'คอนแทรคฟาร์ม' อาชีพไร้เสี่ยง สร้างสุขเกษตรกรไทย - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

'คอนแทรคฟาร์ม' อาชีพไร้เสี่ยง สร้างสุขเกษตรกรไทย

 


คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) หนึ่งในระบบการผลิตผลผลิต ที่เป็นข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา  คือ บริษัทผู้ประกอบการ กับเกษตรกร (หรือกลุ่มเกษตรกร) ซึ่งคนทั่วไปจะรู้จักรูปแบบการทำคอนแทรคฟาร์ม ที่ใช้ในการปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์ ระบบนี้มีข้อเด่นที่ “การลดความเสี่ยงด้านการตลาดและราคาที่ผันผวน” ผ่านการตกลงร่วมกันในการผลิตผลผลิตด้านการเกษตร โดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่เป็นระบบ มีการแบ่งหน้าที่กันทำอย่างอย่างชัดเจน  

 

ผู้ประกอบธุรกิจทำหน้าที่เป็นผู้จัดหาปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์พืช-พันธุ์สัตว์ เวชภัณฑ์ อาหาร ปุ๋ย ฯลฯ พร้อมถ่ยทอดเทคโนโลยีและวิธีการผลิตตามมาตรฐานเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพ มาตรฐานตามที่กำหนด ขณะที่เกษตรกรรับหน้าที่ดูแลด้านการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามข้อสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน โดยมีค่าตอบแทนตามความเหมาะสมและได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว  

 


เกษตรกรรุ่นใหม่อย่าง ทิพยวรรณ กันภัย เจ้าของ “ทิพยวรรณฟาร์ม” ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ หนึ่งในเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรขุน ในโครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อย หรือคอนเทรคฟาร์ม กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ จากอดีตเกษตรกรสวนส้มที่ตัดสินใจล้มต้นส้มกว่า 7 ไร่ หลังจากมีปัญหาโรคระบาดในส้มเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เล่าย้อนที่มาของการผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรเลี้ยงหมูว่า เมื่อสวนส้มเริ่มมีปัญหา จึงต้องมองหาอาชีพที่น่าจะทดแทนกัน จนมาเจอกับอาชีพเลี้ยงหมูกับซีพีเอฟ เธอได้หาข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งเรื่องการลงทุน ข้อสัญญา ผลตอบแทน และความเสี่ยงต่างๆ ก่อนจะสรุปกับตัวเองได้ว่า การเป็นเกษตรกรคอนแทรคฟาร์มนั้น “ไม่มีความเสี่ยง” แถมยังไม่ต้องกังวลกับเรื่องการหาตลาดเอง ผลตอบแทนมากน้อยขึ้นอยู่กับตัวเองลงมือทำและใส่ใจ จึงตัดสินใจร่วมโครงการฯ เมื่อปี 2553 เลี้ยงหมูขุนความจุรวม 640 ตัว  

 

  


“ไม่มีคำว่าโชคช่วยสำหรับการเลี้ยงหมู มีแต่คำว่าใส่ใจและดูแลหมูให้ดี เพื่อให้มีประสิทธิภาพการเลี้ยงที่ดี ด้วยเทคนิคการคัดแยกขนาดหมูให้ใกล้เคียงกันที่สุดตั้งแต่วันแรก และเอาใจใส่ดูแลให้ลูกหมูตัวเล็กโตทันเพื่อนให้ได้ มีการเสริมนมกับกล้วยสุกบ้าง ที่สำคัญคือการป้องกันโรคที่เข้มงวด ซึ่งถือว่าโชคดีมากที่ฟาร์มยกระดับเรื่องนี้ ตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน ที่ต้องป้องกันโรคสำคัญในหมูทั้ง ASF และ PRRS เมื่อเกิดโรคโควิด-19 ขึ้น จึงไม่กังวลเพราะระบบ Biosecurity ที่ฟาร์มดำเนินการนั้นแน่นหนาอยู่แล้ว และให้คนงานพักอาศัยในพื้นที่บ้านพักของฟาร์ม เพื่อลดความเสี่ยงจากทั้งโรคคนและโรคสัตว์ เป็นการสร้างความมั่นใจในมาตรฐานอาหารปลอดภัยอีกขั้นหนึ่ง ความทุ่มเทตลอด 12 ปีที่ผ่านมา โดยมีซีพีเอฟเคียงข้างกันมาและถ่ายทอดทุกๆเทคนิค เพื่อให้เราเติบโตขึ้น เข้มแข็งขึ้น ปรากฎผลชัดเจนในวันนี้ เรามีอาชีพที่ดี ปลอดจากความเสี่ยง ได้รายได้ที่เหมาะสมตามกำลังที่เราทุ่มเทไป เท่านี้ก็มีความสุขมากแล้ว” ทิพยวรรณ บอกด้วยรอยยิ้ม 

 


สอดคล้องกับ รุ่งทิพย์ เพ็ชร์ลมุล เจ้าของ “หอมชื่นคอนกรีตฟาร์ม” ต.ท่าชมวง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มเลี้ยงหมูพันธุ์กับซีพีเอฟ เล่าย้อนว่าเมื่อปี 2542 หลังจากเรียนจบประมาณ 2 ปี เธอมีความคิดอยากมีอาชีพที่เป็นเจ้านายตัวเอง ได้อยู่บ้านดูแลพ่อที่ป่วย ได้เลี้ยงลูกที่กำลังเล็ก พอดีเพื่อนบ้านเลี้ยงหมูกับบริษัทอยู่แล้วจึงสนใจเข้าไปศึกษา พบว่ามีความเป็นไปได้แลตอบโจทย์ที่ต้องการแถมยังไม่ต้องเสี่ยงกับตลาดที่ผันผวน มีรายได้ทุกเดือน และรายได้จากการจับหมูขายตามประสิทธิภาพของตัวเอง จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการทันที เริ่มจากเลี้ยงหมูแม่พันธุ์ 150 แม่ และขยายอีกเท่าตัวเป็น 300 แม่ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว  

 

“ตลอด 20 กว่าปีที่ร่วมงานกับบริษัท เป็นสิ่งยืนยันว่า อาชีพนี้มีความมั่นคงยั่งยืน และไม่มีความเสี่ยงด้านการตลาด เพราะบริษัทเป็นตลาดรองรับผลผลิตทั้งหมด มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดูแลทุกอย่าง ยิ่งช่วงที่มีโรคโควิด-19 ความใส่ใจในการป้องกันโรคที่ดีอยู่แล้วจากมาตรการป้องกันโรคหมู ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ อย่างเช่นคนงานก็จะจัดที่พักให้ ทำให้พวกเขาไม่ต้องออกไปเสี่ยง สัตวแพทย์ของซีพีเอฟ และปศุสัตว์อำเภอก็จัดอบรมการป้องกันโรคและติดตามสุขภาพสัตว์ต่อเนื่อง ที่สำคัญคือการใส่ใจในมาตรฐานการผลิต เพราะเราเป็นต้นทางของอาหารปลอดภัย เมื่อทุกอย่างได้รับการดูแลอย่างดี ผลผลิตที่ได้จึงดีมาก รายได้ก็ดีตามไปด้วย คนเลี้ยงก็มีความสุข บริษัทก็มีหมูคุณภาพดีไปขาย นำไปแปรรูป คนกินก็ได้อาหารปลอดภัย นี่คือระบบที่ Win-Win  ทุกฝ่ายจริงๆ” รุ่งทิพย์ สรุปไว้อย่างน่าสนใจ 


 



‘คอนแทรคฟาร์ม’ คือภาพสะท้อนการร่วมกันทลายปัญหาของเกษตรกรที่มีมาตลอด ทั้งเรื่องปัญหาการตลาดที่เกษตรกรต้องแบกรับภาระการจัดหารตลาดเอง การเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างจำกัด ระบบนี้เข้ามาจัดการด้านการตลาด ทำให้เกษตรกรปลอดความเสี่ยง คลายภาระเกษตรกรที่ต้องแบก และพวกเขายังได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ดีจากบริษัท เป็นความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมและการทำงานร่วมกันเพื่อเป้าหมายเดียวคือ การสร้างอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภค./ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad