ส.อ.ท. เปิดผลสำรวจ “Lockdown อย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสาธารณสุข” - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส.อ.ท. เปิดผลสำรวจ “Lockdown อย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสาธารณสุข”

 


วันอังคารที่ 31 สิงหาคม 2564 นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผล           การสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 9 ในเดือนสิงหาคม 2564 ภายใต้หัวข้อ “Lockdown อย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสาธารณสุข” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มองว่า มาตรการล็อกดาวน์ที่ภาครัฐดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนั้น สามารถควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ในขอบเขตที่จำกัด สาเหตุนั้นเกิดจากความไม่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น กรณีการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย โดยผู้บริหาร ส.อ.ท. เห็นว่าควรมีการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ให้ผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 เข็ม สามารถเข้าใช้บริการร้านอาหารและกิจการบางประเภทได้ ควบคู่กับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดตามประวัติการเดินทาง ควบคุมผู้มีความเสี่ยง และระบบรับรองผู้ได้รับวัคซีน 2 เข็ม (Certificate of Entry) รวมทั้งมีการตรวจและติดตามเชิงรุกเพื่อคัดแยกตัวผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังเสนอให้ภาครัฐเร่งใช้งบประมาณในการจัดหาและสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อชุดตรวจโควิด-19 Antigen test kit ให้แก่โรงงาน เพื่อสุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อตามมาตรการ Bubble and Seal ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในภาคอุตสาหกรรม

 


จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (
CEO Survey) จำนวน 201 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก

45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 75 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 9 จำนวน 7 คำถาม ดังนี้

 

1.มาตรการ Lockdown ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน สามารถแก้ปัญหาการแพร่ระบาดได้ในระดับใด

อันดับที่ 1 : ควบคุมการแพร่ระบาดได้ในขอบเขตที่จำกัด                      78.1%

อันดับที่ 2 : ไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้                              15.4%

อันดับที่ 3 : ควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ                     6.5%

 

2.สาเหตุใดที่ส่งผลทำให้มาตรการ Lockdown ไม่สามารถควบคุมอัตราการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อันดับที่ 1 : ขาดความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย        72.6%     

อันดับที่ 2 : ความไม่ชัดเจนในแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่                                     65.2%

อันดับที่ 3 : ขาดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน                                            60.2%

อันดับที่ 4 : ขาดมาตรการสนับสนุนสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนอยู่กับบ้าน                               52.2%

 

3.แนวทางใดจะช่วยทำให้การ Lockdown เกิดความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสาธารณสุข

อันดับที่ 1 : ผ่อนปรนให้ผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 เข็ม สามารถเข้าใช้บริการได้ เช่น ร้านอาหาร สถานเสริมความงาม ฯลฯ 73.6%         

อันดับที่ 2 : นำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดตามประวัติการเดินทาง ควบคุมผู้มีความเสี่ยง และระบบรับรองผู้ได้รับวัคซีน 2 เข็ม 69.7%  

อันดับที่ 3 : การตรวจและติดตามเชิงรุกเพื่อคัดแยกตัวผู้ป่วยออกจากสังคม 68.7%

อันดับที่ 4 : อนุญาตให้เปิดธุรกิจบริการบางประเภท โดยจำกัดขนาดพื้นที่ต่อจำนวนคน และห้ามกิจกรรมรวมหมู่ 68.2%

                       

4.ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdown ควรได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างไร

อันดับที่ 1 : พักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ย สำหรับกิจการที่ถูกสั่งปิดฯ เป็นระยะเวลา 6 เดือน                         81.1%

อันดับที่ 2 : ชดเชยค่าจ้างขั้นต่ำตามจำนวนแรงงานให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อรักษาการจ้างงาน                           75.1% 

อันดับที่ 3 : สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการประกอบการแก่ SME ในอัตราร้อยละ 50  (มาตรการคนละครึ่ง-ภาค SME)           65.7%

อันดับที่ 4 : ยกเว้นภาษีนิติบุคคลให้ธุรกิจ SME เป็นระยะเวลา 3 ปี สำหรับผู้ที่เข้าระบบภาษี E-Tax                   62.7% 

                       

5.การผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ควรเริ่มดำเนินการเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดอยู่ในระดับใด

อันดับที่ 1 : ผู้ติดเชื้อ ต่ำกว่า 10,000 คนต่อวัน    36.8%

อันดับที่ 2 : ผู้ติดเชื้อ ต่ำกว่า 20,000 คนต่อวัน    26.4%

อันดับที่ 3 : ผู้ติดเชื้อ ต่ำกว่า 5,000 คนต่อวัน     24.9%

อันดับที่ 4 : ผู้ติดเชื้อ ต่ำกว่า 1,000 คนต่อวัน     11.9%

 

6.รัฐควรผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในกลุ่มธุรกิจใดบ้าง เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ

อันดับที่ 1 : ร้านอาหาร                               91.0%

อันดับที่ 2 : ห้างสรรพสินค้า และร้านค้า            80.6%

อันดับที่ 3 : การท่องเที่ยวภายในจังหวัด           70.1%

อันดับที่ 4 : การก่อสร้าง                              65.2%

อันดับที่ 5 : ธุรกิจการบิน                             48.3%

อันดับที่ 6 : กีฬา และสันทนาการบางประเภท     47.3%

 

7.การควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณในเรื่องใด

อันดับที่ 1 : จัดหาและสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อชุดตรวจ ATK ให้แก่โรงงาน เพื่อสุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อตามมาตรการ Bubble and Seal        91.0%           

อันดับที่ 2 : จัดให้มี Mobile Units ฉีดวัคซีนให้แก่แรงงาน ณ สถานประกอบการ  72.1%

อันดับที่ 3 : สนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้ง Factory Quarantine และ Factory Accommodation Isolation ภายในโรงงาน 70.6%          

อันดับที่ 4 : จ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ประกอบการในกรณีที่ถูกสั่งปิดกิจการ  62.7%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad