สรท. เชื่อมั่นส่งออกบินสูง วอนรัฐเร่งฉีดวัคซีน นำเข้าตู้เปล่า ลดต้นทุนขนส่ง เพิ่มแรงงานสู่ภาคการผลิต - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สรท. เชื่อมั่นส่งออกบินสูง วอนรัฐเร่งฉีดวัคซีน นำเข้าตู้เปล่า ลดต้นทุนขนส่ง เพิ่มแรงงานสู่ภาคการผลิต


 วันที่ 1 มิ.ย. 2564 เวลา 10.30-12.00 น. ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข่าวร่วมกับ นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ที่ปรึกษา สรท. นายสุภาพ สุวรรณพิมลกุล รองประธาน สรท. และนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สรท. ระบุ การส่งออกเดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 21,429 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 13.09% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 656,592 ล้านบาท ขยายตัว 6.93% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้าในเดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 21,246 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 29.79% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 660,063 ล้านบาท ขยายตัว 22.87% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ เดือนเมษายน 2564 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 182 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และขาดดุล -3,470 ล้านบาท (การส่งออกเมื่อหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย เดือนเมษายน การส่งออกขยายตัวร้อยละ 25.7)


ภาพรวมช่วงเดือนม.ค. - เม
.. ปี 2564 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 85,577 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 4.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทที่ 2,564,525 ล้านบาท ขยายตัว 1.82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 84,879 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 13.85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือคิดเป็นมูลค่า 2,580,092 ล้านบาทขยายตัว 10.80% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ช่วงเดือน ม.ค.- เม.ย. 2564 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 698 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และขาดดุล -15,567  ล้านบาท (การส่งออกเมื่อหักทองคำและน้ำมันน้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย เดือนม.. – เม.ย. การส่งออกขยายตัว 11.58%)

ทั้งนี้ สรท. คงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2564 เติบโตร้อยละ 6-7 (ณ เดือนมิถุนายน 2564) โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญในปี 2564 ได้แก่ 1) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก 1.1) การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ สหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าพุ่งสูงขึ้นเนื่องด้วยผู้ผลิตในประเทศไม่สามารถผลิตสินค้าให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น อุตสาหกรรมหลายแห่งเริ่มเกิดภาวะการขาดแคลนแรงงาน 1.2) ความคืบหน้าการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก และ 1.3) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายการผลิตโลก (world PMI index) ที่เพิ่มสูงระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี สะท้อนถึงการฟื้นตัวของกิจกรรมการผลิตสอดคล้องกับทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก 2) ราคาสินค้าในตลาดโลกมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน อาทิ ยางพาราแปรรูปขั้นต้น ผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางราคาน้ำมันดิบและอุปสงค์ในตลาดโลกที่ขยายตัวจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้มูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มดังกล่าวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1/2021

ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564 ได้แก่ 1) สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่มีความรุนแรงทั้งในประเทศและกลุ่มประเทศในอาเซียน ซึ่งอาจส่งผลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ล่าช้าออกไป 2) ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลนและอัตราค่าระวางที่ทรงตัวในระดับสูง 2.1) การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และ Space Allocation แม้ภาครัฐของไทยมีประกาศอนุญาตให้เรือใหญ่ขนาด 400 เมตร เข้ามาในประเทศไทยได้และส่งผลให้มีการนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์เปล่าเข้ามาเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามปริมาณตู้เปล่ายังไม่เพียงพอ ซึ่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกในการส่งสินค้าให้กับประเทศปลายทางที่เป็นคู่ค้าสำคัญ ประกอบกับสายเรือยังคงมีการจัดสรรตู้คอนเทนเนอร์ (space allocation) ส่วนใหญ่ให้กับจีนและเวียดนาม เนื่องจากมีความสามารถในการจ่ายค่าระวางในอัตราที่สูงกว่าประเทศไทย ทำให้ผู้ประกอบการไทยประสบปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ต่อเนื่อง 2.2) ค่าระวางที่อยู่ในทิศทางขาขึ้น ค่าระวางมีการปรับขึ้นในเกือบทุกเส้นทางโดยเฉพาะเส้นทางสหภาพยุโรป ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นทะลุระดับ 17,000 USD/FEU รวมถึงเส้นทางอื่น เช่น สหรัฐฯ ที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง เนื่องด้วยปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว 3) สถานการณ์ความผันผวนของวัตถุดิบที่สำคัญ 3.1) ชิปขาดแคลน ส่งผลกระทบเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ต้องชะลอการผลิตเนื่องด้วยจำนวนสินค้าคงคลังที่เริ่มลดลงและ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าจะกระทบอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก รวมทั้งไทย มีแนวโน้มว่าสถานการณ์อาจยืดเยื้อไปถึงไตรมาสที่ 4 3.2) สถานการณ์ราคาเหล็กในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น จากการที่จีนปรับลดกำลังการผลิตเหล็กมากกว่าครึ่ง ทำให้เกิดภาวะ Short Supply ส่งผลกระทบต่อต้นทุนภาคการผลิตที่ต้องใช้วัตถุดิบเหล็กในการผลิต อาทิ บรรจุภัณฑ์โลหะ (อาหาร/เครื่องดื่มบรรจุกระป๋อง) การก่อสร้าง ยานยนต์ เครื่องจักรกล เป็นต้น และ 4) สถานการณ์ขาดแคลนแรงงาน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศจำนวนมากและไม่ยังไม่ได้เดินทางกลับเข้ามา ซึ่งส่งกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคเกษตรที่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานประมาณ 2-3 แสนคน และรวมถึงผลต่อการต้องชะลอคำสั่งซื้อจากต่างประเทศออกไป

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้ 1) เร่งรัดการฉีดวัคซีนในภาคโลจิสติกส์และภาคการผลิต โดยเฉพาะ ท่าเรือ ท่าอากาศยาน หรือจุดเสี่ยงที่เป็น Gateway สำคัญของประเทศ 2) เร่งให้มีนำเข้าตู้เปล่าเข้ามาเพิ่มเติมโดยเร็วและบริหารจัดการ Space Allocation เนื่องปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเริ่มฟื้นตัวในระดับสูง และภาคเอกชนไทยมีความพร้อมและมีศักยภาพที่จะส่งออก จึงขอให้ภาครัฐทำการเช่าเรือ เพื่อไปนำตู้สินค้าเปล่าจากประเทศที่มีตู้ตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก กลับเข้ามาในประเทศไทย ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าการส่งออกทั้งปีอาจเติบโตได้ถึง 10-15% ภายใต้เงื่อนไขประเทศไทยต้องมีตู้คอนเทนเนอร์เปล่า เฉลี่ยประมาณ 2.01 - 2.25 ล้าน TEU/ปี (หรือ 1.76-2.07 แสนTEU/เดือน) การจัดสรรพื้นที่ (Space Allocation) และค่าระวางอยู่ในอัตราที่เหมาะสม เพื่อให้เพียงพอและรองรับต่อการเติบโตของภาคการส่งออก 3) เร่งนำแรงงานเข้าสู่ภาคการผลิต โดยเร่งรัดการหารือเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและเงื่อนไขรูปแบบการจ้างแบบ Part time ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งในเรื่องของอัตราจ้าง ชั่วโมงการทำงาน และสวัสดิการที่นายจ้างและลูกจ้างได้ประโยชน์ร่วมกัน และ 4) เร่งปรับลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ อาทิ ภาษีสินค้าเหล็กในการภาคการผลิต รวมถึงต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบและการส่งออกสินค้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad