แอสตร้าเซนเนก้า และ องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดงาน ‘2023 Young Health Programme NCD Seminar’ ส่งเสริมเยาวชนไทยให้ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566

แอสตร้าเซนเนก้า และ องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดงาน ‘2023 Young Health Programme NCD Seminar’ ส่งเสริมเยาวชนไทยให้ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

  





(จากซ้ายไปขวา) ดร.รังสิมา ไอราวัณวัฒน์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

นายโรมัน รามอส ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) และ นพ.พีรยุทธ สานุกูล ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

กรุงเทพฯ แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย และ องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน โรคไม่ติดต่อเรื้อรังภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีในเด็กและเยาวชนประจำปี 2023 (2023 Young Health Programme NCD Seminar)’ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ พร้อมอัพเดตภาพรวมการดำเนินงาน และสถานการณ์ปัจจุบันของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases) ให้แก่เด็กและเยาวชน โดยมีหน่วยงานและองค์กรชั้นนำ อาทิ มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย) องค์การยูนิเซฟ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมให้ข้อมูล ณ โรงแรม เชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท

 

ข้อมูลของกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ประจำปี 2566 เผยว่า ในปัจจุบันประชากรไทยกว่า 17% เป็นกลุ่มเยาวชนอายุ 10-24 ปี ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า กว่า 14% ของประชากรไทยมีโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทำให้หน่วยงานต่างๆ เล็งเห็นว่าประชากรกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลและให้ข้อมูลที่สำคัญอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่าเยาวชนไทยช่วงอายุ 13-15 ปี กว่า 15% มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ 77.5% ของเยาวชนอายุ 11-17 ปี ออกกำลังกายไม่เพียงพอ และเยาวชนช่วงอายุ 10-19 ปีกว่า 10% มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึงเยาวชนในช่วงอายุ 18 ปีขึ้นไป ยังตรวจพบว่ามีโรคต่างๆ โดย 25% มีความดันโลหิตสูง 11% เป็นโรคอ้วน และ 10% มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ตามลำดับ

 

นอกจากนี้ รายงานประจำปีของกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปี 2565[1] ยังชี้ให้เห็นว่าประชาชนไทยส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคหัวใจ การลดบริโภคเกลือและโซเดียม ซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการนำไปสู่ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้น การสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเยาวชน จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรปฏิบัติอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ประชาชนทุกช่วงวัยห่างไกลกลุ่มโรคเหล่านี้

 



 

ดร.รังสิมา ไอราวัณวัฒน์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า “องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เป็นองค์การสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมด้านความรู้ของเยาวชนเป็นหลัก เพื่อให้เยาวชนสามารถเข้าถึงสิทธิ์ต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียม โดยทางองค์กรได้ร่วมงานกับ แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2562 ภายใต้กรอบระยะเวลา ปี เพื่อร่วมดำเนินงานในโครงการ Young Health Programme ในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังความรู้ด้านการดูแลสุขภาพแก่เยาวชน อายุ 10-24 ปี ให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัญหาสุขภาพ  โดยที่ผ่านมา เราได้จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งการอบรมพัฒนาแกนนำเยาวชนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ การสร้างสรรค์แคมเปญประจำเดือนเพื่อให้ความรู้ในวันสำคัญทางสาธารณสุข การอบรมมาตรฐานบริการที่เป็นมิตรต่อวัยรุ่นและเยาวชนแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ไปจนถึงการจัดสัมมนาด้านการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พร้อมได้ผลลัพธ์ในการสร้างแกนนำเยาวชนจำนวนกว่า 652 คน จาก 32 โรงเรียน และมหาวิทยาลัย 10 แห่ง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ความรู้แบบเพื่อนสู่เพื่อนไปยังเยาวชนรายอื่นอีกกว่า 86,000 คน รวมถึงผู้ได้รับประโยชน์ในสังคมอีกกว่า 7.7 ล้านคน ด้วยการให้ความรู้ผ่านสื่อ”

 



 

“แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ได้นำวิทยาศาสตร์มาต่อยอดและพัฒนา เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี ผ่านการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ มอบความรู้ในการเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง และขยายโครงการตรวจหาโรคในระยะเริ่มต้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงการ Young Health Programme ถือเป็นหนึ่งในภารกิจที่ช่วยสานต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน UN Sustainable Development Goal ข้อ 3.4 ที่ต้องการลดจำนวนผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่เกี่ยวเนื่องกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ได้ ใน 3 ภายในปี 2030 โดยแอสตร้าเซนเนก้า พร้อมยกระดับการดูแลสุขภาพ และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีแก่สังคม เพราะเราเชื่อมั่นว่าอนาคตที่ยั่งยืนขึ้นอยู่กับการที่ประชาชน ชุมชน และโลกมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง นายโรมัน รามอส ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย กล่าว

 



 

โดยทูตเยาวชนนักสื่อสารสุขภาพของโครงการในนาม Young Health Programme Youth Ambassador ได้มีส่วนร่วมในงานสัมมนาเพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะจากเสียงของเยาวชน ในฐานะของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมสุขภาพของประเทศ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเด็กและเยาวชน รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านสิทธิและอนามัยเจริญพันธุ์ ความเสมอภาคระหว่างเพศ และสุขภาวะทางอารมณ์ ซึ่งน้องๆ ได้นำเสนอผลงานในโครงการที่ตนเองดำเนินงานจากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมและปัญหาด้านสุขภาพของวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาด้านสุขภาพจิต ปัญหามลพิษทางอากาศ และพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การออกกำลังกายไม่เพียงพอ จากการขาดข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพ

 

ภายในงานได้รับเกียรติจากวิทยากรทั้งภาครัฐ องค์การสหประชาชาติ และองค์กรภาคประชาสังคม ได้แก่ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และมูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย) ร่วมพูดคุยและเน้นย้ำถึงสถานการณ์ของปัญหาทั้งในส่วนของปัจจัย และพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มวัยรุ่น อันนำไปสู่ความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอนาคต เพื่อผลักดันให้หน่วยงานที่มีส่วนในการสร้างเสริมสุขภาพ หรือให้บริการด้านสุขภาพกับวัยรุ่น ยกระดับการทำงานในเชิงรุก สร้างเสริมบริการสุขภาพที่เป็นมิตรต่อวัยรุ่นและเยาวชน (Youth-Friendly Health Service) ขับเคลื่อนและบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ

 

เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Young Health Programme ได้ที่ http://www.younghealthprogrammeyhp.com

 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad