“บ๊อบ-ณัฐธีร์” ไขปม “โรงเรียนปิดตัวกะทันหัน” พ่อแม่เดือดร้อน “เด็ก 600 ชีวิต” โร่หาที่เรียนใหม่ - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

“บ๊อบ-ณัฐธีร์” ไขปม “โรงเรียนปิดตัวกะทันหัน” พ่อแม่เดือดร้อน “เด็ก 600 ชีวิต” โร่หาที่เรียนใหม่

 


แอบแฝงหรือจงใจ กับกรณีผู้ปกครองและนักเรียนเดือดร้อน หลังโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งย่านอ่อนนุชปิดกระทันหัน ทำเด็กกว่า 600 คนต้องหาที่เรียนใหม่กลางคัน เชื่อมีปมมากกว่าเรื่องขาดทุน พร้อมจี้ผู้อำนวยการประสานโรงเรียนปลายทางลดหย่อนค่าแรกเข้า หลังได้รับผลกระทบปิดกิจการกะทันหัน ขณะสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนพร้อมเป็นคนกลางช่วยเหลือ ชี้โรงเรียนยังปิดไม่ได้ต้องแก้ปัญหาให้จบก่อน เจาะลึกประเด็นผ่านโต๊ะข่าวในรายการ เจาะข่าวเด็ด สเปเชียล (The Day News Update Special) โดยผู้ประกาศข่าว บ๊อบ-ณัฐธีร์  โกศลพิศิษฐ์ ร่วมพูดคุยตัวแทนผู้ปกครอง พร้อมต่อสายพูดคุยกับ คุณมณฑล  ภาคสุวรรณ์  เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ที่จะเข้ามาเป็นคนกลางช่วยเหลือ แก้ปัญหาให้ทั้งโรงเรียนและผู้ปกครอง ขณะที่ คุณสมโรจน์  เตียงนิล  ผู้อำนวยการโรงเรียนเพชรรัชต์ ร่วมเปิดแนวทางการบริหารงานโรงเรียนเอกชน                                                                                       

                                  

บ๊อบ ณัฐธีร์ : เอกสารที่แจ้งระบุว่าประสบปัญหาจำนวนนักเรียนลดลง โรงเรียนขาดทุนจึงปิดกิจการ และโรงเรียนยังมีชื่อโรงเรียนให้ผู้ปกครองเป็นทางเลือก แสดงว่ามีการประสานงานไปที่โรงเรียนใกล้เคียง?                   


คุณศิริพร
 : ถ้ามีการประสานงานไปที่ 8 โรงเรียนนี้ ทำไมไม่ขอความอนุเคราะห์ไปด้วยว่าหากเป็นเด็กจากโรงเรียนนี้ควรงดเก็บค่าแรกเข้า ขอความอนุเคราะห์ให้ช่วยเหลือผู้ปกครอง แต่เขาไม่ช่วย เขาช่วยแค่นี้ ให้เราไปติดต่อโรงเรียนเอง แล้วโรงเรียน 8 โรงเรียนนี้ก็ไม่ได้ตอบโจทย์ทุกโรงเรียน ส่วนมากก็เต็ม  ผู้ปกครองที่เอาเด็กเข้าไปได้ ก็เป็นเด็กนักเรียนส่วนเกินที่จะไม่ได้รับเงินสนับสนุนช่วยเหลือจากรัฐบาลปีละพันกว่าบาท 8 โรงเรียนที่ลิสต์มาเป็นโรงเรียน ทั้งเอกชน ทั้งนานาชาติ ทั้งรัฐบาล เขาก็จะเอาที่อยู่ละแวกใกล้เคียงกันกับโรงเรียนเดิม   ซึ่งมันโอเคสำหรับบางท่าน แต่บางโรงเรียนก็ไม่โอเค                        

คุณจารุวรรณ : เด็ก 5-600 คน ไม่มีใครเขาสะดวกภายใน 8 โรงเรียนที่ให้เลือก                                                         


บ๊อบ ณัฐธีร์ :
 โรงเรียนนี้คุณภาพการศึกษาเป็นยังไงครับ?                                                                คุณอารยา : ถือว่าดี ครูน่ารัก เอาใจใส่ดี สมัยตอนอนุบาล แต่พอเริ่มมีโควิดหลาย ๆ อย่างก็เริ่มแย่ลง อย่างเรียนว่ายน้ำก็ไม่มี กีฬาสีปีนี้ก็ไม่มี ตอนโควิดก็เข้าใจได้  แต่ตอนนี้ทุกโรงเรียนมีหมดแล้ว ลูกเสือเนตรนารีก็ไม่มีไปข้างนอก                        บ๊อบ ณัฐธีร์ : ค่าเทอมต่างกันหรือเปล่า ค่าเทอมที่นี่เท่าไหร่?                                                            คุณศิริพร :  14,770 บาท ก็กลาง ๆ พอ ๆ กับโรงเรียนเอกชนอื่น ๆ                                                                           บ๊อบ ณัฐธีร์ :  เรื่องผู้บริหารโรงเรียนที่ไปร้องเรียน ผู้บริหารเป็นยังไงครับ?                                            คุณอารยา : เขาจะปิด เขาร่อนจดหมายมาแค่ฉบับเดียว ไม่มีออกมาคุยกับผู้ปกครองเลย                                           คุณศิริพร : อยากให้ผอ.หรือทางโรงเรียนออกมาชี้แจง ขอให้ชี้แจงด้วยวาจาดีกว่าแจ้งเป็นเอกสารแบบนี้ ขอให้ได้คุยบ้าง เพราะพยายามติดต่อทุกวิถีทางแล้

บ๊อบ ณัฐธีร์ : ที่ไปร้องเรียนคือหาโรงเรียนใหม่ไม่ทัน?                                                                     


คุณศิริพร
 : ใช่ค่ะ หาไม่ทัน จะเรียนโรงเรียนไหนก็ได้ไม่ว่าจะรัฐหรือเอกชน  แต่มันมีปัจจัยหลายอย่าง ไม่ใช่แค่เรื่องสะดวก  ต้องมีค่าเรียน ค่าเทอมว่าเรารับไหวมั้ย  สภาพโรงเรียนเป็นยังไง ให้เรามีเวลาคิด มีเวลาตัดสินใจเปรียบเทียบหลาย ๆ โรงเรียน เรื่องระยะการเดินทางในการทำงานของพ่อแม่ การรับส่ง ถ้ามีเวลาเราจะวางแผนได้                                                   


บ๊อบ ณัฐธีร์
 : เรามาพูดคุยกับผอ.โรงเรียนเอกชนอีกแห่ง ไม่ใช่โรงเรียนที่จะปิด ถึงการบริหารงาน     ที่โรงเรียนเพชรรัชต์ มีนักเรียนเท่าไหร่ครับ ประสบภาวะเดียวกันกับโรงเรียนนี้มั้ยครับ?                                      

คุณสมโรจน์ ผอ.รร.เพชรรัชต์ ตอนนี้ทุกโรงเรียนเอกชนประสบปัญหาเหมือนกันคือจำนวนนักเรียนลดลง  แต่การบริหารจัดการก็ต้องเห็นใจผู้ปกครอง ส่วนผู้ปกครองก็ต้องเห็นใจโรงเรียนด้วย โดยเงินที่โรงเรียนใช้บริหารมี 2 ส่วน คือส่วนที่ได้รับการสนับสนุนรายหัวที่ภาครัฐให้มาตามจำนวนนักเรียน อีกส่วนคือเงินค่าเทอมแต่ละภาคเรียน เพราะทำการศึกษาไม่ได้แสวงหาผลกำไร การบริหารจัดการถ้าติดขัดก็ตรงผู้ปกครองไม่จ่ายค่าเทอม หรือจ่ายไม่ครบ ก็ใช้วิธีการสำรองเงิน                      


บ๊อบ ณัฐธีร์ : เรียนท่านเลขา ได้รับหนังสือจากผู้ปกครองที่ไปร้องถึงกระทรวงศึกษาธิการแล้วใช่มั้ยครับ โรงเรียนเพิ่งแจ้งแล้วให้เซ็นเรื่องขอย้ายอย่างไร ช่วยอธิบายกระบวนการ?                                                     


คุณมณฑล เลขากช. : 
ได้ครับแล้วครับ เรื่องการยื่นเรื่องขอปิดกิจการกฎหมายกำหนดให้ยื่นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 120 วันก่อนวันสิ้นปีการศึกษา ซึ่งนับวันที่ 15  พ.ค.  ก็หากให้ตรงตามกฎหมาย โรงเรียนควรยื่นก่อนวันที่ 15 ม.ค.โดยประมาณ แต่โรงเรียนยื่น 21 ก.พ.  แต่กฎหมายได้เปิดช่องว่ากรณีที่โรงเรียนให้เหตุผลว่าไม่สามารถจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุสุดวิสัย ก็สามารถพิจารณาให้เลิกกิจการได้เช่นกัน ประเด็นที่ร้องเรียนร้องมาที่กระทรวงแล้วส่วนหนึ่ง เราก็จะแจ้งไปที่โรงเรียนอีกครั้งเพราะโรงเรียนต้องพิจารณาดูแลผู้เรียนให้ได้รับการศึกษาที่ไม่กระทบกับการเลิกกิจการจนเกินไป เดี๋ยวเราจะแจ้ง   ตอนนี้สช.เป็นสื่อกลาง  รับข้อมูลเข้ามา   ภายในสัปดาห์นี้เราจะสรุปข้อมูลทั้งหมดที่เป็นความเดือดร้อน แล้วจะเอาข้อมูลตรงนี้ หากเป็นเรื่องที่โรงเรียนต้องพิจารณาก็จะแจ้งไป ส่วนจะไปเข้าสถานศึกษาไหน สช.ก็จะประสานให้ ถ้าเป็นกระบวนการปกติโยหลักโรงเรียนต้องดูแล ต้องยอมรับว่าโรงเรียนดำเนินการ แต่กระชั้นเกินไป  ซึ่งรัฐมนตรีเป็นห่วงจึงกำชับ สช. ไม่ให้กระทบการศึกษา            

บ๊อบ ณัฐธีร์ : เห็นว่ามีคุยกับอดีตครูว่ายังไงบ้าง?                                                                             


คุณพิชชาภา 
เขาก็บอกว่าที่นี่การเรียนการสอนดี ตั้งแต่ผู้บริหารคนเก่า  แต่พอเปลี่ยนผู้บริหารแล้วแย่มาก ช่วงโควิดป่วยก็ต้องหยุดกลับโดนหักเงิน ก็เลยลาออกไป                                        

ติดตามรายการ เจาะข่าวเด็ด สเปเชียล” (The Day News Update Special) โดยผู้ประกาศ บ๊อบ ณัฐธีร์ โกศลพิศษฐ์” เจาะลึกกันแบบสด ๆ ได้ทุกวันศุกร์ เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ทางช่อง MONO29 หรือที่แอปพลิเคชัน MONO29 สามารถรับชมรายการย้อนหลังได้ที่ https://youtu.be/tTaZHT-Jtn0

#Mono29 #บ๊อบณัฐธีร์ #Thedaynewsupdatespecial #เจาะข่าวเด็ดสเปเชียล #โรงเรียนปิด #ปมโรงเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad