สรท. วิตกปัญหาต้นทุนขนส่ง/ตู้สินค้าไม่เพียงพอ ฉุดการฟื้นตัวส่งออกไทย - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563

สรท. วิตกปัญหาต้นทุนขนส่ง/ตู้สินค้าไม่เพียงพอ ฉุดการฟื้นตัวส่งออกไทย


นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข่าวร่วมกับนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธาน นางจินตนา ศิริสันธนะ เลขาธิการ และนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร ณ ห้องประชุม 1 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ชั้น 32 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ เมื่อวันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2563 เวลา 10.30-12.00 น. ระบุการส่งออกเดือนสิงหาคม 2563 มีมูลค่า 20,212 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -7.94% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ ล้านบาท 635,219 หดตัว -5.43% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้าในเดือนสิงหาคม 2563 มีมูลค่า 15,862 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -19.68 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 505,383 ล้านบาท หดตัว -17.54% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ เดือนสิงหาคม 2563 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 4,349 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 129,836 ล้านบาท (การส่งออกเมื่อหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย เดือนสิงหาคมการส่งออกหดตัวร้อยละ -14.11) 

ขณะที่ ภาพรวมช่วงเดือนม.ค.- ส.ค. ปี 2563 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 153,374 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -7.75% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทที่ 4,777,201 ล้านบาท หดตัว -8.34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 134,981 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -15.31 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือคิดเป็นมูลค่า 4,257,868 ล้านบาท หดตัว -16.02% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ช่วงเดือน ม.ค.- ส.ค. 2563 ประเทศไทยเกินดุลการค้า  18,393 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 519,332 ล้านบาท (การส่งออกเมื่อหักทองคำและน้ำมันน้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย เดือนม.ค. – ส.ค. การส่งออกหดตัวร้อยละ -9.68)

การส่งออกในเดือนสิงหาคม กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวที่ -13.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) โดย สินค้าที่ขยายตัวได้ดีอยู่ คือ น้ำมันปาล์ม สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แต่สินค้ากลุ่มที่หดตัวคือ น้ำตาลทราย ยางพารา ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป ข้าว ขณะที่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวที่ -6.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) โดย กลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัว ได้แก่ ถุงมือยาง เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทองคำ ขณะที่สินค้ากลุ่มที่หดตัว อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ

ทั้งนี้ สรท. ปรับคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2563 หดตัว -10% ถึง -8% (ณ ตุลาคม 2563) โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ อุปสงค์ทั่วโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังจะเห็นได้จากตัวเลขดัชนีทางเศรษฐกิจในหลายส่วนเริ่มมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้เล็กน้อย อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายผลิตในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีค่าเกิน 50 (ขยายตัวสูงสุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562) ที่แสดงถึงการฟื้นตัวของกิจกรรมการผลิต และยอดคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกสินค้าทั่วโลกที่ขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ส่งผลให้การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพ อาทิ สินค้าอาหาร (ข้าวกลุ่มพรีเมียม ทูน่ากระป๋อง) สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานที่บ้าน (เครื่องใช้ไฟฟ้า) และสินค้าเพื่อการป้องกันการระบาดของโรค (ถุงมือยาง)

ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ 1) กำลังซื้อของผู้บริโภคทั่วโลกที่ยังมีความอ่อนแอ เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจทั่วโลกที่ตกต่ำในปัจจุบัน กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคหดตัว สะท้อนการหดตัวของการส่งออกในทุกกลุ่มสินค้า โดยจะเน้นการใช้จ่ายกับสินค้าที่จำเป็นและราคาไม่สูงมากนัก 2) ค่าเงินบาทที่ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จากผลของการซื้อสุทธิในตลาดทุนประเทศไทยและการอ่อนค่าโดยเปรียบเทียบของค่าเงินดอลลาร์ต่อค่าเงินบาทอันเนื่องมาจากการผ่อนคลายนโยบาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad