ความหวังสุดท้ายฟื้นเศรษฐกิจไทย ต้องเร่งผลักดันการส่งออกให้เติบโต 7% สรท. เสนอรัฐเร่งรัดนำเข้าตู้เปล่า 1.8 ล้านทีอียู เร่งแก้ไขปัญหาแหลมฉบังแออัด จัดหาแรงงานเพียงพอ สร้างเสถียรภาพค่าเงินบาท - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ความหวังสุดท้ายฟื้นเศรษฐกิจไทย ต้องเร่งผลักดันการส่งออกให้เติบโต 7% สรท. เสนอรัฐเร่งรัดนำเข้าตู้เปล่า 1.8 ล้านทีอียู เร่งแก้ไขปัญหาแหลมฉบังแออัด จัดหาแรงงานเพียงพอ สร้างเสถียรภาพค่าเงินบาท


 ดร. ชัยชาญ เจริญสุข Ph.D.Chaichan Chareonsuk ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข่าวร่วมกับนางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ที่ปรึกษา สรท. นายสุภาพ สุวรรณพิมลกุล รองประธาน สรท. และนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สรท. ผ่านช่องทาง “Google Hangouts meet” วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2564 เวลา 10.30-12.00 น. การส่งออกเดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่า 24,222 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 8.47% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 719,050 ล้านบาท ขยายตัว 4.05% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้าในเดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่า 23,511 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 14.12% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า  708,095 ล้านบาท ขยายตัว 9.52% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ เดือนมีนาคม 2564 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 710 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 10,955 ล้านบาท (การส่งออกเมื่อหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย เดือนมีนาคม การส่งออกขยายตัวร้อยละ 11.97)

ทั้งนี้ สรท. ปรับคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2564 เติบโตร้อยละ 6-7 (ณ เดือนพฤษภาคม 2564) โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญในปี 2564 ได้แก่ 1) การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 1.1) การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ สหรัฐอเมริกา การขยายตัวของตัวเลขทางเศรษฐกิจ อาทิ ตัวเลขการว่างงานที่ลดลงจนถึงระดับก่อนเกิดการระบาดโควิด-19 ยอดค้าปลีกที่เพิ่มสูงขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกลางสหรัฐ 1.8 ล้านล้านดอลลาสหรัฐ ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อชองประชาชน จีน การขยายตัวของ GDP แข็งแกร่งมากใน Q1/2021 จากการบริโภคในประเทศที่กลับมาฟื้นตัวและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ประกอบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ ทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าเพื่อภาคการผลิตเพิ่มขึ้น 1.2) ดัชนีภาคการผลิต (PMI) ทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุด ที่ระดับค่าเฉลี่ย 55 สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงในหลายประเทศทั่วโลก 2) มูลค่าและปริมาณการส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการขยายตัวในระดับสูงของสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์และส่วนประกอบ รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ ทำให้การส่งออกสามารถขยายตัวได้สูงสุดในรอบ 28 เดือน นับจากเดือนพฤศจิกายน 2561 3) ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากความเชื่อมั่นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีผลบังคับใช้ทั่วโลกและการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่รวดเร็วในปลายประเทศ สนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์การใช้น้ำมัน ประกอบกับอุปทานที่ลดลงจากสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง ส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อการส่งออกกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันในเดือนมีนาคม อาทิ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป เป็นต้น 4) ค่าเงินบาทที่ทรงตัวในกรอบการอ่อนค่า เนื่องด้วยดอลลาร์สหรัฐมีทิศทางแข็งค่า หลังตัวเลข GDP ไตรมาส 1/64 ของสหรัฐออกมาดีสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ จากตัวเลขการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เติบโตต่อเนื่อง

ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564 ได้แก่ 1) ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลนและอัตราค่าระวางที่ทรงตัวในระดับสูง 1.1) การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และ Space Allocation ในเส้นทางยุโรปและ US East Coast รวมถึงปัญหา Congestion ในส่วนของ Inland ในเส้นทาง US West Coast ทำให้บางสายเรือมีการงดรับ Booking ท่าเรือที่เป็น Inland Port ชั่วคราว โดยสามารถรับจองระวางเพียงแค่ Base Port ได้เท่านั้น 1.2) ค่าระวางที่ทรงตัวในระดับสูงในหลายเส้นทาง อาทิ US West Coast / East Coast และ Europe รวมถึงการเก็บเพิ่มค่า Surcharge ในบางเส้นทาง อาทิ Low Sulphur Surcharge ในเส้นทาง Jebel Ali (ดูไบ) และ Peak Season Surcharge ของตู้ Reefer ในเส้นทางยุโรป เป็นต้น 1.3) ความแออัดในท่าเรือแหลมฉบังที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้สภาพการจราจรภายในท่าติดขัดยาวนาน ส่งผลกระทบเป็นห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงต้นทุนการขนส่ง ค่าใช้จ่ายยกขนตู้สินค้า เสียค่าล่วงเวลาการเช่ารถหัวลากมารับสินค้า การบริหารจัดการสินค้านำเข้าเพื่อป้อนสู่โรงงาน และสินค้าขาออกตกเรือ ทำให้ไม่สามารถส่งสินค้ากับลูกค้าปลายทางได้ทันตามกำหนด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม เนื่องจากการส่งออกเป็นรายได้หลักของประเทศ 2) การระบาดโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย เนื่องด้วยมีการกลับมีการระบาดและการกลายพันธุ์ของไวรัสในประเทศคู่ค้าสำคัญหลายประเทศ อาทิ อินเดีย สหภาพยุโรป ที่ยังมีความรุนแรงซึ่งอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชนรวมถึงแนวโน้มการฟื้นตัวและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงเศรษฐกิจยูโรโซน Q1/64 อยู่ที่ขยายตัว 0.6% ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 3) สถานการณ์วัตถุดิบขาดแคลน 3.1) สถานการณ์การขาดแคลนชิป ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในส่วนชิปควบคุมและประมวลผลชั้นสูง (Microcontroller) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ควบคุมการทำงานในส่วนต่างๆ ของรถยนต์ ส่งผลให้ค่ายรถบางแห่งเริ่มประกาศชะลอการผลิตและส่งมอบรถในบางรุ่นออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับ Stock สินค้าของแต่ละผู้ผลิต 3.2) ราคาเหล็กในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องด้วยการลดกำลังการผลิตราว 50% ของจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกจากมาตรกาควบคุมมลภาวะทางอากาศ ทำให้เกิดภาวะ Short Supply ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ การก่อสร้าง ยานยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า และบรรจุภัณฑ์โลหะ เป็นต้น และ 4) สถานการณ์ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวในกลุ่ม Unskilled labor จากผลกระทบของโควิด-19 เป็นอุปสรรคต่อการเข้าออกของแรงงานต่างด้าว ซึ่งการขาดแคลนดังกล่าวเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องด้วยกิจกรรมการผลิตและการส่งออกหลายๆ อุตสาหกรรม อาทิ ผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหาร ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เริ่มฟื้นตัวจากแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ทำให้บางอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับลดกำลังการผลิตลง

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้ 1) เร่งแก้ไขปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน ภาครัฐจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน โดยส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำเข้าตู้เปล่าเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในปี 2021 สรท. คาดว่าประเทศไทย ต้องนำเข้าตู้เปล่าเข้ามาจำนวนทั้งสิ้น 1,865,248 TEUs ให้เพียงพอรองรับการส่งออกที่จะพลิกฟื้นกลับมา 2) เร่งแก้ไขปัญหาความแออัดในท่าเรือแหลมฉบัง 2.1) ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือขนถ่ายสินค้าในท่าเทียบเรือให้เพียงพอต่อความต้องการ และให้การท่าเรือฯ 2.1.1) กำหนดตัวชี้วัดการให้บริการของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือในด้าน Inland Transport อาทิ Truck/Train Turnaround Time, Number of gate moves per hour 2.1.2) ส่งเสริมการลงทุนอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าในแต่ละท่าเทียบเรือให้เพียงพอต่อปริมาณสินค้าผ่านท่า 2.2) จัดลานกองตู้กลาง (Container Yard: CY) ในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่วางตู้ในท่าเทียบเรือไม่เพียงพอ โดยให้รถบรรทุกนำตู้มารับส่งใน CY กลาง และให้ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือมารับ-ส่งตู้สินค้า จากลาน CY ดังกล่าวไปยังแต่ละท่าเทียบเรือ จะทำให้รถบรรทุกสามารถวิ่งไปรับงานต่อได้ โดยไม่ต้องจอดติดการจราจรในพื้นที่ท่าเรือ 2.3) เพิ่มสัดส่วนการทำ Truck Queuing เป็นอย่างน้อย 90% จากปริมาณรถบรรทุกที่เข้าใช้บริการท่าเรือแหลมฉบังทั้งหมด กำหนดแนวทางการให้ส่วนลดแก่รถบรรทุกที่เข้าใช้บริการในช่วงเวลาไม่เร่งด่วน เพื่อกระจายการจราจร 2.4) พัฒนาระบบการขนส่งทางราง โดยเฉพาะเร่งรัดโครงการ SRTO ให้สามารถดำเนินการได้เต็มประสิทธิภาพ 2.4.1) เร่งรัดการลงทุนอุปกรณ์ขนถ่าย 2.4.2) บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่าง ท่าเรือแหลมฉบัง SRTO ICD ลาดกระบัง ผู้ประกอบการท่า 2.5) เร่งรัดการพัฒนาระบบ Port Community System (PCS) เพื่อให้มีการแจ้งข้อมูลสถานะเรือไปยังผู้ นำเข้า/ส่งออกแบบ Real Time ซึ่งจะช่วยให้ระบบโซ่อุปทาน (Supply chain) ภาคการผลิต โรงงานคลังสินค้า ผู้นำเข้า-ผู้ส่งออก และภาคการขนส่ง สามารถบริหารการจัดการผลิตและการขนส่งล่วงหน้าได้ 2.6) ลดกระบวนการขออนุญาตภาครัฐในการนำเข้า/ส่งออก ตรวจสอบสินค้า ณ ด่านศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หากข้อเสนอแนะได้รับการเร่งรัดดำเนินการจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง และเป็นการสนับสนุนนโยบายการเป็น Transshipment Hub ของท่าเรือแหลมฉบัง 3) เร่งจัดหาแรงงานป้อนเข้าสู่ระบบรองรับการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งต้องการแรงงานต่างด้าวไม่ต่ำกว่า 2-3 แสนคน ขอรัฐบาลพิจารณาแนวทางการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติม โดยอาจใช้รูปแบบ 3.1) ขยายเวลาให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา พม่า ลาว) ในประเทศมากขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องผ่านระบบออนไลน์ มีการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้รับบัตรชมพูหรือใบอนุญาตทำงาน (ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการมาแล้วเมื่อช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา มีแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบกว่า 1.6 แสนคน) 3.2) เพิ่มรูปแบบการจ้างงานในลักษณะ Part Time Job ระยะเวลาการจ้างต้องไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง เพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงานของสถานประกอบการจากเต็มเวลาเป็นจ้างแบบ Part-time ลดค่าใช้จ่าย โดยนายจ้างสามารถกำหนดเวลาทำงานได้เป็นบางช่วงเวลาที่มีคำสั่งซื้อที่มากขึ้นและเป็นการช่วยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำเต็มตามกฎหมายการจ้างงานชั่วคราว อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยมีงานทำในทุกพื้นที่ สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปเน้นการรับงานอิสระมากขึ้น ซึ่งกรมการจัดหางานเคยได้ดำเนินการ ตั้งศูนย์บริหารจัดการงาน Part Time เมื่อกลางปี 2563 ที่ผ่านมา และ 4) รักษาเสถียรภาพของค่าเงินให้อยู่ระหว่าง 31-32 บาทต่อเหรียญสหรัฐ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad