษาในภาคเหนือ - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566

วิศวะมหิดล ถ่ายทอดประสบการณ์ “การบริหารพัฒนาหลักสูตรเพื่อการรับรองจาก ABET” แก่ 15 สถาบันการศึกษาในภาคเหนือ

 




ในโอกาสที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพจัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ การยกระดับคุณภาพหลักสูตรเพื่อการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่การรับรองจาก ABET สำหรับกลุ่มมหาวิทยาลัยในภาคเหนือเมื่อเร็วๆนี้   รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้นำวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งได้รับการรับรองหลักสูตรมาตรฐานโลกจาก ABET แห่งสหรัฐอเมริกา ได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดประสบการณ์ เรื่อง“การบริหารและพัฒนาหลักสูตรเพื่อก้าวสู่การรับรองจาก ABET” แก่ 15 สถาบันการศึกษา ณ โรงแรมยูนิมมาน จ.เชียงใหม่

 


รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์
 คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากความสำเร็จของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับการรับรองคุณภาพหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มาตรฐานโลกจาก Accreditation Board for Engineering and Technology หรือ ABET แห่งสหรัฐอเมริกา พร้อมกันถึง หลักสูตร ป.ตรี ซึ่งนับว่ามากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ 1. หลักสูตรชีวการแพทย์ (นานาชาติ) 2. หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 3. หลักสูตรวิศวกรรมเคมี 4. หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล 5. หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า 6. หลักสูตรวิศวกรรมโยธา และปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมยื่นขอรับรองเพิ่มอีก 1 หลักสูตรคือ หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ” อีกด้วย

 


คณะวิศวะมหิดล มีความยินดีอย่างยิ่งในการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ในการปรับพัฒนาการศึกษาสู่ระดับสากล ซึ่งในปี 2566 มีหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 32 หลักสูตร จาก 15 สถาบันการศึกษาในภาคเหนือที่เข้าร่วมงานอบรมครั้งนี้และเตรียมขอการรับรองตามมาตรฐาน ABET สหรัฐอเมริกา (Accreditation Board for Engineering and Technology) เพื่อร่วมกันนำพามหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศไทย ให้ก้าวไปข้างหน้าในระดับสากลด้วยกัน ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในหลักการและกระบวนการของการประกันคุณภาพการศึกษา และวางแผนบริหารหลักสูตร พัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทยอย่างเป็นระบบตามกฏเกณฑ์ของคณะกรรมการ ABET เพื่อประโยชน์ต่อผู้เรียน สถาบันการศึกษา และประเทศชาติ

 

ภายในงานยังมีการแบ่งปันองค์ความรู้ในการยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาในหลายมิติอย่างครบถ้วน จากผู้เชียวชาญและสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (ATPAC) เช่น การประกันคุณภาพการศึกษาและการรับรองจาก ABET การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Student Outcome Assessment) การปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง  การเตรียมความพร้อมสู่การประเมินจาก ABET รวมทั้งการประเมินระดับกระบวนวิชา (Course Assessment)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad