นักศึกษา SIT มจธ. ใช้ AI ทำนายแคลอรี่อาหารจากภาพถ่ายด้วยแอป “ฟู้ด อิน ทัช” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

นักศึกษา SIT มจธ. ใช้ AI ทำนายแคลอรี่อาหารจากภาพถ่ายด้วยแอป “ฟู้ด อิน ทัช” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

 




เพราะพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนเปลี่ยนไปตามกระแสของโลกดิจิทัล ทำให้การเข้ามาของ AI (Artificial Intelligence) หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มีบทบาทสำคัญต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม นอกจาก AI ช่วยในการวิเคราะห์วางแผนการตลาดและถือเป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสารระหว่างเจ้าของธุรกิจและผู้บริโภคด้วย



นางสาวสุกัญญา ชินวิชา (ฝ้าย) และนายธีรภัทร เนียมหอม (ไปซ์) นักศึกษาชั้นปีที่ 
3 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวถึงการแข่งขันโครงการ Super AI Engineer Season 2 ซึ่งทั้งคู่ได้รับรางวัลเหรียญทอง ประเภทบุคคล ว่า เป็นโครงการที่พัฒนาบุคลากรทางด้าน AI เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัลที่การแข่งขันค่อนข้างสูง ซึ่งโครงการดังกล่าวมีการฝึกอบรมในรูปแบบ Online และ Onsite โดยเน้นการฝึกปฏิบัติจริง ผู้อบรมจะได้ความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ตั้งแต่ระดับพื้นฐานถึงระดับสูง สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปต่อยอด แก้ปัญหา ออกแบบ วิจัย ทั้งเชิงวิชาการและเชิงธุรกิจ

ทั้งนี้ กิจกรรมในโครงการแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 อบรมพื้นฐานและทฤษฎีด้าน AI แบบ Self-learning โดยเรียนผ่านระบบ Online ช่วงที่ 2 อบรมหลักสูตร AI ขั้นสูง เป็นการเข้าค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการทั้ง Online และ Onsite โดยเน้นเสริมทักษะการวางแผนการออกแบบการวิเคราะห์, การสร้างระบบ และ ซอฟต์สกิล ทำงานกลุ่มและเดี่ยว เพื่อเสริมความรู้ความสามารถ และเพิ่มประสบการณ์ การแก้ปัญหาด้าน AI จากโจทย์จริงขององค์กร โดยเน้นทักษะ 5 ด้าน ได้แก่ การประมวลผลภาพการประมวลผลสัญญาณ,การประมวลผลและการเข้าใจภาษาธรรมชาติการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งและหุ่นยนต์ ช่วงที่ 3 การทำงานสาขาปัญญาประดิษฐ์ในสถานประกอบการ ระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือน โดยทางโครงการจะจัดหา ติดต่อ ประสานงานกับองค์กรหรือสถานประกอบการต่าง ๆ เบื้องต้น ซึ่งการทำงานจะต้องเป็นโจทย์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์


โดยทั้งคู่เลือกฝึกงานในบริษัท ทัชเทคโนโลยี จำกัด ใช้โจทย์ด้วยการจัดทำแอปพลิเคชันที่ใช้ชื่อว่า “ฟู้ด อิน ทัช” มีลักษณะการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน ภายใต้แนวคิด“นับแคลอรี่ในอาหารจานเราจากภาพถ่ายเราเอง” โดยเน้นภาพที่อาหารไทยเป็นหลัก

ธีรภัทร เล่าว่า แอปพลิเคชันดังกล่าวเป็นโจทย์ที่ทั้งคู่ทำร่วมกัน แบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1. การทำนายว่าอาหารในจานนั้นชื่ออะไร 2. การใช้ AI เข้ามาจับภาพวัตถุดิบในแต่ละส่วนของอาหาร 3. การนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลเพื่อหาปริมาตรและเทียบความหนาแน่นของน้ำหนัก

ส่วนที่ผมทำหลังจากถ่ายภาพอาหารไปแล้วเป็นการหาวัตถุดิบในอาหาร จากนั้นนำ AI มาตอบให้ได้ว่าในจานนี้มีวัตถุดิบอะไรบ้าง เช่น มีไก่ ไข่ แตงกวา แล้วใช้ AI บอกว่าไข่อยู่ตรงไหนในภาพนึกภาพเหมือนเราระบายสี ตรงไหนคือไก่ตรงไหนคือไข่ ที่ต้องทำแบบนี้เพราะเราต้องการหาไม่เพียงแค่วัตถุดิบที่เรากินเข้าไป แต่เราต้องหาว่าน้ำหนักของแต่ละวัตถุดิบมีกี่กรัม เพื่อจะมาคำนวณแคลอรี่ทางวิชาการ จากนั้นจึงส่งต่อไปยังการประมวลผลเพื่อคำนวณหาปริมาตรต่อไป”

สำหรับการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อหาปริมาตรและเทียบความหนาแน่นของน้ำหนัก เป็นโจทย์ที่    สุกัญญา ต้องรับช่วงต่อ โดยเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ทั้งการหาความลึกและสัดส่วนว่าอาหารแบบนี้ต้องทำนายอย่างไร ซึ่งสุกัญญายอมรับว่าอาหารไทยมีข้อมูลในอินเทอร์เน็ตน้อยมากไม่เพียงพอที่จะนำมาปรับใช้ได้มากนัก ซึ่งข้อจำกัดตรงนี้ทำให้ทีมงานต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำงานในเรื่องข้อมูลอาหารไทยที่หลากหลายและนำไปสู่การต่อยอดการทำแอปพลิเคชันในอนาคต

สำหรับการต่อยอดเราจะรวบรวมข้อมูลที่ทำมาทั้งหมดเพื่อเทรนด์ให้กับโมเดลในแอปพลิเคชัน ตรงนี้จะช่วยให้โมเดลฉลาดยิ่งขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันให้สามารถใช้งานในการหาค่าโภชนาการได้แม่นยำมากขึ้นโดยไม่จำกัดวัตถุดิบ ซึ่งคาดว่าภายในต้นปีหน้าจะสามารถพัฒนาต่อยอดระบบนี้ได้สำเร็จนำไปสู่การใช้งานจริง”

อย่างไรก็ตาม สุกัญญายังฝากทิ้งท้ายว่า ทักษะทางด้าน AI ถือเป็นทักษะเบื้องต้นที่ทุกคนควรเรียนรู้ ขณะเดียวกันการได้เข้าร่วมในโครงการนี้ถือเป็นประสบการณ์ที่เป็นความท้าทายของเธอมาก เพราะเป็นการทำงานร่วมกับคนอื่น ได้เรียนรู้ถึงการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ และการบริหารงานในลักษณะธุรกิจที่ต้องต่อยอด  เช่นเดียวกับ ธีรภัทร ที่ระบุว่า ปัจจุบันเทคนิคทางด้าน AI สามารถตอบโจทย์ธุรกิจในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ประสบการณ์ในครั้งนี้ถือเป็นประสบการณ์นอกห้องเรียนที่คุ้มค่ามาก หากมีการต่อยอดหรือศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบที่มีศักยภาพยิ่งขึ้น.///

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad