วันนี้ (วันที่ 5 กันยายน 2566) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่
โครงการฯ ได้รับเงินสนับสนุ นจากกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทยมาดำเนินงานเพื่ อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี ของสหภาพยุโรป รวมทั้งเพื่อนำมาสนับสนุนการจั ดทำร่างกฎหมายการขยายความรับผิ ดชอบของผู้ผลิต (EPR) ของไทย และยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้ อมของไทยในการส่งเสริมขี ดความสามารถของอุตสาหกรรมไทย และบรรลุเป้ าหมายตามนโยบายเศรษฐกิจแบบ BCG ซึ่งประกอบด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy (BCG) ในการสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่ างยั่งยืน โดยโครงการนี้ได้ดำเนินกิ จกรรมหลากหลายประเภท ซึ่งรวมถึงกิจกรรมแลกเปลี่ ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้เชี่ ยวชาญไทย-สหภาพยุโรปในวันนี้ที่ ครอบคลุมตลอดระยะเวลา 5 วัน
นายเสข วรรณเมธี เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่ วมงานและนำเสนอว่า “ปัจจุบันความสัมพันธ์ไทย-อียู มีพลวัตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะจากการลงนามกรอบความตกล งความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมื อรอบด้าน (Partnership and Cooperation Agreement – PCA) เมื่อปลายปี 2565 และการฟื้ นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ในปี 2566 ซึ่งกิจกรรมในวันนี้จะมีส่ วนสำคัญในการช่วยสนับสนุนการขั บเคลื่อนความร่วมมือระหว่ างไทยกับอียูทั้งในกรอบ PCA และการเจรจา FTA รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิ จของสถานเอกอัครราชทูตฯ ในการติดตามนโยบาย กฎระเบียบและมาตรฐานของอียูด้ านสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบต่ อผู้ประกอบการไทย และแสวงหาความร่วมมือกับอียูเพื่ อเตรียมความพร้อมให้กับทุกภาคส่ วนของไทยภายใต้เศรษฐกิจยุค ใหม่ที่ให้ความสำคัญกับประเด็ นความยั่งยืน”
นายอสิ ม้ามณี อธิบดีกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า “ทั่วโลกรวมทั้งอียูเอง ต่างวางเป้าหมายการลดก๊าซเรื อนกระจกเป็นศูนย์ โดยอียูเองได้ออกระเบียบให้ ประเทศสมาชิก จะต้องเข้าร่วมโครงการ EPR และปี 2573 บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดในตลาดอียูต้ องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิลได้ ส่งผลให้ไทยเองก็จะต้องปรับกติ กาและคาดว่า EPR ของไทยจะเป็นภาคบังคับในปี 2570 สำหรับโครงการฯ นี้ ถือว่าเข้ามาในเวลาที่เหมาะสม แต่เหลือเวลาเพียง 4 ปี เพราะฉะนั้น ประเทศไทยจะต้องเร่งให้ความรู้ และเสริมการปฏิบัติให้ครอบคลุ มทุกส่วนการผลิต เพราะไทย มีการส่งออกในสัดส่วนที่สูง กระทรวงการต่างประเทศมุ่งสนั บสนุนการเตรียมความพร้อม และยกระดับมาตรฐานของไทย โดยเฉพาะในประเด็นสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับวันยิ่งมีผลต่อการทำธุ รกิจ และการค้าระหว่างประเทศ จึงเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ งที่มีหน่วยงานทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการไทย รวมทั้ง GIZ เข้าร่วมดำเนินโครงการฯ และมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่ วมจำนวนมาก อันแสดงถึงความตื่นตัวของทุ กภาคส่วนในการร่วมสร้างเศรษฐกิ จหมุนเวียนและยกระดับขีดความ สามารถในการแข่งขันของประเทศ”
ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวขอบคุณสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ กระทรวงการต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญจากอียูและหน่ วยงานภาคีเครือข่ายในการจั ดประชุมครั้งนี้ และเน้นย้ำความสำคัญของการนำหลั กการ EPR มาใช้ในการจัดการบรรจุภัณฑ์ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นกลไกที่ นำไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวี ยนในการเปลี่ยนขยะกลับเป็นทรั พยากร แต่ยังเป็นความรับผิดชอบของผู้ ผลิตและผู้นำเข้าที่ต้องใส่ใจกั บผลิตภัณฑ์ของตน โดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบเชิงนิ เวศไปจนถึงการนำกลับไปสู่ กระบวนการรีไซเคิล การประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพยุ โรปและไทยจะเป็นประโยชน์ ในการดำเนินงาน EPR ของบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายการจั ดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ที่ให้ความสำคัญกับการลดของเสี ยตั้งแต่ต้นทางไปยังสถานที่กำจั ด ขั้นสุดท้าย รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิ ตของภาคขยะนอกระบบและร้านรับซื้ อของเก่า ที่เป็นกลไกสำคัญในการนำกลับวั สดุเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอี กด้วย
นายนภดล ศิวะบุตร รองประธานสถาบันการจัดการบรรจุ ภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้ อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า “สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์ และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ถือเป็นแกนกลางหลั กในการประสานความร่วมมือระหว่ างภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนการจัดทำร่ างกฎหมายการขยายความรับผิ ดชอบของผู้ผลิต (EPR) ของไทย รวมทั้งเรายังได้ร่วมศึ กษาและทดลองดำเนินโครงการนำร่ องนี้ เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการบริ หารจัดการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิ ตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยให้ผู้ผลิตรับผิดชอบต่อบรรจุ ภัณฑ์ใช้แล้ว เพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิ ลตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) รวมทั้งเพื่อรองรับกับกฏระเบี ยบบังคับของการค้าโลกที่เข้มงวด เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิ ดจากภาวะโลกร้อน และ ส.อ.ท. เอง เราพร้อมสร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ไปยังสมาชิกเครือข่าย โดยเน้นย้ำผู้ผลิตว่าต้องปรับตั วและเตรียมพร้อมก่อนผลิตสินค้ าใดๆ ออกมา ไม่ใช่เพียงแค่ผลิตสินค้าที่ ราคาถูกที่สุด แต่ต้องเน้นการใช้วัตถุดิบอย่ างมีประสิทธิภาพ ไปพร้อมๆ กับการได้มาซึ่งคุ ณภาพตามมาตรฐาน”
“เราพร้อมเดินหน้าบริหารบรรจุภั ณฑ์สู่การรีไซเคิลทั้งระบบร่ วมรัฐและชุมชน เพื่อรองรับกติกาโลก เพื่อลดโลกร้อน โดยหวังว่าจะสามารถเตรียมออกเป็ น EPR ภาคบังคับในประเทศไทยได้ในปี 2570 นี้” นายนภดล กล่าวทิ้งท้าย
ภายใต้โครงการฯ เรายังได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิ ตรอื่นๆ เช่น สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และองค์กรความร่วมมือระหว่ างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ซึ่งเป็นองค์กรทางวิชาการที่ให้ คำปรึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ด้ าน EPR จากต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้กับการจั ดการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับบริ บทของไทย
ภายในงาน ยังได้รับเกียรติจากผู้เชี่ ยวชาญจากสหภาพยุโรปด้านหลั กการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิ ต (EPR) เดินทางเยือนไทยจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ (1) นาย Frithjof Laubinger นักเศรษฐศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรเพื่อความร่วมมื อทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development -OECD) (2) นาย Tjaco Twigt ผู้บริหารโครงการ Sea The Future เพื่อส่งเสริมการรีไซเคิลพลาสติ ก จากเนเธอร์แลนด์ และ (3) นาย Kyriakos Parpounas วิศวกรสิ่งแวดล้อมจากไซปรัส ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานด้าน EPR ร่วมกับหลายองค์กรระหว่างประเทศ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้ านบรรจุภัณฑ์ให้เติบโตอย่างยั่ งยืน
นอกจากนี้ ยังมีการลงพื้นที่แลกเปลี่ ยนความคิดเห็นกับกรุ งเทพมหานครและศึกษาดูงาน ณ บริษัท สถานีรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมิ จำกัด เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การจั ดการขยะบรรจุภัณฑ์ ของประเทศมากขึ้น และนำไปสู่ความร่วมมืออย่างเป็ นรูปธรรมต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น