CUNM ร่วมกับ Medtronic พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทางด้านการแพทย์ระดับภาคพื้นเอเชีย เปิดศูนย์ฝึกอบรมทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

CUNM ร่วมกับ Medtronic พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทางด้านการแพทย์ระดับภาคพื้นเอเชีย เปิดศูนย์ฝึกอบรมทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร


 


เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 : คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร หรือ Center of Excellence in Neurogastroenterology and Motility Chulalongkorn University (CUNMร่วมกับ บริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เปิดตัว ศูนย์ฝึกอบรมทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร (ภาคพื้นเอเชีย) ซึ่งเป็นสถานที่ฝึกอบรมและให้ความรู้เฉพาะทางแก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรการแพทย์จากประเทศไทย และหลากหลายประเทศในเอเชียแปซิฟิก โดยมี รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คุณรานีวรรณ รามศิริ รองประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด และ ศ.นพ. สุเทพ กลชาญวิทย์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม 1301 โซน ชั้น 13 อาคาร

ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

                                            


 


รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์
 คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีองค์ความรู้และความสามารถในการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพในประเทศไทย โดยมีนโยบายสนับสนุนการจัดประชุมและอบรมทางวิชาการต่าง ๆ เพื่อให้แพทย์ที่สําเร็จการศึกษาไปแล้วได้กลับเข้ามารับความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องผ่านหลากหลายช่องทางการเรียนรู้ที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการเรียนรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน

 


ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร หรือ 
CUNM ถือได้ว่ามีส่วนสําคัญ ในการบุกเบิกและพัฒนาการให้บริการผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนทางด้านโรคระบบทางเดินอาหารที่ครบวงจร และยังสามารถเป็นศูนย์การเรียนการสอน เป็นสถาบันฝึกอบรมและผลิตแพทย์ ที่ทันสมัยที่สุดอีกที่หนึ่งในประเทศไทย โดยได้ก่อตั้งและเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2546

 

นับว่าเป็นโอกาสอันดีอย่างยิ่งที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท เมดโทรนิค
(ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมมือในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทางด้านการแพทย์ระดับภาคพื้นเอเชีย เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในการรักษาโรคทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งๆ ขึ้น และมีเป้าหมายร่วมกันที่จะเป็นสถาบันต้นแบบทางการการแพทย์และถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งในและต่างประเทศที่ได้มาตรฐานในระดับสากล โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการยกระดับการเรียนรู้ และการรักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

 


ด้านคุณรานีวรรณ รามศิริ รองประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า 
เมดโทรนิคเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตจำหน่ายและให้บริการด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ชั้นนำระดับโลก เรามีความมุ่งมั่นในการแก้ไขความท้าทายทางด้านสุขภาพ ในการบรรเทาความเจ็บปวดจากโรคภัยต่าง ๆ ส่งเสริมให้ประชากรทุกคนมีสุขภาพที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เมดโทรนิคได้ดําเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี

เราเป็นผู้นําระดับโลกทางเทคโนโลยีด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยมีพนักงานมากกว่า 90,000 คนทั่วโลก เพื่อช่วยนำเทคโนโลยีสุขภาพระดับโลก มาส่งให้ถึงมือของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการรักษาคนไข้ในประเทศไทย ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ การรักษาที่มีประสิทธิภาพและบริการที่ดีที่สุด ใน กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ 1. Cardiovascular Portfolio 2. Medical Surgical Portfolio, 3. Neurosciences Portfolio และ 4. Diabetes Portfolio

 


“ตั้งแต่ปี
 พ.ศ. 2544 บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐและผู้ให้บริการด้านสุขภาพในทุกภาคส่วน ผ่านหลากหลายโครงการความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทางการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในด้านการส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี การอบรมบุคลากรที่มีคุณภาพในการทำหัตถการที่มีความซับซ้อน เพิ่มบุคลากรที่มีความรู้และทักษะไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพิ่มการเข้าถึงการรักษาที่มีทันสมัยให้กับประชาชน ขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านงานวิจัย ยกระดับศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งล้วนถือเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาของระบบสาธารณสุขของประเทศไทยให้อยู่ในระดับสากล และในปี พ.ศ. 2565 นี้ เมดโทรนิค (ประเทศไทยจึงมีเป้าหมายที่จะร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการร่วมกันจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารระดับภาคพื้นเอเชีย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการเข้าถึงการเรียนรู้สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ” คุณรานีวรรณ กล่าว

 

ปัจจุบันการตรวจทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารนี้ ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีความสำคัญและมีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคกรดไหลย้อน โรคท้องผูกเรื้อรัง และการขับถ่ายผิดปกติ โดยการตรวจดังกล่าวจะบอกถึงกลไกการเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ เพื่อรักษาได้ตรงตามสาเหตุที่พบได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อย่างไรก็ดีเนื่องด้วยเป็นการตรวจแบบใหม่ ปัจจุบันจึงยังขาดแพทย์ที่มีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์การตรวจดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในฐานะของผู้ให้บริการ คิดค้นและวิจัยเทคโนโลยีสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) มีความภูมิใจที่จะนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ สามารถได้รับองค์ความรู้ พัฒนาทักษะการทำหัตถการ และการใช้เครื่องมือให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ที่จะมอบประสบการณ์ในการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการอบรมที่มีคุณภาพของคณาจารย์จากศูนย์ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ และเรายังมองเห็นโอกาสในการต่อยอดความร่วมมือในครั้งนี้ ไปยังหัตถการที่มีความสำคัญอื่น ๆ อีกมากมายในอนาคต

 

ทางบริษัทฯ มีความยินดี และพร้อมจะสนับสนุนโครงการความร่วมมือ ในการพัฒนาองค์ความรู้ลักษณะนี้กับทุกสถาบัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย ทั้งทางด้านการศึกษา การแพทย์ และสังคมไทย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยแบบยั่งยืน และเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีสุขภาพของประชาชนไทยได้มากขึ้นในอนาคต

                                                  


 

ศ.นพ.สุเทพ กลชาญวิทย์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรคความผิดปกติเกี่ยวกับระบบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร สามารถเกิดได้ตั้งแต่การกลืนหรือหลอดอาหารไปจนถึงทวารหนัก ได้แก่ ภาวะกลืนลำบากที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเนื้องอกหรือหลอดอาหารอุดตัน โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง โรคลำไส้แปรปรวน โรคท้องผูกเรื้อรังและโรคที่เกี่ยวกับการขับถ่ายผิดปกติ เช่น กลั้นอุจจาระไม่ได้ ถ่ายอุจจาระไม่สุด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้มีความสำคัญ และเนื่องจากประชากรชาวไทยและทั่วโลกเป็นโรคเหล่านี้ในแต่ละโรค  ในอัตราที่สูงประมาณร้อยละ 15-25 ของประชากร โดยในปัจจุบันการรักษาโรคเหล่านี้ ยังมีการรักษาที่ไม่เหมาะสมในผู้ป่วยจำนวนมาก ผู้ป่วยยังคงต้องรับยาต่อเนื่องอย่างไม่เหมาะสม ทั้งที่โรคสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุที่ชัดเจนและรักษาที่สาเหตุนั้น ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรทางการแพทย์มาก ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น โรคท้องผูกเรื้อรัง ถือเป็นศูนย์แห่งแรกที่สามารถพัฒนาขั้นตอนการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรังที่เป็นขั้นตอนที่เข้าใจง่ายทั้งผู้ป่วยและผู้ให้การรักษาและมีการเผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ รวมทั้งโรคกรดไหลย้อน โรคลำไส้แปรปรวนและภาวะท้องอืดเรื้อรัง  

 

           


ทั้งนี้คาดว่าหลักสูตรการเรียนรู้ที่จัดเตรียมขึ้นและดำเนินการใน
ศูนย์ฝึกอบรมทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร (ภาคพื้นเอเชีย) นี้ จะช่วยทำให้การดูแลรักษาคนไข้ในกลุ่มต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น จะได้รับการรักษาที่ดีขึ้นส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถลดค่าใช้จ่ายทั้งภาครัฐและภาคครัวเรือน

 

 


ความร่วมมือระหว่างศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และบริษัทเมดโทรนิค จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยได้ทบทวนองค์ความรู้ ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะต่าง ๆ ข้างต้นได้ลึกซึ้งขึ้น  ซึ่งจะทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาเกี่ยวกับภาวะต่าง ๆ เหล่านี้มากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการให้บริการ เพื่อเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลที่แพทย์จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มารับการฝึกอบรมให้สามารถกลับไปทำหัตถการต่าง ๆ ได้ตามแนวทางมาตรฐาน อันจะส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad